“โรคฉี่หนู” นับเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่มักพบได้ทั่วไปในช่วงหน้าฝน เนื่องจากเชื้อโรคจะเเพร่กระจายได้ดีในพื้นที่น้ำขัง หรือพื้นที่ปศุสัตว์ อาการทั่วไปคล้ายกับอาการไข้หวัด หรือโรคไข้เลือดออกซึ่งโดยปกติแล้วสามารถหายได้เอง แต่อาจเกิดภาวะอวัยวะทำงานล้มเหลว หรือเสียชีวิตได้จากกรณีที่ัเข้ารับการรักษาล่าช้า หรือเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรง
โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Leptospira interrogans จัดเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่อาจมีอันตรายถึงชีวิต ผู้ป่วยโรคดังกล่าวจะได้รับเชื้อจากการสัมผัสเลือดหรือปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงเพื่อการเกษตร และสัตว์เลี้ยงภายในบ้านที่ติดเชื้อโรคฉี่หนู ผ่านทางรอยแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกบริเวณผิวหนัง ตลอดจนเยื่อบุตา จมูก ปาก ที่เกิดจากการทำกิจกรรมในพื้นที่ชื้นแฉะ มีน้ำท่วมขัง ตลอดจนติดเชื้อจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
ผู้ที่ติดเชื้อโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู มักมีแนวโน้มที่จะได้รับเชื้อจากการสัมผัสเชื้อใน 3 แหล่งสำคัญ ได้แก่ การสัมผัสกับปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงเพื่อการเกษตร และสัตว์เลี้ยงภายในบ้านที่ติดเชื้อโรคฉี่หนูจากพื้นดิน เช่น สุนัขหรือแมว แม้แต่การสัมผัสเชื้อโดยตรงจากพื้นที่น้ำท่วมขัง เช่น ดิน โคลน แหล่ง น้ำ น้ำตก แม่น้ำ หรือลำคลอง และการรับประทานอาหารดิบที่ปนเปื้อนเชื้อโรคฉี่หนู เช่น เครื่องในดิบของสัตว์ พืชผัก ทั้งนี้ สามารถจำแนกผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคฉี่หนูได้ดังนี้
- ผู้ที่ทำงานใกล้ชิด หรือสัมผัสสัตว์ และ/หรือปฏิบัติงานในพื้นที่น้ำท่วมขัง เช่น เกษตรกร
ผู้ที่ทำงานปศุสัตว์ คนงานโรงฆ่าสัตว์ สัตวแพทย์ คนงานเหมืองแร่ หรือคนขุดลอกท่อ
- ผู้ประสบอุทกภัย หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง
- ผู้ที่ทำกิจกรรม หรือเล่นกีฬาทางน้ำ
- นักท่องเที่ยวหรือนักสำรวจถ้ำที่ต้องเดินทาง หรือออกสำรวจในพื้นที่น้ำท่วมขัง
การแบ่งกลุ่มของผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ป่วยจากโรคฉี่หนู หรือเป็นโรคฉี่หนูแล้วนั้น สามารถพิจารณาได้หลายวิธี เช่น การสังเกต การซักประวัติผู้ป่วย หรือการส่งเชื้อตรวจทางพยาธิวิทยาในห้องทดสอบ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะอาการ และวิธีการดูแลรักษาที่แตกต่างกันออกไป โดยสามารถแบ่งกลุ่มผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคฉี่หนูได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- ผู้ป่วยต้องสงสัย (Suspected Case) คือ ผู้ที่มีอาการไข้ร่วมกับอาการปวดกล้ามเนื้อ มี ประวัติการลุยน้้า หรือโคลนในระยะเวลาที่ผ่านมาไม่นาน นอกจากนั้นยังพบกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้อง เช่น อาการปวดศีรษะ ตาแดง ไอ ตาเหลืองตัวเหลือง หรือปัสสาวะออกน้อยร่วมด้วย
- ผู้ป่วยน่าจะเป็น (Probable Case) คือ ผู้ป่วยต้องสงสัยที่มีผลการตรวจคัดกรอง (Screening Test) เป็นบวกในโรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)
หรือผู้ป่วยต้องสงสัยที่มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ร่วมกับอาการไตวาย หรือมีอาการเลือดออกในปอด และมีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานบ่งชี้เชื้อโรคฉี่หนูอย่างน้อยสองในสามอย่าง
- ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed Case) คือ ผู้ที่มีอาการไข้และมีประวัติการลุยน้้า หรือโคลนในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นาน และมีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยัน (Confirmatory Test)
สามารถแบ่งระยะของอาการโรคฉี่หนู ได้ 2 ระยะสำคัญ คือ 1) ระยะเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด หรือระยะที่จะมีอาการไข้สูง 28 - 40 องศา ปวดศีรษะ หรือปวด/เจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงมากในทันทีภายหลังจากการรับเชื้อโรคฉี่หนู และ 2) ระยะร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน หรือระยะที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ โดยผู้ป่วยจะยังมีไข้ขึ้น ปวดศีรษะ อาจมีอาการคอแข็ง หรือมีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง และพบเชื้อโรคออกมาในปัสสาวะ
อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหนูเสียชีวิต มักเกิดการแสดงอาการไม่เฉพาะเจาะจงในระยะแรกของการเป็นโรคฉี่หนู เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียนหรือท้องเสีย ซึ่งมีความคล้ายกับโรคไข้หวัด หรือโรคไข้เลือดออก ทำให้อาจวินิจฉัยและให้การรักษาได้ล่าช้ากว่าที่ควร หรืออาจเป็นผู้ป่วยที่มีอาการของโรคฉี่หนูรุนแรง โดยมีจุดสังเกตสำคัญจากอาการตัวเหลืองตาเหลือง ไข้สูงไม่ลด ไตวาย และอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญต่างๆ
ทั้งนี้ อาการของโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู และอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้
- ไข้เฉียบพลัน
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อย/ปวดน่อง
- ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
- คลื่นไส้อาเจียน
- อาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือดีซ่าน
- ผื่นที่เพดานปาก มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง
- ปอดบวม
- ตับและไตวาย
- กล้ามเนื้ออักเสบ
- ไอเป็นเลือด
- เยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังอักเสบ
- กล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- หัวใจล้มเหลว
การรักษาผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู จะเน้นการให้ยาปฏิชีวนะ ร่วมกับการรักษาตามอาการและภาวะแทรกซ้อนตามความเหมาะสม เนื่องจากโรคฉี่หนูจะสามารถหายได้เอง
แต่หากมีอาการของโรค หรืออาการแทรกซ้อนรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาทำการฉีดยาปฏิชีวนะเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง และอาจต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจเกิดภาวะอวัยวะล้มเหลวเฉียบพลันได้ ทั้งนี้ สามารถแบ่งรูปแบบของการรักษาผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มด้วยยาปฏิชีวนะ ดังนี้
- ผู้ที่มีอาการรุนแรง ควรให้ยา Penicillin, Tetracycline, Streptomycin หรือ Erythromycin และควรจะได้รับยาภายใน 4 -7 วันหลังเกิดอาการของโรค
- ผู้ที่มีอาการปานกลาง ควรให้ยา Doxycycline จำนวน 100 mg. วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน หรือ Amoxicillin จำนวน 500 mg. วันละ 4 ครั้ง 5-7 วัน
- ผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนไม่ร้ายแรง ควรให้ยาตามอาการ เช่น ยาลดไข้, ยาแก้ปวด, ยากันชัก,ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน รวมถึงการให้สารน้ำ เกลือแร่ หรือเกร็ดเลือด
การตรวจวินิจฉัยโรคฉี่หนูได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วจะช่วยให้แพทย์สามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ลดโอกาสเสี่ยงเสียชีวิต เลือก “ประกันสุขภาพคุ้มค่า” หรือ “ประกันสุขภาพเอกซ์ตรา” ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย จ่ายค่ารักษาตามจริง เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่จำกัดจำนวนครั้งให้วุ่นวาย ด้วยวงเงินสูงสุด 500,000 บาท เพียง 5,000 บาท/ปี คลิก https://www.smk.co.th/prehealth
- สํานักงานสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (https://www.moph.go.th/)
- สถานเสาวภา สภากาชาดไทย (https://www.saovabha.com/)
- สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) (https://www.thaipbs.or.th/)
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที