Tawan

ผู้เขียน : Tawan

อัพเดท: 02 ก.ย. 2021 22.15 น. บทความนี้มีผู้ชม: 629 ครั้ง

ในแต่ละปีมีข่าวอุบัติเหตุที่เกิดจากการป่วยแบบเฉียบพลันขณะขับรถ เช่น โรคลมชัก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย หรือจากโรคประจำตัวหรือปัญหาทางสุขภาพที่มีอยู่ ซึ่งเป็นอันตรายมากหากเกิดขึ้นขณะกำลังขับรถ เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมทั้งยังเป็นอันตรายผู้ใช้รถใช้ถนนที่ร่วมทางด้วย จะมีโรคหรือปัญหาสุขภาพใดบ้างที่มีผลต่อการขับขี่ วันนี้ได้รวบรวมข้อมูลมาบอกกันค่ะ


9 โรคเสี่ยงอุบัติเหตุ ไม่ควรขับรถ

 
ในแต่ละปีมีข่าวอุบัติเหตุที่เกิดจากการป่วยแบบเฉียบพลันขณะขับรถ เช่น โรคลมชัก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย หรือจากโรคประจำตัวหรือปัญหาทางสุขภาพที่มีอยู่ ซึ่งเป็นอันตรายมากหากเกิดขึ้นขณะกำลังขับรถ เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมทั้งยังเป็นอันตรายผู้ใช้รถใช้ถนนที่ร่วมทางด้วย  จะมีโรคหรือปัญหาสุขภาพใดบ้างที่มีผลต่อการขับขี่ วันนี้ได้รวบรวมข้อมูลมาบอกกันค่ะ
 
1. โรคที่เกี่ยวกับสายตาต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม
ทำให้ขับรถในเวลากลางคืนแล้วมองไม่ชัด คนเป็นต้อหินทำให้มุมสายตาแคบลง มองเห็นภาพส่วนรอบได้ไม่ดี และมองเห็นแสงไฟบอกทาง หรือไฟหน้ารถพร่าได้ 
 
 
 
2. โรคทางสมองและระบบประสาท ที่ทำให้มีอาการหลงลืม การตัดสินใจช้าและสมาธิไม่ดี
 
 
 
3. โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้แขนขาไม่มีแรงขับรถ
เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรกหรือเปลี่ยนเกียร์ สมองสั่งให้แขนขาทำงานได้ไม่ดีเหมือนเดิม ความไหวของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ลดลง 
 
 
 
4. โรคพาร์กินสัน มีอาการแข็งเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น ทำอะไรช้าลง ทำให้ขับรถได้ไม่ดี 
 
 
 
5. โรคลมชัก
ในสภาวะที่ควบคุมอาการชักไม่ได้ จำเป็นต้องรับยาต่อเนื่องจนปลอดอาการของโรค และไม่เกิดอาการชักอย่างน้อย 1 ปีจึงจะปลอดภัยเพียงพอในการขับรถ
 
 
 
6. โรคไขข้อ ข้อเสื่อม ข้ออักเสบต่าง ๆ
ที่มีผลกระทบต่อการขับรถ เช่น ข้อเข่าเสื่อม ทำให้เหยียบเบรกได้ไม่เต็มที่ ข้อเท้าอักเสบปวดจากโรคเก๊าท์ ทำให้ขยับลำบาก โรคกระดูกคอเสื่อม ทำให้ปวดคอ เอี้ยวคอดูการจราจรได้ลำบาก หรือมีอาการปวดหลังจากกระดูกหลังเสื่อม ทำให้นั่งขับรถได้ไม่นาน 
 
 
 
7. โรคหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง อาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก วูบ หมดสติ ระหว่างขับรถได้
 
 
 
8. โรคเบาหวาน
ที่ควบคุมยังไม่ได้ ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้มีอาการ หน้ามืด ใจสั่น สมาธิไม่ดี ตาพร่า 
 
 
 
9. การกินยาบางชนิด
มีผลทำให้ง่วงซึมหรือง่วงนอน มึนงง สับสนได้เวลาขับรถ และทำให้การตัดสินใจ สมาธิ และความรวดเร็วในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ช้า ควรปรึกษาแพทย์ว่ายาที่กินมีผลต่อสมรรถนะในการขับรถหรือไม่
 
 
 
จากเดิมกรมการขนส่งทางบกได้กำหนด 5 โรคต้องห้ามในการขับขี่ ได้แก่ 1.โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม 2.โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ 3.โรคเรื้อน 4.โรคพิษสุราเรื้อรัง และ 5.โรคติดยาเสพติดให้โทษ  และในการขอใบขับขี่รถทุกชนิดต้องมีใบรับรองแพทย์  แต่ตั้งแต่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป การขอใบขับขี่และขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถทุกชนิดทุกประเภทต้องมีใบรับรองแพทย์ ( เดิมการต่ออายุใบขับขี่ไม่มีการกำหนดให้ใช้ใบรับรองแพทย์ )  โดยที่ใบรับรองแพทย์นั้นต้องแสดงให้เห็นว่าผู้นั้นไม่มีโรคประจำตัวหรือสภาวะของโรคที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถตามที่แพทยสภากำหนด ซึ่งอยู่ในระหว่างการกำหนดโรคหรือสภาวะของโรคต้องห้ามในการขอใบขับขี่ ก่อนมีผลใช้บังคับ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ส่วนจะมีกำหนดโรคต้องห้ามอย่างไร จะนำข้อมูลมาบอกกันต่อไป
 
หากมีปัญหาสุขภาพดังกล่าว ต้องพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และช่วงที่มีอาการ ห้ามขับรถโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุอาจที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ในการขับขี่ทุกครั้ง ควรเตรียมพร้อมเสมอกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด ด้วยประกันรถยนต์ตามเวลาให้ความคุ้มครอง 6 และ 12 เดือน ช่วยให้คุณอุ่นใจได้ทุกครั้งที่ออกเดินทาง เบี้ยเริ่มต้นที่ 4,545 บาทสนใจรายละเอียด คลิก ประกันรถยนต์
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที