การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 มีมูลค่า 7,199.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 102.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยไทยนำเข้าสินค้าหลักอย่างทองคำฯ ในสัดส่วนราวร้อยละ 73 เพิ่มขึ้นร้อยละ 139.46 รวมทั้งยังนำเข้าเพชร โลหะเงิน เครื่องประดับแท้ และพลอยสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.25, ร้อยละ 59.72, ร้อยละ 12.53 และร้อยละ 12.37 ตามลำดับ
ตารางที่ 1 มูลค่าการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2563-2564
รายการ |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง(ร้อยละ) |
||
ม.ค.-มิ.ย. 63 |
ม.ค.-มิ.ย. 64 |
ม.ค.-มิ.ย. 63 |
ม.ค.-มิ.ย. 64 |
ม.ค.-มิ.ย. 64/63 |
|
ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป |
2,189.61 |
5,243.22 |
61.60 |
72.83 |
139.46 |
เพชร |
544.85 |
884.03 |
15.33 |
12.28 |
62.25 |
โลหะเงิน |
214.96 |
343.34 |
6.05 |
4.77 |
59.72 |
เครื่องประดับแท้ |
276.99 |
311.70 |
7.79 |
4.33 |
12.53 |
พลอยสี |
182.95 |
205.57 |
5.15 |
2.86 |
12.37 |
อื่นๆ |
145.21 |
211.68 |
4.08 |
2.93 |
45.78 |
รวม |
3,554.57 |
7,199.54 |
100.00 |
100.00 |
102.54 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 ลดลง
ร้อยละ 55.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีมูลค่า 10,072.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 4,495.37ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 6 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.40 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำฯ พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 2,755.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 23.86 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2563-2564
รายการ |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-มิ.ย. 63 |
ม.ค.-มิ.ย. 64 |
ม.ค.-มิ.ย. 63 |
ม.ค.-มิ.ย. 64 |
ม.ค.-มิ.ย. 64/63 |
|
มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ |
10,072.27 |
4,495.37 |
100.00 |
100.00 |
-55.37 |
หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ |
7,847.81 |
1,740.15 |
77.92 |
38.71 |
-77.83 |
คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ |
2,224.46 |
2,755.22 |
22.08 |
61.29 |
23.86 |
หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากต่างประเทศ |
138.68 |
95.52 |
1.37 |
2.12 |
-31.12 |
คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ |
2,085.78 |
2,659.70 |
20.71 |
59.17 |
27.52 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยรายสินค้าระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2563-2564
รายการ |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-มิ.ย. 63 |
ม.ค.-มิ.ย. 64 |
ม.ค.-มิ.ย. 63 |
ม.ค.-มิ.ย. 64 |
ม.ค.-มิ.ย. 64/63 |
|
1. ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป |
7,847.81 |
1,740.15 |
77.92 |
38.71 |
-77.83 |
2. เครื่องประดับแท้ |
1,128.68 |
1,465.72 |
11.21 |
32.61 |
29.86 |
2.1 เครื่องประดับเงิน |
585.23 |
762.61 |
5.81 |
16.96 |
30.31 |
2.2 เครื่องประดับทอง |
494.93 |
596.13 |
4.91 |
13.26 |
20.45 |
2.3 เครื่องประดับแพลทินัม |
23.07 |
47.66 |
0.23 |
1.06 |
106.60 |
2.4 อื่นๆ |
25.45 |
59.32 |
0.26 |
1.33 |
133.07 |
3. เพชร |
412.52 |
595.34 |
4.10 |
13.24 |
44.32 |
3.1 เพชรก้อน |
18.10 |
3.34 |
0.18 |
0.07 |
-81.54 |
3.2 เพชรเจียระไน |
394.22 |
590.84 |
3.91 |
13.14 |
49.87 |
3.3 อื่นๆ |
0.20 |
1.16 |
0.01 |
0.03 |
510.40 |
4. พลอยสี |
321.38 |
305.04 |
3.19 |
6.79 |
-5.08 |
4.1 พลอยก้อน |
33.18 |
24.05 |
0.33 |
0.53 |
-27.53 |
4.2 พลอยเนื้อแข็งเจียระไน |
189.14 |
204.84 |
1.88 |
4.56 |
8.30 |
4.3 พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน |
99.06 |
76.15 |
0.98 |
1.70 |
-23.12 |
5. เครื่องประดับเทียม |
131.50 |
122.58 |
1.31 |
2.73 |
-6.78 |
6. โลหะเงิน |
43.45 |
75.52 |
0.43 |
1.68 |
73.82 |
7. อื่นๆ |
186.93 |
191.02 |
1.84 |
4.24 |
2.19 |
รวมทั้งสิ้น (1+2+3+4+5+6+7) |
10,072.27 |
4,495.37 |
100.00 |
100.00 |
-55.37 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 พบว่า
1) สินค้าสำเร็จรูป เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง และเครื่องประดับแพลทินัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.31, ร้อยละ 20.45 และร้อยละ 106.60 ตามลำดับ ส่วนเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 6.78
2) สินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพชรเจียระไนและพลอยเนื้อแข็งเจียระไน ขยายตัวร้อยละ 49.87 และร้อยละ 8.30 ตามลำดับ ขณะที่พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ปรับตัวลดลงร้อยละ 23.12
มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องมาจากการส่งออกไปยังหลายตลาดสำคัญได้สูงขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย และสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นตลาดในอันดับ 1, 2, 4 และ 5 ต่างมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ46.42, ร้อยละ 3.04, ร้อยละ 50.17 และร้อยละ 129.69 ตามลำดับ ขณะที่เยอรมนีตลาดในอันดับ 3 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.07
ทั้งนี้ การส่งออกของไทยที่ขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากการควบคุมการแพร่ระบาดและการกระจายวัคซีนโควิด-19 ในหลายประเทศ
สู่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง รวมถึงนโยบายการคลังและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง เป็นแรงหนุนให้สินค้าฟุ่มเฟือยอย่างอัญมณีและเครื่องประดับมียอดซื้อเพิ่มมากขึ้น
มูลค่าการส่งออกไปยัง สหรัฐอเมริกา ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเครื่องประดับเทียม
ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.75, ร้อยละ 34, ร้อยละ 6.78, ร้อยละ 5.72 และร้อยละ 3.54 ตามลำดับ
ขณะที่การส่งออกไปยัง ฮ่องกง ตลาดในอันดับที่ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.04 จากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่าง
เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งเจียระไน เครื่องประดับเทียม และเครื่องประดับเงิน ได้สูงขึ้นร้อยละ 18.39, ร้อยละ 7.18, ร้อยละ 78.99 และร้อยละ 34.81 ตามลำดับ
การส่งออกไปยัง อินเดีย ที่ขยายตัวนั้น มาจากการส่งออกเพชรเจียระไน ซึ่งเป็นสินค้าหลักในสัดส่วน
ร้อยละ 79 ได้สูงกว่าร้อยละ 187 ส่วนสินค้าที่หดตัวในตลาดนี้คือ โลหะเงิน พลอยก้อน พลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อน-เจียระไน
ส่วนการส่งออกไปยัง สหราชอาณาจักร ที่ขยายตัวสูงนั้น เป็นผลจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงิน ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันราวร้อยละ 79 รวมถึงสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเครื่องประดับเทียม พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเครื่องประดับแพลทินัม ล้วนมีมูลค่าเติบโตขึ้นร้อยละ 154.53,
ร้อยละ 214.74, ร้อยละ 38.56, ร้อยละ 101.42 และร้อยละ 76.92 ตามลำดับ
ขณะที่มูลค่าการส่งออกไปยัง เยอรมนี ตลาดในอันดับ 3 ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.07 เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง และเครื่องประดับเทียม ได้ลดลงร้อยละ 1.83, ร้อยละ 6.48 และร้อยละ 14.81 ตามลำดับ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที