โครงสร้างตึกอาคารมั่นคงเมื่อเลือกใช้เหล็กอย่างแข็งแรง
หลายคนอาจไม่ทราบว่า โครงสร้างสิ่งก่อสร้าง ไม่ว่าจะตัวตึก อาคาร บ้านเรือนต่างๆ ไม่ใช่แค่อิฐ หิน ดิน ปูน เท่านั้นที่เป็นวัสดุสำคัญในการก่อสร้าง และยังรวมไปถึงเหล็กต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่า ช่าง หรือ ผู้รับเหมาก่อสร้างก็จะเลือกร้านขายส่งเหล็กที่จำหน่ายเหล็ก ไม่ว่าจะเป็นเหล็กเส้น หรือ ขายเหล็กบีม ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆตามนิคมอุตสาหกรรม
ทำไมเหล็กถึงมามีส่วนสำคัญในการก่อสร้างต่างๆ ก็เพราะว่าความแข็งแกร่งของเหล็กที่สามารถยึดความหนาแน่นของปูน หิน ดินต่างๆไว้ไม่ให้พังทลายลงมา สังเกตได้ว่า อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีเหล็กมายึดโครงสร้าง มักจะมีปัญหาของการพังทลายของอาคารและตึกเหล่านั้น การตรวจสอบการก่อสร้างของอาคารบ้านเรือนตั้งแต่เริ่มก่อสร้างจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยทั่วไปแล้วเหล็กที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม หรือ งานก่อสร้าง แบ่งออกหลักๆได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ เหล็กเสริม (Reinforcing Steel) และ เหล็กรูปพรรณ (Structural Steel) ซึ่งเหล็กแต่ละประเภทจะแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกหลายชนิด และแต่ละชนิดจะมีคุณลักษณะ และวิธีการนำไปใช้งานเหล็กเสริม (Reinforcing Steel) คือ เหล็กที่ใช้สาหรับเสริมในเนื้อคอนกรีตเพื่อให้เกิดความแข็งแรงคงทนต่อแรงอัด และแรงดึงได้ดี โดยเหล็กเสริมสามารถ แบ่งแยกย่อยออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย เหล็กรีดซ้า ลวดเหล็กกล้าตีเกลียว และลวด เหล็กกล้าแรงดึงสูงสาหรับคอนกรีตอัดแรง เหล็กเส้นกลม (Round Bar) หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า RB คือ เหล็กเส้นที่มีพื้นที่ภาคตัดขวางเป็นรูปกลม มีลักษณะพื้นผิวที่เรียบเกลี้ยงไม่บิดเบี้ยว มีคุณสมบัติที่คงทน และสามารถรับแรงได้ดีเหล็กเส้นกลมจะมีลักษณะคล้ายกับเหล็กเพลาขาว แต่จะต่างกันที่เกรดเหล็กของ Billet ที่นำมาใช้ผลิต (Billet คือการเอาเหล็กมาหลอม แล้วปรุงน้ำเหล็กด้วยการใส่ธาตุต่างๆ เพื่อให้เป็นเหล็ก เกรดต่างๆ) โดยเกรดของเหล็กเส้นกลมจะใช้เป็น SR24 เหล็กเส้นกลมมักนิยมนำไปใช้ในงานคอนกรีตเสริมเหล็ก งานก่อ ผนังทั่วไป หรือใช้เป็นเหล็กปลอกในคาน ในเสา สาหรับงาน ก่อสร้างขนาดเล็ก และขนาดกลาง ขนาดของเหล็กเส้นกลมท่ีนิยมนำไปใช้งานจะมีความยาวความยาว 10 เมตร และ 12 เมตร โดยมีขนาดตั้งแต่ 6 mm 9 mm. 2 mm. 15 mm. 19 mm. และ 25 mm. เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar) คือ เหล็กเส้นที่มีพื้นที่ภาคตัดขวางเป็นรูปกลม โดยมีบั้ง และมีครีบที่พื้นผิว มีลักษณะเหมือนปล้องขนาดเท่าๆกัน เพื่อเสริมกำลังในการยึดระหว่างเหล็กเส้นกับเนื้อคอนกรีตให้มีความเหนียวแน่นในการยึดเกาะมากยิ่งขึ้น ตามมาตรฐาน มอก. 24-2548 กำหนดให้เหล็กข้ออ้อยมีชั้นคุณภาพหลายชั้น ประกอบด้วย SD30, SD40 และ SD50 (ตัวอย่าง เช่น SD30 จะหมายถึงเหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำากว่า 3,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร) เหล็กข้ออ้อยนิยมนำไปใช้ในงานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องการความแข็งแรงสูงมากเป็นพิเศษ เช่น เขื่อน สะพาน อาคารขนาดใหญ่ หรือตึกระฟ้าที่มีความสูงมากๆ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที