สำหรับผู้ที่ขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ เราคงจะคุ้นเคยกับการต่อพ.ร.บ. รถยนต์และจักรยานต์ยนต์ประจำปี และเรามักจะซื้อประกันรถยนต์ไปพร้อมๆ กัน เพื่อการคุ้มครองสูงสุดที่จะช่วยให้เรามั่นใจในความปลอดภัย แต่เรารู้ไหมว่า ความจริงกฎหมายไม่ได้บังคับให้เราทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ชั้น 2 แต่บังคับให้เราทำพ.ร.บ. รถยนต์ แล้วแท้จริงแล้วคืออะไร แล้วทำไมต้องบังคับให้ทำทุกปี?
พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นคำย่อที่เราเรียกกัน แต่ชื่อเต็มๆ ก็คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่กำหนดเอาไว้ว่า รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกจะต้องมีประกันภัยภายใต้ข้อบังคับของพระราชบัญญัตินี้ เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยไม่เกี่ยงว่าเราจะเป็นคนผิดหรือคนถูกในอุบัติเหตุนั้นๆ ซึ่งตามกฎหมายจะคุ้มครอบทั้งผู้เอาประกันและตัวคู่กรณี โดยให้เงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อมีกฎหมายดังกล่าว ไม่ว่าเราจะเกิดอุบัติเหตุที่ไหนในประเทศไทย จะผิดหรือจะถูก เราจึงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย สามารถเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงที ไม่ต้องเป็นกังวล
พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นการทำประกันภัยภาคบังคับ กล่าวคือ ไม่ทำไม่ได้! เพราะต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี หากไม่ทำพ.ร.บ. รถยนต์ในปีไหน แสดงว่ารถเราไม่สามารถต่อทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก และจะกลายเป็นรถเถื่อนทันที โดยเราสามารถต่อล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน และหากเราไม่ต่อพ.ร.บ. รถยนต์ จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทอีกด้วย
แล้วถ้าเราทำพ.ร.บ. รถยนต์แล้ว ไม่อยากทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 จะได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ชั้น 2 หรือชั้น 3 เพิ่มเติม เพราะประกันต่างๆ นี้เป็นประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ นั่นหมายถึงจะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่ข้อดีของประกันรถยนต์ภาคสมัครใจคือ คุ้มครองมากกว่า กล่าวคือ คุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้เอาประกัน ตามที่กรมธรรม์กำหนด โดยประกันรถยนต์ชั้น 1 จะคุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งของผู้เอาประกันและคู่กรณี เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นจึงแทบจะไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมเลย
แล้วพ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองแค่ไหน?
คุ้มครองโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด จะได้ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ 30,000 บาท เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาท แต่ถ้าพิสูจน์แล้วว่าไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
วงเงินคุ้มครอง ประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 500,000 บาทต่อคน เงินชดเชยรายวันกรณีผู้ป่วยใน ไม่เกิน 200 บาทต่อวัน (รวมไม่เกิน 20 วัน)
สำหรับผู้ที่ต้องการเคลมประกัน ต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แล้วนำใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับเงิน และสำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บส่งให้บริษัทประกันภัยเพื่อขอเบิกค่ารักษาพยาบาล
แม้ว่าพ.ร.บ. รถยนต์ จะมีความคุ้มครองที่น้อยกว่าประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ แต่จำนวนเงินที่จ่ายก็ถือว่าน้อยมากเช่นกัน สำหรับผู้ที่ไม่อยากซื้อประกันรถยนต์แพงๆ มีไว้ก็ช่วยให้เราและคนในครอบครัวอุ่นใจได้เช่นกัน
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที