Miyeon

ผู้เขียน : Miyeon

อัพเดท: 07 พ.ค. 2021 13.40 น. บทความนี้มีผู้ชม: 769 ครั้ง

ท่ามกลางยุคสมัยที่เปลี่ยนไป นอกจากจะต้องปรับตัวให้เท่าทันกับยุคสมัยและความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เกิดใหม่ในทุก ๆ วันแล้ว การศึกษาหาข้อมูลเรื่อง ?สิทธิ์? ที่เทคโนโลยีสามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้ก็จะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตท่ามกลางยุคเทคโนโลยีได้อย่างปลอดภัยและสะดวกมากกว่าที่คิด ซึ่งในวันนี้เราจะขอพาทุกคนไปรู้จักกับกฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอย่าง GDPR ที่เพิ่งเข้าไทยไปหมาด ๆ กัน แล้วกฎหมายนี้จะช่วยผู้บริโภคอย่างไร และทำไมสาย Digital Marketing ต้องรู้เรื่องนี้ มาหาคำตอบกัน!


GDPR เข้าไทยสาย Digital Marketing ควรปรับตัวอย่างไร?

 

ท่ามกลางยุคสมัยที่เปลี่ยนไป นอกจากจะต้องปรับตัวให้เท่าทันกับยุคสมัยและความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เกิดใหม่ในทุก ๆ วันแล้ว การศึกษาหาข้อมูลเรื่อง “สิทธิ์” ที่เทคโนโลยีสามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้ก็จะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตท่ามกลางยุคเทคโนโลยีได้อย่างปลอดภัยและสะดวกมากกว่าที่คิด ซึ่งในวันนี้เราจะขอพาทุกคนไปรู้จักกับกฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอย่าง GDPR ที่เพิ่งเข้าไทยไปหมาด ๆ กัน แล้วกฎหมายนี้จะช่วยผู้บริโภคอย่างไร และทำไมสาย Digital Marketing ต้องรู้เรื่องนี้ มาหาคำตอบกัน!

 

 

เข้าใจ GDPR ก่อน

ก่อนที่จะไปดูกันว่า GDPR ที่เพิ่งเข้าไทยจะส่งผลกระทบกับ Digital Marketing อย่างไร เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่า จริง ๆ แล้ว GDPR คืออะไรกันแน่ โดย GDPR นั้นเป็นตัวย่อของ General Data Protection Regulation หรือชื่อเต็ม ๆ ก็คือ ข้อบังคับกฎหมายของสหภาพยุโรปที่จะมุ่งเน้นไปที่การคุ้มครองข้อมูลของบุคคล รวมไปถึงความเป็นส่วนตัวทั้งหมดในเขตเศรษฐกิจยุโรป แต่ที่สำคัญไปมากกว่านั้น กฎหมายในส่วนนี้จะทำให้ธุรกิจต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ที่ใช้ social media platform นั้นไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ของบุคคลได้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือพูดง่าย ๆ คือ Platform ต่าง ๆ จะไม่สามารถนำข้อมูลของเราไปใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างการทำโฆษณาได้เหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป ซึ่ง GDPR ก็มีผลกับไทยเช่นเดียวกัน

 

ชาว Digital Marketing ควรทำอย่างไร?

จากที่กล่าวไปข้างต้น การที่ GDPR เข้าไทยก็หมายความว่า การนำข้อมูลต่าง ๆ จากโลกออนไลน์มาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ทาง Digital Marketing ก็จะได้รับผลกระทบแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นเดียวกัน 

แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกเสมอไป เพราะจริง ๆ แล้ว หากผู้ทำงานสาย Digital Marketing อย่างเอเจนซีต่าง ๆ ทำตามกฎที่ระบุไว้ การทำการตลาดออนไลน์ก็จะไม่มีปัญหา ซึ่งเงื่อนขั้นต้นที่สาย Digital Marketing สามารถช่วยลูกค้าแก้ไขในส่วนนี้ได้ คือ 

  1. การสร้างความเข้าใจตัว GDPR ที่เพิ่งเข้าไทย และรวมทีมกันทำงานในส่วนนี้และประสานงานกันในองค์กรให้ดี ตัวอย่างเช่น การติดต่อหาเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล (Data Protection Officer) มาในองค์กรเพื่อสร้างความเข้าใจและติดต่อประสานงานระหว่างองค์กรและลูกค้าของตนเอง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ทีมในบริษัทมีคนที่สามารถช่วยดูความถูกต้องเพื่อไม่ให้ผิดกฎ

  2. ผู้ทำงานในสาย Digital Marketing ควรแนะนำให้ลูกค้าที่ใช้เว็บไซต์เปิดหน้า Privacy Policy ที่อธิบายกฎหมายและข้อบังคับส่วนนี้เอาไว้ รวมถึงต้องอธิบายการเก็บข้อมูลทั้งหมดให้ชัดเจน เช่น แหล่งที่มา และวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูล เป็นต้น

  3. ที่สำคัญ นอกจากจะอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจถึง GDPR ที่เพิ่งเข้าไทยแล้ว อย่าลืมแนะนำให้ลูกค้าเพิ่มความสนใจไปที่การพัฒนาสินค้าและบริการของตนเองเพื่อให้แข่งขันในตลาดได้ พร้อมช่วยทำเนื้อหาหรือ Content ที่เหมาะสมและแตกต่างจากในตลาด 

 

 


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที