Tawan

ผู้เขียน : Tawan

อัพเดท: 22 เม.ย. 2021 21.22 น. บทความนี้มีผู้ชม: 2086 ครั้ง

การปรับเบาะนั่งและพนักพิงให้เหมาะสมนั้น จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ทำให้สามารถควบคุมรถได้ง่ายขึ้นในทุกสถานการณ์ ช่วยลดอาการเมื่อยล้าตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มความมั่นใจในการขับขี่ จะมีวิธีการปรับเบาะนั่งอย่างไรให้ถูกต้องปลอดภัย วันนี้มีคำตอบ

การปรับเบาะนั่ง

- ระยะห่างของเบาะนั่งควรปรับให้อยู่ในระยะที่ ฝ่าเท้าเหยียบแป้นเบรก คลัตช์ และคันเร่งได้ถนัด โดยไม่ต้องเหยียดขา หรือว่าเขย่งปลายเท้า

- เข่าอยู่ในสภาพงอเล็กน้อย จะช่วยลดแรงกระแทกกรณีประสบอุบัติเหตุ หากปรับเบาะนั่งห่างเกินไป เวลาเหยียบเบรกต้องเหยียดขาให้ตึง เมื่อประสบอุบัติเหตุ ขาที่เหยียดตรงจะได้รับแรงกระแทกโดยตรง ทำให้ขาหักได้

- ต้องไม่ปรับเบาะนั่งสูงเกินไป เพราะว่าขาจะลอยจากพื้นในลักษณะเข่าชัน ทำให้ขาอ่อนล้า ไม่มีแรงในการเหยียบเบรกและคลัตช์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับรถ แต่หากปรับเบาะนั่งต่ำเกินไป ก็จะมีผลต่อทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทาง

- ต้องไม่ปรับพนักพิงเอนมากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ขับขี่ต้องโยกลำตัวขึ้นลงขณะหมุนพวงมาลัย ส่งผลให้ขาดความคล่องตัวในการบังคับพวงมาลัย และมีมุมมองในการมองเห็นกระโปรงหน้ารถและเส้นทางที่จำกัด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ พนักพิงควรเอนเพียงเล็กน้อย ประมาณ 110 องศา เพื่อให้มีระยะห่างจากพวงมาลัยที่เหมาะสม ช่วยให้ควบคุมรถได้ง่าย


ขั้นตอนในการปรับเบาะ

1. การปรับระยะเบาะนั่ง

- รถที่ขับเป็นเกียร์ออโต้ ให้ใช้ฝ่าเท้าเหยียบที่แป้นเบรก แล้วเลื่อนตัวเบาะนั่งให้เข่างอเล็กน้อย

- รถเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์กระปุก ให้นั่งชิดพนักพิงแล้วใช้ เท้าเหยียบแป้นคลัตช์ให้สุด ถ้าเหยียบไม่สุด ให้ปรับเบาะไปทางด้านหน้า เมื่อเหยียบสุดแล้วเข่าต้องตึง มิฉะนั้นจะเมื่อยเข่าในขณะขับ



2. การปรับพนักพิง

ใช้มือขวาจับที่ 2-3 นาฬิกาของพวงมาลัย ข้อศอกจะงอเล็กน้อย แผ่นหลังจะติดพนักพิงเสมอ จากนั้นลองเลื่อนมือไปวางไว้บนสุดของพวงมาลัย ข้อมือจะต้องแตะกับพวงมาลัยได้พอดีจึงถือว่าถูกต้อง ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัย แล้วมืออยู่เลยไปถึงกลางฝ่ามือหรือโคนนิ้ว แสดงว่าปรับพนักพิงเอนเกินไป แต่ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัยแล้วมืออยู่ชิดเลยข้อมือเข้ามาแสดงว่านั่งชิดเกินไป



3. การปรับหมอนรองศีรษะ

หมอนรองศีรษะนั้นให้ปรับเอนศีรษะอยู่กลางหมอนรองศีรษะพอดี บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่ามีไว้สำหรับเอาคอมาพิงเพื่อจะนอนได้สะดวก แต่ความเป็นจริงแล้วถ้าทำลักษณะเช่นนั้น จะเกิดอันตรายมากเวลาเกิดอุบัติเหตุ เพราะว่าหมอนรองศีรษะมีหน้าที่ไว้รองศีรษะเวลาเกิดอุบัติเหตุไม่ให้ศีรษะเงย หรือสะบัดไปด้านหลังเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นเหตุให้กระดูกคอแตกหรือหักได้



4. การปรับพวงมาลัยขับ

วิธีตรวจสอบระยะที่ถูกต้องคือ ลองเอาแขนเหยียดตรง แล้วพาดที่ด้านบนของพวงมาลัย ระยะที่ถูกต้องคือข้อมือต้องวางบนพวงมาลัยได้พอดี โดยที่ตัวยังแนบกับเบาะ ถ้ายังไม่พอดี ให้ปรับพวงมาลัยเข้า/ออก จนได้ระยะที่ต้องการ เมื่อลดมือลงมาจับที่ตำแหน่งจริง แขนจะเหลือมุมงอที่เหมาะสม ทำให้ควบคุมพวงมาลัยได้ดี



การปรับเบาะนั่งและพนักพิงให้เหมาะสมถูกต้องเป็นสิ่งง่ายๆที่ไม่ควรละเลย ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินก็ยังสามารถควบคุมรถได้ดีเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่



การทำ[url=https://www.smk.co.th/premotor]ประกันรถยนต์[/url]เป็นอีกหนึ่งทางที่จะช่วยลดความเสี่ยง และให้ความคุ้มครองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น





การปรับเบาะนั่งและพนักพิง

 
 
การปรับเบาะนั่งและพนักพิงให้เหมาะสมนั้น จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ทำให้สามารถควบคุมรถได้ง่ายขึ้นในทุกสถานการณ์ ช่วยลดอาการเมื่อยล้าตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มความมั่นใจในการขับขี่ จะมีวิธีการปรับเบาะนั่งอย่างไรให้ถูกต้องปลอดภัย วันนี้มีคำตอบ
 
การปรับเบาะนั่ง
 
- ระยะห่างของเบาะนั่งควรปรับให้อยู่ในระยะที่ ฝ่าเท้าเหยียบแป้นเบรก คลัตช์ และคันเร่งได้ถนัด โดยไม่ต้องเหยียดขา หรือว่าเขย่งปลายเท้า
 
- เข่าอยู่ในสภาพงอเล็กน้อย จะช่วยลดแรงกระแทกกรณีประสบอุบัติเหตุ หากปรับเบาะนั่งห่างเกินไป เวลาเหยียบเบรกต้องเหยียดขาให้ตึง เมื่อประสบอุบัติเหตุ ขาที่เหยียดตรงจะได้รับแรงกระแทกโดยตรง ทำให้ขาหักได้
 
- ต้องไม่ปรับเบาะนั่งสูงเกินไป เพราะว่าขาจะลอยจากพื้นในลักษณะเข่าชัน ทำให้ขาอ่อนล้า ไม่มีแรงในการเหยียบเบรกและคลัตช์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับรถ แต่หากปรับเบาะนั่งต่ำเกินไป ก็จะมีผลต่อทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทาง
 
- ต้องไม่ปรับพนักพิงเอนมากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ขับขี่ต้องโยกลำตัวขึ้นลงขณะหมุนพวงมาลัย ส่งผลให้ขาดความคล่องตัวในการบังคับพวงมาลัย และมีมุมมองในการมองเห็นกระโปรงหน้ารถและเส้นทางที่จำกัด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ พนักพิงควรเอนเพียงเล็กน้อย ประมาณ 110 องศา เพื่อให้มีระยะห่างจากพวงมาลัยที่เหมาะสม ช่วยให้ควบคุมรถได้ง่าย
 
 
ขั้นตอนในการปรับเบาะ
 
1. การปรับระยะเบาะนั่ง
 
- รถที่ขับเป็นเกียร์ออโต้ ให้ใช้ฝ่าเท้าเหยียบที่แป้นเบรก แล้วเลื่อนตัวเบาะนั่งให้เข่างอเล็กน้อย
 
- รถเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์กระปุก ให้นั่งชิดพนักพิงแล้วใช้ เท้าเหยียบแป้นคลัตช์ให้สุด ถ้าเหยียบไม่สุด ให้ปรับเบาะไปทางด้านหน้า เมื่อเหยียบสุดแล้วเข่าต้องตึง มิฉะนั้นจะเมื่อยเข่าในขณะขับ
 
 
 
2. การปรับพนักพิง
 
ใช้มือขวาจับที่ 2-3 นาฬิกาของพวงมาลัย ข้อศอกจะงอเล็กน้อย แผ่นหลังจะติดพนักพิงเสมอ จากนั้นลองเลื่อนมือไปวางไว้บนสุดของพวงมาลัย ข้อมือจะต้องแตะกับพวงมาลัยได้พอดีจึงถือว่าถูกต้อง ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัย แล้วมืออยู่เลยไปถึงกลางฝ่ามือหรือโคนนิ้ว แสดงว่าปรับพนักพิงเอนเกินไป แต่ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัยแล้วมืออยู่ชิดเลยข้อมือเข้ามาแสดงว่านั่งชิดเกินไป
 
 
 
3. การปรับหมอนรองศีรษะ
 
หมอนรองศีรษะนั้นให้ปรับเอนศีรษะอยู่กลางหมอนรองศีรษะพอดี บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่ามีไว้สำหรับเอาคอมาพิงเพื่อจะนอนได้สะดวก แต่ความเป็นจริงแล้วถ้าทำลักษณะเช่นนั้น จะเกิดอันตรายมากเวลาเกิดอุบัติเหตุ เพราะว่าหมอนรองศีรษะมีหน้าที่ไว้รองศีรษะเวลาเกิดอุบัติเหตุไม่ให้ศีรษะเงย หรือสะบัดไปด้านหลังเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นเหตุให้กระดูกคอแตกหรือหักได้
 
 
 
4. การปรับพวงมาลัยขับ
 
วิธีตรวจสอบระยะที่ถูกต้องคือ ลองเอาแขนเหยียดตรง แล้วพาดที่ด้านบนของพวงมาลัย ระยะที่ถูกต้องคือข้อมือต้องวางบนพวงมาลัยได้พอดี โดยที่ตัวยังแนบกับเบาะ ถ้ายังไม่พอดี ให้ปรับพวงมาลัยเข้า/ออก จนได้ระยะที่ต้องการ เมื่อลดมือลงมาจับที่ตำแหน่งจริง แขนจะเหลือมุมงอที่เหมาะสม ทำให้ควบคุมพวงมาลัยได้ดี
 
 
 
การปรับเบาะนั่งและพนักพิงให้เหมาะสมถูกต้องเป็นสิ่งง่ายๆที่ไม่ควรละเลย ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินก็ยังสามารถควบคุมรถได้ดีเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่
 
 
 
การทำ ประกันรถยนต์ เป็นอีกหนึ่งทางที่จะช่วยลดความเสี่ยง และให้ความคุ้มครองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น
 
 
 
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที