เรื่องน่ารู้ไฟหน้า-ไฟท้ายรถยนต์
ไฟหน้าและไฟท้ายรถยนต์ ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน หรือขณะที่แสงสว่างไม่เพียงพอ แต่บ้างครั้งที่เรามักพบมีรถบ้างคันใช้ไฟหน้ารถอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งผิดกฏหมายและอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ วันนี้จึงได้รวบรวมเรื่องควรรู้เกี่ยวไฟรถยนต์มาให้ศึกษากันดังนี้
รถยนต์ทุกคันต้องมีโคมไฟหน้ารถและโคมไฟท้ายรถ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งประกอบด้วย 3 ประเภท ดังนี้
1. โคมไฟแสงพุ่งไกล (ไฟสูง) ให้ติดหน้ารถข้างละหนึ่งดวงสูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อย กว่า 0.6 เมตร แต่ไม่เกิน 1.35 เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาวมีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 50 วัตต์ มีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 100 เมตร ศูนย์รวมแสงต้องไม่สูงกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบ และไม่เฉไปทางขวา
2. โคมไฟแสงพุ่งต่ำ (ไฟต่ำ) ให้ติดหน้ารถข้างละหนึ่งดวง สูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อยกว่า 0.6 เมตร แต่ไม่เกิน 1.35 เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาวมีกำลังไฟเท่ากันไม่ เกินดวงละ 50 วัตต์ มีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.2 เมตร ในระยะ 7.5 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
3.โคมไฟเล็ก ให้ติดหน้ารถอย่างน้อยข้างละหนึ่งดวง โดยให้อยู่ด้านริมสุดแต่จะล้ำเข้ามาได้ไม่เกิน 0.4 เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลือง มีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 10 วัตต์ และต้องมีแสงสว่างสามารถมองเห็นได้จากระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตรโคมไฟแสงพุ่งไกลโคมไฟแสงพุ่งต่ำ และโคมไฟเล็ก จะรวมอยู่ในดวงเดียวกันก็ได้
ข้อควรปฎิบัติเกี่ยวกับไฟหน้าและไฟท้ายรถยนต์
- โคมไฟหลอดไฟหน้ารถที่ติดตั้งมากับรถทุกคันได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว หากหลอดไฟชำรุด เจ้าของรถควรเปลี่ยนใหม่ให้เป็นชนิดและรุ่นเดียวกับของเดิม
- การใช้ไฟหน้ารถให้ถูกต้องนั้น ต้องใช้ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็น ภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
- การเปิดไฟสูงตลอดเวลาเพื่อให้เห็นทางชัดเจน ไม่ควรทำเนื่องจากเป็นการรบกวนสายตาผู้อื่นและผิดกฎหมาย
- การติดตั้งไฟสปอตไลท์ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย
- การปรับแต่งทิศทางการส่องสว่างของโคมไฟหน้า รถให้สูงขึ้นจากเดิม หรือดัดแปลงอุปกรณ์ส่วนควบหรือเพิ่มเติมส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าไป จนทำให้แสงมีความสว่างจ้ามากจนเกินไป การใช้ไฟกะพริบหรือใช้แสงสีต่างๆ ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มีความผิดตามมาตรา 12 ฐานเพิ่มเติมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท สำหรับรถโดยสารสาธารณะฝ่าฝืนดัดแปลงอุปกรณ์ส่องสว่างในลักษณะดังกล่าว เป็นความผิดตามตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 71 ฐานใช้รถที่มีอุปกรณ์ส่วนควบไม่ถูกต้องตามที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท และอาจถูกสั่งระงับการใช้รถ
หากพบรถที่มีการดัดแปลงอุปกรณ์ส่องสว่างผิดกฎหมายสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียน 1584 กรมการขนส่งทางบก โดยต้องแนบหลักฐานเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ระบุสถานที่ เวลาที่พบเหตุ ชื่อและข้อมูลผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน
กรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น การทำประกันภัยรถยนต์เป็นอีกหนึ่งทางที่จะช่วยลดความเสี่ยง และให้ความคุ้มครองได้ในยามฉุกเฉิน คลิกเลย
ประกันรถยนต์
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : เรื่องน่ารู้ไฟหน้า-ไฟท้ายรถยนต์