‘ปลา’ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำซึ่งมีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฎในหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ อาทิ ภาพเขียนสีรูปปลาอายุกว่า 3,000 ปี ณ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น ซึ่งนอกจากประโยชน์ในด้านการเป็นแหล่งอาหารแล้ว มันยังมีความสำคัญในฐานะสัญลักษณ์ทางความเชื่อซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ศาสนา และอารยธรรมของมนุษย์ในทุกมุมโลก
ตัวอย่างของความเชื่อในยุคโบราณอันเกี่ยวกับปลา ได้แก่ ชาวนครบาบิโลน* เชื่อว่า ปลาคือสัญลักษณ์แห่งชีวิตและความสุข ด้านชาวสแกนดิเนเวียเชื่อว่ามันคือสัญลักษณ์แห่งความมุ่งมั่น ขณะที่ชาวเคลต์เชื่อว่าปลาคือสัญลักษณ์ของความรู้ และสติปัญญา เป็นต้น
ในวัฒนธรรมความเชื่อของชาวจีน ปลาเป็นสัตว์มงคล เนื่องจากคำว่า “หยู” (?) ซึ่งแปลว่า ปลา ออกเสียงคล้ายกับคำว่า “หยู” (?) ที่มีความหมายว่า “มีเหลือ” ดังนั้น ชาวจีนจึงถือว่าปลาเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่งร่ำรวย
ต่างหูทอง 3 กษัตริย์ รูปปลา ทำจากทอง 18 กะรัต ประดับเพชร
เครื่องประดับโดย: Bvlgari
ขณะที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่ามีปลาดุกขนาดมหึมาชื่อว่า ‘นะมะสุ’ นอนหลับใหลอยู่ใต้เกาะญี่ปุ่น โดยทุกครั้งที่เจ้าปลาดุกยักษ์นี้ขยับตัวจะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนและเกิดเป็นแผ่นดินไหว นอกจากนี้ ยังมีปลาอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีความสำคัญกับวัฒนธรรมของชาวอาทิตย์อุทัย นั่นคือ ‘ปลาคาร์ฟ’ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าปลาคาร์ฟเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข และความโชคดี เราจึงมักพบเห็นปลาคาร์ฟตัวโตหลากสีแหวกว่ายอยู่ในน้ำตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน วัดวาอาราม หรือศาลเจ้า ทั้งยังปรากฎอยู่ตามสิ่งของต่างๆ อาทิ รูปภาพ จานชาม และธงรูปปลาคาร์ฟ อีกด้วย
เข็มกลัดที่ออกแบบเป็นปลาคาร์ฟ ประดับด้วยเพชรและพลอยสี
เครื่องประดับโดย: Graff
ข้อมูลอ้างอิง
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที