เมตตา

ผู้เขียน : เมตตา

อัพเดท: 10 พ.ย. 2007 23.53 น. บทความนี้มีผู้ชม: 93857 ครั้ง

ภาพยนตร์นอกเหนือจากการให้ความบันเทิงแล้ว เรายังสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อภาพยนตร์ในการทำความเข้าใจกับชีวิตจริง เหมือนคำที่กล่าวว่า “ดูหนังแล้วย้อนดูตัวเอง” แล้วสื่อภาพยนตร์มาเกี่ยวข้องกับข้อกำหนดของระบบ ISO 9000 ได้อย่างไร


บทเฉลยของหนังเรื่อง Hollow Man

ดูหนังเรื่องนี้แล้ว ทำให้นึกถึงคำว่า  “นัตถิปัญญาสมาอาภา”  ไม่มีแสงใดสว่างเท่าปัญญา

          ปัญญา หรือ ความรู้ เป็นอาวุธอย่างหนึ่ง ถ้าใช้ไปในทางที่ถูกต้อง ย่อมเป็นคุณอนันต์ และถ้าใช้ไปในทางที่ผิด ย่อมเป็นโทษมหันต์

เผอิญว่า ตัวเอกในเรื่องนี้นำปัญญาไปใช้ในทางที่ผิด 

หนังแนววิทยาศาสตร์มีหลายเรื่องที่นิยมทำแนวล่องหนหายตัว มันเป็นเรื่องที่อาจจะเป็นไปได้ในอนาคต เพราะสสารแปลงเป็นพลังงานได้ จากสมาการของไอสไตล์  E = mc2 และตอนนี้มีการวิจัยแปลงพลังงานเป็นสสารอยู่

 

สำหรับเนื้อหาของหนังเรื่องนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อกำหนดที่ 8.3 a และ c , 8.5.2

ในตอนที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ประสบปัญหาที่หัวหน้าทีมไม่สามารถคืนสภาพร่างสภาพเดิมได้นั้น ทีมงานได้มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น การควบคุมตัวไว้เพื่อป้องกันอันตราย ทำหนังหน้าเทียม และถุงมือเทียมให้ใส่ เพื่อจะได้เห็นตัว และในขณะเดียวกันช่วยกันวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขที่รากของปัญหาโดยการตรวจสอบวิธีการทำปฏิกิริยาและสารเคมีที่ใช้ทำปฏิกิริยาในการล่องหน โดยจำลองวิธีการแก้ไขในโปรแกรมคอมพิวเตอร์  เพื่อช่วยให้พระเอกคืนสภาพร่างได้ แต่ยังขาดวิธีการป้องกันไม่ให้พระเอกเอาผลประโยชน์ของการล่องหนไปใช้ในทางที่ผิด

 

ในระหว่างกระบวนการผลิต บ่อยครั้งที่เราตรวจพบข้อบกพร่องของชิ้นงานที่ผลิตขึ้นมา ในระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 กำหนดให้ดำเนินการดังนี้

ข้อ 8.3 a ให้รีบแก้ไขข้อบกพร่องของกระบวนการผลิต ณ จุดนั้นทันที เหมือนกับการที่ทีมงานนักวิทยาศาสตร์กำลังหาทางแก้ไขสูตรผสมสารเคมีคืนสภาพร่าง

ข้อ 8.3 c ต้องป้องกันไม่ให้มีการนำของเสียไปใช้งาน ให้คัดแยกไว้  เหมือนกับที่ทีมงานทำถุงมือและหน้ากากหนังให้พระเอกเพื่อจะได้รู้ว่าเค้าอยู่ไหน

ข้อ 8.5.2 การปฏิบัติการแก้ไข ต้องดำเนินการดังนี้

– ทบทวนข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น

– ค้นหาสาเหตุของข้อบกพร่อง

– ประเมินความจำเป็นในการแก้ไขหรือการป้องกันการเกิดซ้ำของข้อบกพร่องนั้น

– ถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องทำการแก้ไขและป้องกันให้หามาตรการแก้ไขและป้องกัน

– ทำการบันทึกผลลัพธ์ของการแก้ไขและป้องกันนั้นไว้เป็นหลักฐาน

– ทำการทบทวนผลของการแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำที่ทำไปแล้วโดยรวมว่ามีประสิทธิผลและมีปัญหากลับมาเกิดใหม่หรือไม่

 

สรุปความหมายได้ว่า

          เมื่อเกิดข้อบกพร่องในการผลิต จนเกิดผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดขึ้นมา ต้องมีการจัดการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.     แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  เพื่อหยุดการเกิดข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ในระหว่างการผลิตในขณะนั้น ซึ่งในทางปฏิบัติ ฝ่ายผลิตจะต้องรีบดำเนินการ และแจ้งปัญหาให้ฝ่ายควบคุมคุณภาพรับทราบ

2.     ฝ่ายควบคุมคุณภาพเมื่อได้รับทราบแล้วจะต้องแยกและกักของเสียออกจากสายการผลิต และทำป้ายชี้บ่งสถานะไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกนำไปใช้ และก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีก และนำเสนอให้ผู้บริหารตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับผลิตภัณฑ์ที่มีความบกพร่องเหล่านั้น

3.     ฝ่ายควบคุมคุณภาพต้องตรวจสอบดูว่า ปัญหานั้นเป็นปัญหาที่รุนแรงหรือเกิดซ้ำ ๆ สร้างความเสียหายให้กับกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์หรือไม่ ถ้าใช่ ต้องคิดหามาตรการแก้ไขและป้องกันไม่ให้กลับมาเกิดซ้ำอีก ด้วยการออกใบคำร้องข้อให้ฝ่ายผลิตทำการแก้ไข

4.     ฝ่ายผลิตต้องนำปัญหานั้นมาทำการวิเคราะห์ถึงสาเหตุ แล้วค้นหามาตรการแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ

5.     นำมาตรการนั้นไปปฏิบัติแล้วตรวจสอบผลว่าได้ผลหรือไม่ ถ้าไม่ได้ผลจะต้องแก้ไขอย่างไรต่อไป เพื่อให้นั้นลุล่วงไป โดยมีฝ่ายควบคุมคุณภาพทำการติดตามผล

 

นี่เป็นตัวอย่างของขั้นตอนการดำเนินการแก้ไขและป้องกัน บางหน่วยงานอาจจะมีวิธีการที่แตกต่างไปจากนี้ได้

 

ทุกครั้งที่กล่าวถึงเรื่องการแก้ไขและป้องกัน ทำให้ต้องนึกถึงอริยสัจ 4 ประการ

o      ทุกข์          คือ อาการที่เป็นปัญหา  หรือ เรื่องที่เราต้องการจะแก้ไข

o      สมุทัย         คือ สาเหตุแห่งทุกข์  หรือ สาเหตุของปัญหา

o      นิโรธ          คือ แนวทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์  หรือ การค้นหามาตรการตอบโต้เพื่อกำจัดสาเหตุของปัญหา

o      มรรค          คือ การปฏิบัติให้พ้นทุกข์  หรือ การนำมาตรการตอบโต้ไปปฏิบัติ ถ้าได้ผลดี เราจะปฏิบัติอย่างนั้นซ้ำ ๆ ต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหากลับมาเกิดใหม่ หรือ ถ้าไม่ได้ผล เราต้องกลับไปที่ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคใหม่

วงจรเดมมิ่ง

o        P = Plan       คือขั้นตอนการค้นหาปัญหา สาเหตุ มาตรการตอบโต้ และวางแผนในการปฏิบัติการตอบโต้

o        D = Do        คือขั้นตอนทดลองปฏิบัติตามมาตรการตอบโต้

o        C = Check     คือขั้นตอนการตรวจสอบผลของมาตรการตอบโต้ เทียบกับเป้าหมายที่เราตั้งไว้

o        A = Act         คือขั้นตอนสรุปผล  ถ้ามาตรการตอบโต้นั้นใช้ได้ผลให้ประกาศเป็นมาตรฐานการปฏิบัติ หรือ ถ้าไม่ได้ผลให้ Action กลับไปขั้นตอน P D C A ใหม่ เพื่อหาแนวทางแก้ไขให้ปัญหานั้นลุล่วงไปให้ได้   

เปรียบเทียบ อริยสัจ 4 กับ วงจรเดมมิ่ง 

o     ทุกข์  สมุทัย นิโรธ อยู่ในขั้นตอน P ( Plan ) 

o     มรรค อยู่ในขั้นตอน D (Do) , C (Check) , A (Act) 

นอกจากนี้ยังมีหลายครั้งที่ผู้รับผิดชอบในการแก้ไข สับสนกับการระบุว่าอะไรเป็นปัญหา อะไรเป็นสาเหตุ รวมไปถึง อะไรเป็นวิธีการแก้ไข และอะไรเป็นวิธีการป้องกัน ให้ลองนึกถึงตัวอย่างนี้

ตารางที่ 1

ปัญหา

สาเหตุ

การแก้ไข

การป้องกัน

เป็นไข้หวัด

ติดเชื้อ

กินยาฆ่าเชื้อ

ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

กับตารางที่ 2

ปัญหา

สาเหตุ

การแก้ไข

การป้องกัน

เป็นไข้หวัด

ร่างกายอ่อนแอ

ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

-

กับตารางที่ 3

ปัญหา

สาเหตุ

การแก้ไข

การป้องกัน

ติดเชื้อ

ร่างกายอ่อนแอ

กินวิตามินบำรุงร่างกาย

ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

กับตารางที่ 4

ปัญหา

สาเหตุ

การแก้ไข

การป้องกัน

ร่างกายอ่อนแอ

ไม่ได้ออกกำลังกาย

ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

กินวิตามินบำรุงร่างกาย

ท่านคิดว่าตารางไหนที่เป็นการวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไขและแนวทางป้องกันที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

ลองดูตารางที่ 2  เป็นไข้หวัดแต่กลับคิดว่าเกิดจากร่างกายอ่อนแอ ต้องไปออกกำลังกาย ถ้าป่วยนอนซมอยู่จะไปออกกำลังกายได้อย่างไร  อาการป่วยก็หายช้า แถมยังทำให้นึกมาตรการป้องกันไม่ได้ด้วย

ลองดูตารางที่ 3 ปัญหาคิดว่าเกิดการติดเชื้อ แต่การติดเชื้อแท้จริงคือสาเหตุมากกว่า  ดังนั้นพอระบุตัวปัญหาผิด เลยมีผลทำให้ระบุสาเหตุ การแก้ไข การป้องกันผิดไปด้วย  ไปหลงกินยาบำรุง  อาการเป็นไข้ก็เลยไม่หาย ไม่กินยาฆ่าเชื้อ จะหายไข้ได้อย่างไรกัน

ตารางที่ 1 และ 4 เป็นตารางที่ถูกต้อง  ถ้าปัญหาอยู่ที่ตรงไหนให้แก้ไขที่ตรงนั้น บางครั้งการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาอยากให้ลองใช้ 5 M 1 E มาพิจารณา 

o        M = Method  วิธีการ

o        M = Man คนที่ปฏิบัติงาน

o        M = Method วิธีการปฏิบัติงาน

o        M = Machine เครื่องจักร

o        M = Measurement การวัด

o        E = Environment สภาพแวดล้อมในขณะนั้น

ลองสังเกตว่าเกิดจากสาเหตุใดในตัวเลือกที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น ถ้าเป็นที่ MAN ก็แก้ที่ MAN เป็นต้น

การแก้ไขปัญหาให้หายขาด    “ต้องเกาให้ถูกทีคัน”


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที