ฟ้ากว้าง

ผู้เขียน : ฟ้ากว้าง

อัพเดท: 03 ก.ค. 2007 10.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 174641 ครั้ง

มีที่มาที่ไปอย่างไรอ่านได้ที่นี่


จตุคาม รามเทพ : ประวัติจตุคาม-รามเทพ

จตุคาม รามเทพ : ประวัติจตุคาม-รามเทพ


20133_1.jpg
การสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช

จากบันทึกของคณะผู้ริเริ่มการก่อสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า นับตั้งแต่เทวดารักษาเมืองได้สร้างความอัศจรรย์ด้วยการมาประทับทรงบอกกล่าวให้แก่พันตำราจเอก สรรเพชญ ธรรมาธิกุล (ยศในขณะนั้น ) และคณะดำเนินการรสร้างศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา ได้มีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินไปตามคำบอกกล่าวของ เทวดารักษาเมืองทุกขั้นตอนเป็นลำดับมาดังนี้

1. พิธีกรรมเผาดวงชะตาเมือง กระทำที่ป่าช้าวัดชะเมา ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นการล้างอาถรรพณ์ดวงชะตาเมืองเดิมซึ่งเรียกว่า “ดวงภินธุบาทว์” ลักษณะดวงดาวเสาร์ซึ่งเป็นดาวภัยเล็งจุดกำเนิดวางดาวอังคารให้อยู่ในภพที่ห้าเจ้าของดวงชะตาเช่นนี้เหมือนถูกสาป อาภัพ อัปภาคย์บ้านแตกสาแหรกขาด ต้องทัณฑ์ ไม่หยุดหย่อน เดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองำไม่นานก็เสื่อมทรามตกตำ การเผาดวงชะตาครั้งนี้ใช้ “เพชฌฆาตฤกษ์” คือเลยเที่ยงคืนไป 1 นาที ของปลายปี พ.ศ.2528


2. พิธีลอยชะตาเมือง เพื่อทำลายดวงชะตาเมืองเดิมทำแพจากต้นกล้วยเถื่อน (กล้วยป่า) เก็บดินสี่มุมเมืองน้ำห้าท่า ดาบเก่าสี่เล่ม รูปคนทำด้วยดินปั้นสี่ รูปเสาไม้ตะเคียนทองหนึ่งต้น พญาโหราเรียกอาถรรพณ์จัญไรบรรจุลงสู่ต้นตะเคียนทอง เสกคาถาลงยันต์ครบถ้วนแล้วนำไปลอยที่ปากน้ำปากนคร


3. พิธีกรรมสะกดหินหลัก กระทำที่บริเวณฐานพระสยม ตลาดท่าชี ตำบลในเมืองอำเภอเมือง หินหลักเป็นสิ่งที่พวกพราหมณ์ด้งเดิมฟังอาถรรพณ์เสนียดจัญไรเอาไว้ ซึ่งสร้างความวิบัติเสื่อมเสียแก่เมืองนครศรีธรรมราชตลอดมา


4. พิธีปลุกยักษ์วัดพระบรมธาตุ ยักษ์สองตนที่บันไดทางขึ้นองค์พระบรมธาตุ ถูกปลุกให้ตื่นมาทำหน้าที่รักษาบ้านเมืองหลังจากถูกสะกดมานาน นอกจากนั้นยังปลุกเทวดา พระปัญญา พระพวย และพระมหากัจจายนะ  อีกด้วย

5. พิธีปลุกพระเสื้อเมืองพระทรงเมือง พระทั้งสองสถิตอยู่ ณ หอพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งหลับใหลมานานปีให้ตื่นขึ้นช่วยบ้านช่วยเมือง


6. พิธีกรรมพลิกธรณี กระทำที่ริมรั้วป่าช้าวัดชะเมาพลิกดินที่ชั่วร้ายสกปรก ฝังไว้เบื้องล่าง เอาดินดีขึ้นมาไว้เบื้องบนเพื่อบ้านเมืองจะมีความร่มเย็นเป็นสุขเจริญรุ่งเรืองต่อไปวันข้างหน้า


7. พิธีกรรมเทพชุมนุมตัดชัย กระทำที่วิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2529 เวลา 12.39 น. ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้นเจ็ดค่ำ เดือนยี่ ปี ฉลู นับเป็นพิธีกรรมสำคัญยิ่ง ดำเนินการตามแบบอย่างของชาวเมืองสิบสองนักษัตรโบราณจากคำบอกกล่าวของพญาหลวงเมือง การพิธีครั้งนั้นมีพระเทพวราภรณ์ (พระธรรมรัตโนภาสในปัจจุบัน) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พลตำราจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นประธานฝ่ายฆารวาส จุดมุ่งหมายจองพิธีกรรมนี้ นอกจากเพื่อสร้างสวัสดิมงคลแก่จังหวัดนครศรีธรรมราชจากการเจริญพระพุทธมนต์ และแสดงพระธรรมเทศนาของพระสงฆ์แล้ว เทวดารักษาบ้านรักษาเมืองยัวงมาชุมนุมเสกผ้ายันต์สิบสองนักษัตรจำนวน 3,000 ผืน เขียนผ้ายันต์จำนวน 108 ผืน และประกาศบอกกล่าวแก่ผู้คนให้ช่วยกันสร้างหลักเมือง

8. พิธีกรรมตอกหัวใจสมุทร เพื่อให้ดวงชะตาเมืองถูกบรรจุด้วยธาตุทั้งสี่ครบถ้วน การะทำ ณ สี่แยกคูขวางเมื่อวันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529  ตรงกับแรมสิบสองค่ำเดือนยี่ เวลาประมาณ 18.30 น. เศษ โดย นายเอนก สิประศาสน์ ผู้ว่าราชการตังหวัดสมัยนั้น เป็นประธานแทน ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ การที่เลือกบริเวณกลางสี่แยกคูขวางเป็นจุดตอกหัวใจสมุทร เพราะจุดดังกล่าวได้ศูนย์กับองค์พระบรมธาตุ ภูเขามหาชัย และได้ศูนย์กับทิศทั้งแปดตามตำราของชาวเมืองสิบสองนักษัตร

                              20133_tep.jpg

9. พิธีฝังหัวใจเมือง กระทำเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2529 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำเดือนสี่ ปี ฉลู เวลา 11.39 น. ณ จุดตอกหัวใจสมุทร ด้วยการขุดหลุมลึก 9 ศอก (ลึกจนถึงน้ำ) เจ้าพิธีอ่านโองการอุปกรณ์ พิธีกรรมฝังหัวใจเมือง ประกอบด้วยสิ่งของ 7 ชิ้น แต่ละชิ้นกว้าง 9 นิ้ว ยาว 9 นิ้ว หน้า 2 นิ้ว เขียนดวงชะตาเมือง หัวใจเมืองมีอยู่สามชิ้นที่ได้นำเอาโลหะมงคล ทองเงิน นาก ( สามกษัตริย์ ) ปดหน้าคั่นกลางระหว่างแผ่น หัวใจเมือง แผ่นไม้นี้องค์จตุครารามาเทพกรีดเลือดจุ่มเขียนคาถาอาคมหัวใจพ่อ หัวใจแม่ ทำจากไม้ตะเคียนทองกลึงเป็นรูปบัวตูม ยาวประมาณ 1  ศอก จำนวน 2 อัน ฝังลงในหลุมรวมกับแผ่นหัวใจเมือง ดินจากทุกตำบลทุกหมู่บ้านในเมืองสิบสองนักษัตร ที่ประชาชนนำมาใส่ลงในหลุม ด้วยวัตถุธาตุแทนธาตุสี่ ประกอบด้วย ถ่าน (แทนธาตุไฟ ) เกลือ (แทนธาตุน้ำ) ข้าวเปลือก (แทนธาตุลม) ทราย (แทนธาตุดิน) พญาไม้มงคล 9 ชนิด ได้แก่ ราชพฤกษ์ กันเกราสักทรงบาดาล พยุง ทองหลากหรือทองหลาง ไผ่สีสุก และขนุนทอง ผ้าสี ผืนละสี วางก้นหลุมเป็นลำดับแรก ทุกอย่างใส่ลงในหลุมทั้งหมด

10. พิธีกรรมปฏิมากรรม (แกะสลัก) ได้แกะสลักหลักเมืองด้วยไม้ตะเคียนทองทั้งต้น ณ บ้านพักผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดในสมัยนั้น


11. พิธีเบิกเนตรหลักเมือง กระทำกันต่อเนื่องถึง 3 วัน คือวันที่ 3-5 มีนาคม พ.ศ. 2530 วันที่ 3 มีนาคมอัญเขิญหลักเมืองที่แกะสลักเรียบร้อยแล้ว ไปประดิษฐานที่วิหารหลวง วัดพระมหาธาตุฯ หลังจากพระเถระเจริญพระพุทธมนต์ และเจ้าพิธีรำกระบี่โบราณถวายสักการะแล้ว ก็เคลื่อนขบวนแห่ไปตามถนนราชดำเนินไปยังตลาดท่าวัง แล้ววกกลับสู่สนามหน้าเมือง อัญเชิญหลักเมืองขึ้นสู่ที่ประดิษฐานชั่วคราว ให้ประชาชนสักการะ ขบวนแห่ในวันนั้นยิ่งใหญ่มาก มีขบวนช้าง ม้า ศิลปินพื้นบ้าน กลุ่มพลังมวลชลต่างๆ วงดุริยางค์ และประชาชนจากทั่วสารทิศขบวนยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ประชาชนคอยชมขบวนมืดฟ้ามัวดินเป็นประวัติการณ์
วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2530 เวลา 10.30 น. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมารับมอบหลักเมืองเป็นของทางราชการ
วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2530 ตอนค่ำมีพิธีสงฆ์ จากนั้นเจ้าพิธี คือ พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดชอ่านโองการเชิญเทวดา ต่อมาประธาน ( รมช. สัมพันธ์ ทองสมัคร) จุดเทียนชัย เจ้าพิธีทำพิธีเบิกเนตรหลักเมืองทั้งแปดทิศ อันเป็นการประจุติตวิญญาณของเทวดารักษาเมืองเข้าไปสิงสถิตภายในเสาหฃลักเมือง ให้สามารถรับรู้เหตุการณ์และคุ้มครองดูแลได้รอบทิศ จากนั้นมีการจุดพลุสักการะ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนร่วมปิดทองสักการะ เป็นเสร็จพิธี


12. พิธีการเจิมยอดชัยหลักเมือง พิธีกรรมสำคัญยิ่งและถือเป็นมหามงคลสูงสุด คือการเจิมยอกชัยหลักเมืองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายพิศาล มูลศาสตร์สาทร)  นำคณะอันประกอบด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นายอำนวย ไทยานนท์) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสัมพันธ์ ทองสมัคร) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (นายกำจร สถิรกุล) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นายอนันต์ อนันตกูล) วุฒิสมาชิก (นายศิริชัย บุลกุล) พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนผู้ร่วมจัดสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท นำยอดชัยหลักเมืองเพ่อทรงเจิม ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2530 ยอดชัยหลักเมืองที่ทรงเจิมในวันนั้น นอกจากของจังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว ยังมีหลักเมืองจังหวัดชัยนาทและจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย
นายสัมพันธ์ ทองสมัครได้บันทึกเหตุการณ์ วันนั้นไว้มีความตอนหนึ่งดังนี้
“......คราวนั้นคณะกรรมการสร้างหลักเมืองได้นำวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นตามแบบแผนโบราณจำนวน 13 ชิ้น พร้อมด้วยภาพถ่ายหลักเมืองน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายในครั้งนั้นด้วย
ผมเองเป็นกังวลใจมาก เพราะว่า ผู้ซึ่งเตรียมไว้ว่าต้องทำหน้าที่กราบบังคมทูลคือท่านขุนพันธรักษ์ราชเดชเจ้าพิธี โดยตรง แต่ก่อนหน้าจะถึงกำหนดเข้าเฝ้าฯท่านขุนพันธ์ฯได้ จังหวัดโดยท่านรองฯอำนวย ไทยานนท์ ได้ขอผมไปทำหน้าที่แทน ผมกังวลเพราะไม่ทราบเรื่องวัตถุมงคล 13 ชิ้นว่าเป็นอย่างไร
ท่านปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้อ่านคำกราบบังคมทูล และได้กล่าวถึงมงคลที่ได้สร้างพิธีกรรมสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราชด้วย เมื่อทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมยอมเสาหลักเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทรงมีรับสั่งให้ตามเสด็จฯ ไปยังบริเวณ ที่วางวัตถุมงคลที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ
ทรงเริ่มทอดพระเนตรตั้งแต่ชิ้นแรก เป็นภาพถ่ายเสาหลักเมืองนครฯ ทรงมีพระตาชกระแสรับสั่งว่า หลักเมืองกรุงเทพฯ คนนครฯ มาร่วมช่วยสร้างเหมือนกัน เพราะเขาเข้าใจเรื่องการสร้างหลักเมือง มีเทวดาเหาะรอบๆ ยอดเสา หลักเมือง

อยู่ 8 องค์ แต่หลักเมืองนครฯ ที่สร้างขึ้นครั้งนี้เทวดาไม่ได้เหาะ แต่แกะสลักไว้ที่ยอดเสาหลักเมือง ให้เฝ้าทิศทั้งแปด
จากนั้นได้ทอดพระเนตรวัตถุมงคลทุกชิ้นพร้อมกับทรงอธิบายให้ผมฟังถึงความเป็นมา และการใช้สอยเกี่ยวกับของแต่ละชิ้นได้อย่างลึกซึ้ง ประหนึ่งทรงอยู่ในเหตุการณ์ด้วย เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจใจพระปรีชาญาณยิ่งนัก
 
จนกระทั่งถึงคงชิ้นที่ 13 เป็นขี้ผึ้งที่บรรจุในภาชนะรูปคล้ายผอบทำด้วยถมท่อง ขนาดไม่โตนัก
ผมเองประหวั่นว่าจะมีรับสั่งถามเกรงว่าจะกราบบังคมทูลไม่ถูก เพราะไม่ทราบคำราชาศัพท์ของคำว่า “ขี้ผึ้ง” แล้วก็ทรงมีพระกระแสรับสั่งถาม พร้อมทรงชี้ไปที่ผอบว่า “นี่อะไร” ผมกราบทูลว่า “ เป็นถมทองศิลปะดั้งเดิมของชาวนครศรีธรรมราช” ทรงมีพระราชกระแสว่า “ ถมทองของเมืองนครฯ นี่เรารู้จักเราใช้อยู่ข้างในเป็นอะไร” ผมกราบบังคมทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบคำราชาศัพท์แต่ชาวบ้านเรียกว่า ขี้ผึ้ง พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “ขี้ผึ้ง สมัยโบราณคนเมืองนครหรือชาวศรีวิชัยเมื่อจะไปเจรจาเรื่องสำคัญกับใครจะใช้สีผึ้งสีริมฝีปากแล้วไปเจรจา”
นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ได้เป็นที่ประจักษ์ว่า ทรงมีพระปรีชาญาณรอบรู้จริง เพราะจากเอกสารที่ฝ่ายพิธีกรรมสร้างหลักเมืองทำขึ้น ก็ได้กล่าวถึงเรื่องขี้ผึ้งในลักษณะตามที่ทรงมีพระกระแสรับสั่งทุกประการ...”

              20133_1_1113972490.jpg

13. พิธีแห่ยอดชัยหลักเมือง การะทำวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 เป็นการต้อนรับยอดชัยหลักเมืองซึ่งคณะโดยการนำของรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นายอำนวย ไทยานนท์) นำมาจากกรุงเทพมหานคร โดยแห่จากสนามบินกองทัพภาคที่ 4 มายังสนามหน้าเมือง มีขบวนช้างศึก ม้าศึกและประชาชนจำนวนมาก


14. พิธีอัญเชิญหลักเมืองขึ้นสู่ศาลถาวร โดยผู้ว่าราชการจังหวัด (นายนิพนธ์ บุญญภัทโร) เป็นประธาน


15. พิธีสวมยอดชัยหลักเมือง เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2531 โดยพลเอกสุจินดาคราประยูร (รองบัญชาการทหารบก ตำแหน่งในสมัยนั้น) เป็นประธาน


16. พิธีเทท่องปลียอดศาลหลักเมืองและศาลบริวาร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2541 โดยมีฯพณฯ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี

 ขอขอบคุณบทความจากเว็บไซด์ www.ramthep.com


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที