คนที่โดนโกงจากการนำเข้าสินค้าจากจีน เป็นเคสที่เกิดขึ้นให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ แม้จะไม่มากเท่าแต่ก่อนก็ตาม ซึ่งตอนที่รู้ว่าถูกโกงนั้น ก็มักจะเป็นตอนที่ได้รับหมายเลข Tracking No. และ Website สำหรับนำมาใช้ติดตามสินค้าจากมิจฉาชีพ
นอกจากนี้ มิจฉาชีพยังสามารถหาเรื่องหลอกให้คนที่นำเข้าสินค้าจากจีน โอนเงินไปให้อีกรอบได้ เพื่อจ่ายค่าภาษีที่ด่านต่างประเทศ ดังนั้นแล้ว การป้องกันที่ดีที่สุด ก็ต้องตรวจสอบให้รอบคอบอยู่เสมอ ก่อนตกลงปลงใจนำเข้าสินค้ามาภายในราชอาณาจักรไทย
ผู้นำเข้าสินค้าจากจีนต้องตรวจสอบอีเมล์ก่อนอันดับแรก
ส่วนมากที่ผู้นำเข้าสินค้าจากจีนมักจะหลงกลพวกมิจฉาชีพ ก็เพราะพวกนี้จะใช้นามสกุลเดียวกันกับเว็บไซต์ของตน เช่น www.123 เมล์ก็จะเป็น xxx@123 หากไม่ใช่ก็ต้องตรวจสอบอีกที โดยให้พิมพ์ชื่อลงใน Google จากนั้น ถ้าเป็นบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือจะปรากฏชื่อให้เห็นจากการค้านหา หรือขึ้นอยู่ในหน้าแรก ๆ และมีแผนที่ตั้งระบุเอาไว้ด้วย ถ้าปราศจากสิ่งเหล่านี้ ก็อาจแปลได้ว่าเป็นบริษัทเล็ก ๆ แต่ก็ไม่ค่อยมีความน่าเชื่อถือเท่าไหร่ ทางที่ดีคือต้องตรวจสอบด้วยวิธีอื่น ๆ อีก
วิธีตรวจสอบอื่น ๆ ก่อนนำเข้าสินค้าจากจีน ป้องกันถูกโกง
1.ได้รับข้อเสนอการหลบเลี่ยงภาษีให้ - ปัญหาใหญ่สุดของผู้ที่ต้องการนำเข้าสินค้าจากจีนคือ ต้องการลดต้นทุนเยอะ ๆ ยิ่งลดได้มากยิ่งดี เพราะจะได้กำไรมากตาม เมื่อเจอข้อเสนอลดราคาด้วยการโอนค่าใช้จ่ายตรงไปยังบุคคลธรรมดาแล้ว จะช่วยลดค่าภาษีและค่าอื่น ๆ ได้
หากคนที่นำเข้าสินค้าจากจีนได้รับข้อเสนอที่ล่อตาล้อใจแบบนี้มา ก็จะเริ่มเกิดความลังเลแล้ว แต่ก็ขอให้หักห้ามใจไว้ เพราะไม่สมควรอย่างยิ่ง ซึ่งการชำระเงินที่ดีควรจะมีระบบรักษาความปลอดภัยรองรับ โดยเฉพาะถ้าเป็นการค้าต่างประเทศก็ยิ่งควรจะหาทางรักษาเงินทุนไว้ให้ดี การจะไปตามถึงที่มันยากมาก
2.นำเข้าสินค้าจากจีนได้ปกติ แต่ไม่สามารถเลือกการขนส่งได้ – สิ่งนี้จะระบุว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบการขนส่งตั่งแต่ขั้นตอนแรก ยันขั้นตอนสุดท้าย นี่จึงทำให้การใช้ Ex-work หรือ FOB ช่วยให้การตรวจสอบผู้ขายทำได้ ซึ่งจัดเป็นสิ่งที่บรรดามิจฉาชีพจะไม่ยอมให้ผู้นำเข้าทำเด็ดขาด เพราะเมื่อใช้ Ex-work หรือ FOB แล้ว ผู้ขนส่งจะต้องติดต่อรับสินค้ากับผู้ส่งออก หากไม่มีการส่งสินค้าก็แปลว่าโดนหลอกแล้ว นี่จึงเป็นวิธีการตรวจสอบง่าย ๆ แต่ทรงประสิทธิภาพอย่างมาก
3.ใบเซอร์ฯสิ่งสุดท้ายที่คำนำเข้าสินค้าจากจีนต้องตรวจให้ดี - เป็นเอกสารที่ให้โดยราชการ หรือองค์กรขนาดใหญ่ หากได้มาก็เอาไปตรวจสอบอย่าพึ่งเชื่อ วิธีตรวจสอบคือ ถ้าเอกสารแสดงชื่อบริษัทไม่ตรงกัน เช่น ใบเซอร์ฯ เป็นชื่อบริษัท ABC แต่หน้าเวปไซต์เป็น DEF ผู้นำเข้าก็ควรตรวจสอบก่อนว่าเป็นเว็บไซต์ปลอมหรือไม่.
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที