Wanute

ผู้เขียน : Wanute

อัพเดท: 25 พ.ย. 2020 19.04 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1555 ครั้ง

สำหรับธุรกิจหรือโรงงานที่ต้องมีการจัดเก็บสินค้าเอาไว้ทั้งวัตถุดิบเพื่อใช้ผลิต หรือสต็อกสินค้าเพื่อรอการออกจำหน่าย ก็จำเป็นต้องรู้เทคนิคในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการจัดเก็บสินค้าภายในคลังของตนเอง


6 เทคนิค เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บสินค้าในคลัง

คลังสินค้าบางนา

สำหรับธุรกิจหรือโรงงานที่ต้องมีการจัดเก็บสินค้าเอาไว้ทั้งวัตถุดิบเพื่อใช้ผลิต หรือสต็อกสินค้าเพื่อรอการออกจำหน่าย ก็จำเป็นต้องรู้เทคนิคในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการจัดเก็บสินค้าภายในคลังของตนเองด้วย เพราะไม่ว่าจะเป็น คลังสินค้าบางนา คลังสินค้าชลบุรี หากไม่มีระบบจัดการอย่างถูกต้องย่อมส่งผลเสียหายกับธุรกิจในระดับหนึ่ง แม้มองไม่เห็นเป็นตัวเงินชัดเจน แต่คงไม่ใช่เรื่องดีแน่หากตรงนี้คือข้อเสีย ดังนั้น 6 เทคนิคที่กำลังจะแนะนำรับรองว่าช่วยให้คลังสินค้าของธุรกิจมีการจัดเก็บที่ดีขึ้นแน่นอน

1. แยกประเภทและกลุ่มสินค้าให้ชัดเจน

แม้ว่าธุรกิจของคุณอาจไม่ได้มีประเภทของสินค้าที่จัดเก็บอะไรมากนัก แต่ก็ควรแยกประเภทและกลุ่มต่าง ๆ ออกให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกเมื่อหยิบใช้งาน เช่น กลุ่มของสี, สารเคมีอันตราย, น้ำยาต่าง ๆ, กระดาษ ฯลฯ อีกทั้งยังสร้างความปลอดภัยได้อีกด้วย

2. เช็คลิสต์สินค้าเข้า-ออกเสมอ

ไม่ว่ามีสินค้าตัวใดเข้า-ออกจากคลัง ต้องมีการจดบันทึกเพื่อเช็คจำนวนอยู่เสมอ ซึ่งวิธีนี้ส่งผลต่อธุรกิจชัดเจนมาก ๆ หากไม่มีการเช็คจำนวน ระบุจำนวนใด ๆ ไว้ ในกรณีที่วัตถุดิบบางชิ้นไม่เพียงพอจนทำให้เครื่องจักรต้องหยุดเดิน นั่นคือมูลค่าของความเสียหายที่ประเมินไม่ได้ หรือไม่มีสินค้าส่งให้ลูกค้าเท่ากับเสียรายได้ไปเฉย ๆ

3. ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

การจัดระเบียบสินค้าให้ดีจะช่วยเพิ่มพื้นที่ให้สามารถใช้งานได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจที่ไม่ต้องขยายขนาดคลังสินค้าให้ใหญ่โตจนเกินไป เพราะพื้นที่ทุกตารางล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้น เพียงแค่รู้ว่าควรจัดการอย่างไรให้เหมาะสม

4. การป้องกันสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหาย

เรื่องความปลอดภัยของสินค้าในคลังก็เป็นอีกจุดสำคัญที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด ต้องมีวิธีป้องกันสินค้าเพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายให้มากที่สุด เช่น สินค้าติดไฟง่ายไม่ควรอยู่ใกล้เคียงกับสินค้าที่มักก่อให้เกิดประกายไฟ, เช็คจุดต่าง ๆ ของคลังสินค้าว่ามีความมิดชิด ไม่เกิดรอยรั่วที่ฝนอาจสาดเข้ามาจนทำให้สินค้าบางชนิดเสียหาย เป็นต้น

5. มีการตรวจนับสินค้าตามกำหนดเสมอ

เข้าใจดีว่าสินค้าที่ต้องเข้า-ออกตลอดเวลาอาจเกิดข้อผิดพลาดเรื่องจำนวนขึ้นมาบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือสินค้าบางชนิดอาจเสียหายใช้งานไม่ได้ จึงควรมีกำหนดในการตรวจนับสินค้าเพื่อระบุข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดือนละ 1 ครั้ง, 3 เดือนครั้ง เป็นต้น

6. ไม่ควรให้คนนอกเข้ามายุ่งเกี่ยว

คนที่ดูแลด้านคลังสินค้าหากไม่มีเหตุผลจำเป็น ไม่ควรให้คนนอกเข้ามายุ่งเกี่ยวภายในคลังเป็นอันขาด เพราะอาจก่อความเสียหายหรือทำให้เกิดความผิดพลาดบางอย่างจนสินค้าไม่สามารถใช้งานได้ตามที่ควรเป็น ซึงส่งผลเสียต่อธุรกิจอย่างยิ่ง

ทั้ง 6 เทคนิคที่กล่าวมานี้เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บสินค้าในคลังได้มากขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน ธุรกิจไหนยังมีความผิดพลาดอยู่อย่าลืมนำไปใช้กัน

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก warehousechod.com

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที