เมตตา

ผู้เขียน : เมตตา

อัพเดท: 19 พ.ย. 2008 07.53 น. บทความนี้มีผู้ชม: 52545 ครั้ง

สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา มีการเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย โดยที่เราไม่รู้ตัว เราจะปล่อยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนถึงจุดวิกฤติที่เรารับไม่ได้หรือจะมีวิธีใดบางที่จะป้องกันไม่ให้เกิดจุดวิกฤตินั้น


ทะเลทรายหรือ….จะเกิดในประเทศไทย

วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี องค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันน้ำโลก เพื่อกระตุ้นให้ทุกประเทศตระหนักถึงความสำคัญของน้ำ

 

ประเทศไนจีเรีย เป็นประเทศที่ขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมากและเห็นน้ำเป็นสมบัติล้ำค้า

 

ประเทศอียิปต์ซึ่งมีพื้นที่อยู่อาศัยเพียง 10 % ของพื้นที่ประเทศ  และพื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นทะเลทราย  ขณะนี้กำลังทุ่มงบประมาณ 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเพื่อขุดอ่างเก็บกักน้ำขนาดใหญ่  สำหรับเพิ่มพื้นที่อยู่อาศัยให้มากขึ้นเป็น 25 % ของพื้นที่ประเทศ  และใช้ระบบเกษตรน้ำหยดเพื่อการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า

 

ประเทศไทยโดยเฉพาะพื้นที่แถบตะวันออกบางจังหวัด  กำลังทำลายแหล่งน้ำตามธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว  ด้วยการปลูกพืช 2 ขนิด  คือ ยูคาลิปตัส  และ มันสำปะหลัง

 

การปลูกต้นยูคาเพื่อป้อนโรงงานผลิตเยื่อกระดาษกำลังเป็นโรตระบาดไปทั่ว  เนื่องจากเห็นว่ารายได้ดี  ไม่ต้องดูแลรักษา  และมีผู้รับซื้อแน่นอน

ผลชองการปลูกต้นไม้ชนิดนี้  ยังไม่งานวิจัยอะไรชัดเจนว่าจะเป็นเหตุให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ในอนาคต  แต่โดยธรรมชาติของต้นยูคาจะเป็นไม้ยืนต้นสูง  และมีรากชอนไชหาน้ำได้เก่ง  ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ต้นไม้ชนิดนี้จะสามารถอยู่ในสภาวะอากาศที่ร้อนจัด  และแห้งแล้งได้ 

ใบของต้นยูคาจะระเหยน้ำออกไป  และรากจะดูดน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินจำนวนมากมายขึ้นมาเรื่อย ๆ  ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านในพื้นที่ตั้งข้อสังเกตว่า แหล่งน้ำที่ขุดสระไว้ ซึ่งเคยมีตาน้ำอยู่ตลอดปี ปัจจุบันจะเหือดแห้งไปในช่วงหน้าแล้ง และต้องพึ่งพาการขุดบ่อน้ำบาดาลขึ้นมาใช้แทน 

 

ในขณะเดียวกันยังมีการปลูกมันสำปะหลัง  เพื่อป้อนโรงงานผลิตแอลกอฮอล์ที่นำไปใช้ผลิตเป็นกาซโซฮอล์  เพราะในขณะนี้มันสำปะหลังมีราคาดีกว่าสมัยก่อนที่นำไปใช้ทำอาหารสัตว์  จึงมีการปลูกอยู่ทั่วไปในพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย  

มันสำปะหลังเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกง่าย  ดูแลง่าย  เมื่อมีฝนแรกของปีตกลงแม้นเพียงเล็กน้อย  เกษตรกรจะนำกิ่งพันธุ์มาปักทิ้งไว้เป็นแถว ๆ  และรอให้กิ่งพันธุ์  แตกตาแตกรากเจริญเติบโตด้วยตนเอง  โดยไม่ต้องดูแลรักษาแต่อย่างไร  และสามารถขุดขายได้ในเวลา 1 ปี แถมยังมีผู้มารับซื้อถึงที

การปลูกมันสำปะหลังจะทำให้ดินเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว  เพราะหัวของต้นมันจะมีความสามารถดูดซับแร่ธาตุในดินเพื่อสร้างอาหารสะสมไว้ในหัวใต้ดิน  ดังนั้นการปลูกต้นมันสำปะหลังซ้ำ ๆ กันเป็นเวลาหลายปีจะทำให้ดินเสื่อมสภาพและขาดแร่ธาตุในดิน  และเกษตรกรเหล่านี้ก็ไม่กล้าเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น เพราะกลัวความไม่แน่นอนในราคา ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ปัญหาแหล่งน้ำที่ต้องใช้ และการหาผู้รับซื้อ

 

สำหรับแนวทางแก้ไข มีอยู่หลายแนวทางขึ้นอยู่ว่าจะมีใครสามารถนำมาใช้ให้เกิดผลได้

•            บางประเทศมีนโยบายลดภาษีให้ ถ้าที่อยู่อาศัยมีการปลูกต้นไม้

•            การไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ

•            การรักษาป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำตามธรรมชาติ

•            การรณรงค์ปลูกป่า

 

ตัวอย่างที่น่าสนใจที่ได้พบเห็นมา 

•            ในพื้นที่ที่มีการปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันหลายปี  มีเกษตรกรบางรายซื้อส่าเหล้ามาราดคลุมดิน  เพื่อเพิ่มแร่ธาตุของดิน ซึ่งนับเป็นการแก้ไขปัญหาที่ดี  เพราะโรงงานเหล้าก็ไม่ต้องทิ้งน้ำเสียลงในแหล่งน้ำ  และ ยังสามารถใช้เป็นปุ๋ยให้เกษตรกรได้ด้วย

•            มีโรงแรมขนาดใหญ่บางรายนำน้ำเสียจากห้องสุขามาใช้เป็นน้ำสำหรับรดน้ำสนามหญ้าในบริเวณที่มีแดดจัด ๆ บางส่วนแล้วใช้น้ำดีรดซ้ำในบางช่วงเวลา เป็นการนำน้ำกลับมาใช้และเพิ่มปุ๋ยตามธรรมชาติอยู่บ้าง 

อย่างไรก็ตาม  อยากขอแสดงความเป็นห่วงใยในเรื่องนี้  เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่สนใจแต่รายได้ที่จะได้รับ  ไม่ได้เห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่พวกเขามีอยู่ใต้ดิน  มันยังเป็นเรื่องที่มองไม่เห็นเป็นรูปธรรม  และกว่าจะเห็นผลของการกระทำที่ชัดเจน  วันเวลาคงล่วงเลยไปถึง  รุ่นหลาน  รุ่นเหลน  แล้ว 

 

หรือว่าบางส่วนของประเทศไทยจะถูกเปลี่ยนเป็นทะเลทรายเข้าสักวัน   ในขณะที่ประเทศอื่นกำลังพยายามเปลี่ยนทะเลทรายเป็นทะเลสาบ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที