editor

ผู้เขียน : editor

อัพเดท: 28 ก.ย. 2006 15.58 น. บทความนี้มีผู้ชม: 15838 ครั้ง

“กว่าจะรู้ตัว ก็เกือบหมดตัวเสียแล้ว”

ไม่น่าเชื่อว่าสถานประกอบการขนาดย่อม หรือ SMEsในบ้านเราส่วนใหญ่ จะรู้ผลประกอบการของกิจการของตนเองปีละครั้ง กว่าจะรู้ตัวว่าผลประกอบการปีที่แล้วว่ากำไรหรือขาดทุนไปเท่าไหร่ ก็ผ่านไปเกือบครึ่งปี รู้ตอนที่ผู้ตรวจสอบบัญชีเอางบการเงินมาให้เซ็น ก่อนนำส่งสรรพากร “เอ๊ะ ทั้งๆ ที่ปีที่แล้วก็ยอดขายเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่ผลิตแทบไม่ทันลูกค้า ทั้งๆ ที่ทำโอทีเกือบทุกวัน น่าจะได้กำไรนะ แต่ทำไมขาดทุนไปได้”


ตอนที่ 1

การวินิจฉัย ตรงกับคำว่า “Shindan” ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นทำมานานกว่า 50 ปีแล้ว

วันนี้ขอพูดถึงการวินิจฉัย ว่าช่วยเพิ่มผลกำไรให้กับบริษัทได้อย่างไร หรือพูดอีกนัยหนึ่ง คือ เป็นการเก็บเงินเก็บทองที่เราทำหล่นทำทิ้งในบริษัทอย่างไร

เริ่มต้นจากการวินิจฉัยด้านบัญชี-การเงิน จากการให้บริการวินิจฉัยพบว่ากว่า 90% สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมจะจ้างบริษัทภายนอกเป็นผู้ทำบัญชีให้ เพื่อจัดส่งให้กับกรมสรรพากรเท่านั้น ส่วนบัญชีภายใน ไม่มีการนำข้อมูลบัญชี-การเงิน มาใช้ในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุปัญหาการรั่วไหลของเงินในบริษัท ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ประกอบการในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในบ้านเรา ไม่รู้สถานะที่แท้จริงของบริษัทฯ

และในวันพรุ่งนี้ เราจะมาแนะนำว่า ข้อมูลบัญชี-การเงินนั้น สามารถให้ประโยชน์อะไรกับเราได้บ้าง


บทความโดย :
คุณวารินทร์  ธีรวัฒนเศรษฐ์
นักวินิจฉัย
ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
โทร. 0-2717-3000 ต่อ 628
E-mail: warin@tpa.or.th
Web Site : http://www.tpa.or.th/shindan/finance_account.php



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที