ข้อดีของสารทำความเย็นแต่ละประเภท
สารทำความเย็น หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “น้ำยาแอร์” ที่เป็นสารเคมีที่อยู่ภายในแอร์ ซึ่งมีไว้ใช้เพื่อที่จะทำการสร้างความเย็นให้กับแอร์และเครื่องทำความเย็น โดยในปัจจุบันในประเทศไทยสามารถที่จะยาแอร์ปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยจะมีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ R22, R410A และ R32 ซึ่งน้ำยาแอร์แต่ละชนิดนั้นก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป
โดยการเลือกใช้จะต้องคำนึงถึงค่า ODP (ดัชนีวัดการทำลายโอโซน), GWP (ดัชนีชี้วัดผลกระทบภาวะโลกร้อน), Cooling Capacity (ประสิทธิภาพการทำความเย็น) ซึ่งแต่ละค่านั้นย่อมที่จะส่งผลต่อมีผลต่อการทำความเย็นและสภาพแวดล้อม ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างนั้น เราไปดูพร้อมๆกันเลยดีกว่า
-
สารทำความเย็น R22 เชื่อว่าสำหรับใครที่อยู่กับเครื่องทำความเย็นจะคุ้นเคยกับสารทำความเย็นนั้นเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นน้ำยารุ่นที่เก่าที่สุด และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยนิยมนำมาใช้กับแอร์ตามบ้านเรือนทั่วไป ซึ่งมีค่า ODP = 0.05 ค่า GWP = 1810 และมีค่า Cooling Capacity = 100 ซึ่งข้อดีของสารทำความเย็น R22 คือ จะไม่มีสีและไม่มีกลิ่น จึงทำให้ไม่เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ที่สำคัญสารนี้จัดอยู่ในกลุ่มของ A1 คือ เป็นสารที่ไม่ติดไฟ จึงมีความปลอดภัยในเรื่องของการใช้งาน ส่วนข้อเสียของสารทำความเย็น R22 คือ มีค่า ODP สูง ซึ่งค่านี้สูงเท่าไรจะส่งผลทำลายชั้นโอโซนสูง ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก และเมื่อไรก็ตามที่ R22 เกิดการรั่วออกมาสู่อากาศในปริมาณมากจะส่งผลอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
-
สารทำความเย็น R410A เป็นสารที่เป็นส่วนประกอบของ fluorocarbon คือ สามารถทำให้เกิดความเย็นได้ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อที่จะใช้ทดแทนสารทำความเย็นชนิด R22 ที่มีราคาในท้องตลาดสูง โดยมีค่า ODP = 0 มีค่า GWP = 2090 และมีค่า Cooling Capacity = 141 ข้อดีของสารทำความเย็น R410A คือ ไม่สามารถที่จะติดไฟ ทำให้ปลอดภัยในเรื่องของการใช้งานและไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ แต่ข้อเสียของสารชนิดนี้คือ มีค่า GWP สูง นั้นหมายความว่า สิ่งที่สารตัวนี้ปล่อยออกมานั้นจะเป็นตัวทำลายชั้นโอโซนและการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ยิ่งในกรณีที่มีการรั่วในระบบเครื่องปรับอากาศ R-410A ต้องถ่ายทิ้งให้เป็นศูนย์ แล้วจึงเติมเข้าไปใหม่อีกรอบ ไม่สามารถเติมเพิ่มจากเดิมเข้าไปได้
-
สารทำความเย็น R32 เป็นสารทำความเย็นที่มีการคิดค้นขึ้นมาใหม่ล่าสุด ที่ผลิตขึ้นมาทดแทนทั้งสองรุ่น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะช่วยในเรื่องของการ ประหยัดพลังงาน และช่วยลดการปล่อยสาร CFC ที่เป็นตัวทำลายชั้นบรรยากาศ R32 มีแรงดันเท่ากับ R410A แต่สูงกว่า R22 ประมาณ 1.6 เท่า มีค่า ODP = 0 มีค่า GWP = 675 และมีค่า Cooling Capacity = 160 สำหรับของดีของ R32 คือ ใช้สารทำความเย็นน้อยกว่าสารก่อนๆ และมีจุดเดือดของน้ำยาที่ไม่สูง ส่งผลทำให้คอมเพลสเซอร์ทำงานเบาสุด ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการทำความเย็นดีและเร็วกว่า R22 และ R410A ที่สำคัญยังช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงานมากที่สุดและ ราคาถูก เมื่อทำการเทียบกับทุ้งสองรุ่น ส่วนข้อเสียของสารทำความเย็น R32 คือ เป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มของ A2 ที่มีคุณสมบัติในเรื่องของการติดไฟได้เล็กน้อย ต่างจากสารชนิดอื่นที่อยู่ในกลุ่ม A1 แต่การที่สาร R32 จะติดไฟได้นั้น ก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยในเรื่องของความเข้มข้นของน้ำยาพอสมควร หากน้ำยามีความเข้มข้นน้อยก็จะติดไฟได้น้อย หากเข้มข้นมากก็จะติดไฟได้มาก จึงให้นำมาใช้ในแอร์ขนาดเล็กที่ต่ำกว่า 24000 บีทียู
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทำให้เราเห็นว่าในปัจจุบันนี้หลายบริษัทหันและภาครัฐรณรงค์ให้หันมาใช้ น้ำยาแอร์ชนิด R32 มากขึ้น และพยายามที่จะให้เลิกใช้น้ำยา R22 ในอนาคต เนื่องจากตัวน้ำยาเองนั้นส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน ส่วนใครที่กำลังมองหาบริษัทน้ำยาที่จำหน่ายสารทำความเย็นอยู่นั้น แนะนำเลยว่าต้องที่ AMPROAIR เท่านั้น เพราะที่นี้มีสารทำความเย็นทุกรูปแบบให้เลือกนำไปใช้ได้เลย
โดยสามารถที่จะเข้าไปดูผลิตภัณฑ์ได้ที่ https://www.amproair.com/ หรือใครที่อยากที่จะติดต่อสอบถามก็สามารถที่จะติดต่อได้ผ่านทางช่องทางต่างๆ ดังนี้ Tel: 0952535298, Facebook: amproair, Line ID: amproair, Email: amproair@gmail.com
นอกจากนี้แล้วหากเป็นลูกค้าประจำยังจะได้รับสิทธิพิเศษมากมาย ทั้งนี้รวมไปถึงส่วนลดในเรื่องของราคาที่จะได้อีกด้วย ที่สำคัญไม่ต้องกังวลในเรื่องมาตรฐานสินค้า เพราะที่ AMPROAIR เป็นบริษัทที่จำหน่ายสารทำความเย็นมานานกว่า 20 ปี
ขอบคุณข้อมูลจาก: www.amproair.com
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : ข้อดีของสารทำความเย็นแต่ละประเภท