lWaeASaetidho

ผู้เขียน : lWaeASaetidho

อัพเดท: 01 ก.ค. 2024 02.12 น. บทความนี้มีผู้ชม: 56019 ครั้ง

บริการปรึกษาทนายความ เบื้องต้นฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ฝากข้อความได้ 24 ชั่วโมงตลอดเวลา line ออนไลน์ ปรึกษากฎหมาย คดีแพ่ง,คดีอาญา,คดีเช่าซื้อ,คดีเช่าทรัพย์,คดีผิดสัญญาซื้อขาย,คดีเช็ค,คดียักยอกทรัพย์,คดีฉ้อโกง,คดีลักทรัพย์,คดีรับของโจร,คดีผิดสัญญาจ้างทำของ,ยื่นคำร้องต่อศาล,สืบทรัพย์,บังคับคดี,อุทธรณ์,ฏีกา


ใบแต่งทนาย

 ในเรื่องของใบแต่งทนาย เมื่อท่านเป็นโจทก์ ผู้เสียหายต้องการจะดำเนินการฟ้องคดี ไม่ว่าคดีแพ่งหรือคดีอาญาก็ตาม หากท่านไม่สามารถดำเนินการเองได้ท่านมีความจำเป็นจะต้องแต่งตั้งทนายความเข้ามาดูแลในคดี โดยใช้ใบแต่งทนาย

หรือท่านถูกฟ้องคดีเป็นจำเลย ไม่ว่าเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา หากคดีนั้นท่านไม่สามารถดำเนินการเองได้ ท่านก็มีความจำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งทนายความเข้ามาช่วยดำเนินการ



เมื่อท่านแต่งทนายความเรียบร้อยแล้ว ทนายจะมีอำนาจในการดำเนินการสิ่งต่างๆ เช่นกรณีเป็นโจทก์ก็ดำเนินการฟ้องคดี หรือกรณีเป็นจำเลยก็จะมีการ ยื่นคำให้การสารภาพหรือปฏิเสธ ให้กับจำเลย และทนายมีอำนาจในการเจรจาต่อรองในคดีแพ่งหรือในคดีอาญาแทนต่อความได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการแต่งทนาย ตัวทนายความเหมือนเป็นคู่ความคนหนึ่ง เป็นตัวแทนของตัวความ (โจทก์ จำเลย)
 

 

ทนายอาสา คือ?

Click ปรึกษาทนาย ออนไลน์

 


ก่อนจะมีการแต่งทนาย ควรจะต้องมีการสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี ท่านควรบอกข้อเท็จจริงตามจริง พยานหลักฐานอะไรที่มีหรือไม่มี คุยกันให้เคลียร์ เพราะมันมีผลต่อคดี


และที่สำคัญ การแต่งทนายความ ทนายความเหมือนเป็นตัวแทนในการดำเนินการหลายอย่างแทนท่าน ควรหาคนที่คุยกันรู้เรื่องและมีจริตตรงกัน จะได้ไม่ต้องไปทะเลาะกัน ควรเป็นคนที่มีความเห็นหลายๆอย่างไปในทางเดียวกัน


 

เรื่องหลายเรื่องบางครั้งมันมีความเห็นส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แม้ว่าจะเป็นเรื่องของกฎหมายก็ตาม อาจจะมีหลายทางเลือก หลายทางแยก ถ้าความเห็นไม่ลงรอยกันแล้ว แม้ว่าจะเซ็นใบแต่งทนายไปเรียบร้อยก็ไม่มีประโยชน์ เพราะสุดท้ายก็ทะเลาะกัน

 

ดังนั้นเรื่องราวต่างๆ ก่อนที่จะตกลง ร่วมงานไปด้วยกันจนกว่าคดีจะสิ้นสุด ก่อนที่จะเซ็นใบแต่งทนายความ จึงควรจะต้องคุยกันให้เคลียร์ดังที่กล่าวไว้

 

ปกติ อำนาจในใบแต่งทนาย มักจะเขียนตามนี้

"เป็นทนายความของข้าพเจ้าในคดีนี้ และให้มีอำนาจ ดำเนินการกระบวนการพิจารณาใดๆ ไปใน ทางจำหน่ายสิทธิของข้าพเจ้าได้ด้วย  เช่น  การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง  การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิ   หรือการใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่"


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที