เป็นการฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุการณ์บางอย่างคือต้องมีเหตุแห่งการหย่า จะเป็นฝ่ายชายฟ้องหย่าฝ่ายหญิง หรือฝ่ายหญิงฟ้องหย่าฝ่ายชายก็ได้ แต่ต้องมีเหตุผลตามที่ระบุไว้ตามกฎหมาย จึงจะอาศัยเหตุนั้นมาทำการฟ้องหย่าได้โดยการ ยื่นฟ้องคดีต่อศาล
หากไม่มีเหตุแห่งการฟ้องหย่า ไม่สามารถฟ้องหย่าฝ่ายเดียวได้ คู่สามีภรรยาก็ต้องทนอยู่กันต่อไป แต่ในชีวิตความเป็นจริงถ้ายังพอคุยกันได้ ทั้งสองฝ่ายตกลงมาเซ็นใบหย่ากันทั้งคู่ มันจะเป็นการดีกับทั้งสองฝ่ายเพราะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องบาดหมางใจกันให้มากกว่านี้
อีกทั้งในการฟ้องหย่า ซึ่งฟ้องหย่าฝ่ายเดียวโดยอาศัยเหตุแห่งการหย่า ตอนสืบพยานก็ต้องมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่างๆ เช่น ผู้ชายไปมีเมียน้อย ผู้หญิงไปมีชู้ ซึ่งก็ต้องมีพยานหลักฐานต่างๆซึ่งเขาเก็บมา ซึ่งข้อมูลนี้ยิ่งเผยแพร่ออกไปก็ยิ่งไม่เกิดผลดีกับทางฝ่ายคู่สามีภรรยา หรือถ้ามีบุตรธิดาด้วยก็จะรู้สึกไม่ดีกันอีก
ยังไงแล้วถ้าคู่สามีภรรยามีบุตรธิดาแล้ว ก็คงต้องมีภาระหน้าที่ในฐานะพ่อและแม่ ที่จะต้องดูแลบุตรธิดาของตนเองต่อไป การที่จะมาทะเลาะกันเรื่องตรงนี้ซึ่งบางครั้งก็เกิดจากทิฐิของแต่ละฝ่าย ไม่เป็นผลดีเลยแต่อย่างใด เท่าที่เห็นมานะ
การฟ้องหย่าฝ่ายเดียว ซึ่งอาศัยเหตุแห่งการหย่า ตามประมวลแพ่งและกฎหมายพาณิชย์มาตรา 1516 จึงต้องเก็บข้อมูลก่อนว่ามันเข้าเหตุแห่งการหย่าหรือไม่ ซึ่งก็เป็นเรื่องส่วนตัวนั่นแหละของแต่ละฝ่าย
การวิเคราะห์เหตุหย่า แต่ละประการต้องดูข้อเท็จจริงอย่างละเอียด ชัดแจ้งและครบถ้วน เพื่อนำข้อมูลมาฟ้องต่อไป
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที