Hailey

ผู้เขียน : Hailey

อัพเดท: 15 ต.ค. 2020 03.39 น. บทความนี้มีผู้ชม: 842 ครั้ง

สำหรับคนที่ชอบบริจาค ไม่ว่าจะบริจาคให้เด็กแรกเกิดที่หลายคนนิยมกัน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคให้แก่ผู้ประสบภัย หรือโครงการอะไรก็ตาม หากต้องการที่จะลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยนั้นต้องเช็กให้ดีว่าทำตามขั้นตอนถูกต้องหรือเปล่า ซึ่งหลายคนก็พลาดในบางจุด ทำให้ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ เลยเสียประโยชน์ที่ควรได้รับไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น ถ้าไม่อยากพลาดแล้วบ่นว่า ?รู้อย่างนี้?? ต้องอ่านข้อแนะนำต่อไปนี้ให้ดี


ทิปส์ดีๆ! บริจาคเด็กแรกเกิดอย่างไรให้ลดหย่อนภาษีได้ ไม่พลาด

 

 

สำหรับคนที่ชอบบริจาค ไม่ว่าจะบริจาคให้เด็กแรกเกิดที่หลายคนนิยมกัน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคให้แก่ผู้ประสบภัย หรือโครงการอะไรก็ตาม หากต้องการที่จะลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยนั้นต้องเช็กให้ดีว่าทำตามขั้นตอนถูกต้องหรือเปล่า ซึ่งหลายคนก็พลาดในบางจุด ทำให้ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ เลยเสียประโยชน์ที่ควรได้รับไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น ถ้าไม่อยากพลาดแล้วบ่นว่า “รู้อย่างนี้…” ต้องอ่านข้อแนะนำต่อไปนี้ให้ดี

 

เข้าใจรูปแบบบริจาค

แบบแรกคือ ลดหย่อนภาษีได้เท่าเดียว เช่น บริจาคให้วัด มูลนิธิหรือองค์กรสาธารณกุศล ส่วนแบบที่สองคือ ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ได้แก่ บริจาคให้โรงเรียนที่อยู่ในระบบ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของรัฐ และหน่วยงานด้านกีฬาของรัฐ กรณีที่คุณบริจาคให้เด็กแรกเกิดก็จะขอลดหย่อนภาษีได้แค่เท่าเดียว หากไม่แน่ใจให้ตรวจสอบรายชื่อจากเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ตามนี้

 

- สถานศึกษา www.rd.go.th/publish/28654.0.html

- สถานพยาบาล www.rd.go.th/publish/27811.0.html

- หน่วยงานด้านกีฬา www.rd.go.th/publish/46748.0.html

 

ศึกษาหลักเกณฑ์การบริจาค

ควรศึกษารายละเอียดทางกฎหมายหรือข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับการบริจาคให้เด็กแรกเกิดให้เข้าใจ เช่น การบริจาคแบบได้ลดหย่อนภาษี 2 เท่าให้สถานศึกษา ต้องเป็นการบริจาคสำหรับการจัดหาหรือจัดสร้างอาคาร วัสดุอุปกรณ์การศึกษา ครูอาจารย์ และต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาจริง ที่สำคัญคือ ต้องบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Donation เท่านั้น

 

บริจาคเป็นเงินเท่านั้น

การบริจาคที่ลดหย่อนภาษีได้ต้องเป็นเงินเท่านั้น จะเป็นเงินสด เงินโอน หรือเช็คก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ทรัพย์สิน

 

ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10%

ไม่ว่าจะบริจาคให้เด็กแรกเกิดเยอะแค่ไหน ก็จะลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ของจำนวนเงินได้สุทธิ(หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนทั้งหมด) หากใครไม่เห็นภาพ ให้ตั้งสมการว่า “เงินได้สุทธิ = (เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) - เงินบริจาค” ดังนั้น เราจึงแนะนำว่าให้กระจายเงินบริจาคไปหลายๆ ปีหน่อย

 

เช็กหลักฐานให้ครบ

เรื่องของหลักฐานการยืนยันเงินบริจาคนั้นทางสรรพากรไม่ได้กำหนดรูปแบบตายตัว ขอแค่มีรายละเอียดชื่อผู้รับบริจาค ชื่อผู้บริจาค จำนวนเงินบริจาค วัตถุประสงค์การบริจาค วัน/เดือน/ปีที่บริจาค และลายเซ็นผู้รับบริจาค อย่างครบถ้วน ซึ่งเรามักจะได้รับมาในรูปแบบของใบเสร็จรับเงินบริจาค ใบอนุโมทนาบัตร เป็นต้น ในกรณีของการบริจาคแบบ e-Donation นั้นจะมีข้อดีตรงที่เราไม่ต้องเก็บเอกสารอะไร เพราะข้อมูลการบริจาคของคุณจะถูกส่งตรงไปยังสรรพากรเลย

 

บริจาคปีไหน ลดหย่อนได้ปีนั้น

หลักฐานลงหลักฐานไว้ปีไหนก็สามารถขอลดหย่อนได้เฉพาะของปีนั้น ไม่สามารถใช้กับปีอื่นได้

 

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก่อนจะบริจาคให้เด็กแรกเกิดครั้งต่อไปต้องระวัง อย่าลืมเช็กรายละเอียดต่างๆ ให้ครบ เก็บหลักฐานให้ดี จะได้ไม่เสียสิทธิ์และเสียความรู้สึกอีก

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที