การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2563 มีมูลค่า 4,341.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (245,665.51 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 43.85 (ร้อยละ 44.65 ในหน่วยของเงินบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยนำเข้าสินค้าสำคัญทุกรายการลดลง ไม่ว่าจะเป็นทองคำ เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน
ตารางที่ 1 มูลค่าการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2563
รายการ |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-ส.ค. 62 |
ม.ค.-ส.ค. 63 |
ม.ค.-ส.ค. 62 |
ม.ค.-ส.ค. 63 |
||
ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป |
4,110.64 |
2,527.75 |
53.17 |
58.23 |
-38.51 |
เพชร |
1,338.39 |
755.65 |
17.31 |
17.41 |
-43.54 |
เครื่องประดับแท้ |
684.34 |
352.55 |
8.85 |
8.12 |
-48.48 |
โลหะเงิน |
359.45 |
288.59 |
4.65 |
6.65 |
-19.71 |
พลอยสี |
394.59 |
225.90 |
5.10 |
5.20 |
-42.75 |
อื่นๆ |
843.62 |
190.83 |
10.91 |
4.40 |
-77.38 |
รวม |
7,731.02 |
4,341.28 |
100.00 |
100.00 |
-43.85 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2563 เติบโตร้อยละ 32.77 (ร้อยละ 32.58 ในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 15,206.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (474,557.95 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 11,452.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (357,947.10 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.91 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย โดยเป็นผลจากการส่งออกทองคำฯ ในสัดส่วนราวร้อยละ 80 ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 97.52 เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคา ในช่วงที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ 6 สิงหาคม 2563 ราคาทองคำสามารถทำสถิตินิวไฮอยู่ที่ระดับ 2,067.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เนื่องจากความกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกที่มีความผันผวนสูง ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 2,935 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (90,685.12 ล้านบาท) ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 43.99 (ร้อยละ 44.77 ในหน่วยของเงินบาท) ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2563
รายการ |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-ส.ค. 62 |
ม.ค.-ส.ค. 63 |
ม.ค.-ส.ค. 62 |
ม.ค.-ส.ค. 63 |
||
มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด |
11,452.65 |
15,206.06 |
100.00 |
100.00 |
32.77 |
หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ |
6,212.41 |
12,271.06 |
54.24 |
80.70 |
97.52 |
คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ |
5,240.24 |
2,935.00 |
45.76 |
19.30 |
-43.99 |
หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ |
363.62 |
156.77 |
3.17 |
1.03 |
-56.89 |
คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ |
4,876.62 |
2,778.23 |
42.58 |
18.27 |
-43.03 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2563
รายการ |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-ส.ค. 62 |
ม.ค.-ส.ค. 63 |
ม.ค.-ส.ค. 62 |
ม.ค.-ส.ค. 63 |
||
|
6,212.41 |
12,271.06 |
54.24 |
80.70 |
97.52 |
|
2,281.79 |
1,535.03 |
19.92 |
10.09 |
-32.73 |
2.1 เครื่องประดับเงิน |
907.57 |
833.93 |
7.92 |
5.48 |
-8.11 |
2.2 เครื่องประดับทอง |
1,238.96 |
629.87 |
10.82 |
4.14 |
-49.16 |
2.3 เครื่องประดับแพลทินัม |
48.93 |
35.56 |
0.43 |
0.23 |
-27.31 |
2.4 อื่นๆ |
86.33 |
35.66 |
0.75 |
0.23 |
-58.69 |
3. เพชร |
1,028.73 |
574.28 |
8.98 |
3.78 |
-44.18 |
3.1 เพชรก้อน |
55.24 |
18.84 |
0.48 |
0.12 |
-65.90 |
3.2 เพชรเจียระไน |
973.06 |
554.66 |
8.50 |
3.65 |
-43.00 |
3.3 อื่นๆ |
0.43 |
0.78 |
0.00 |
0.01 |
81.40 |
4. พลอยสี |
930.91 |
383.10 |
8.13 |
2.52 |
-58.85 |
4.1 พลอยก้อน |
95.57 |
38.39 |
0.83 |
0.25 |
-59.83 |
4.2 พลอยเนื้อแข็งเจียระไน |
588.01 |
228.44 |
5.13 |
1.50 |
-61.15 |
4.3 พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน |
247.33 |
116.27 |
2.16 |
0.76 |
-52.99 |
5. เครื่องประดับเทียม |
277.80 |
162.92 |
2.43 |
1.07 |
-41.35 |
6. เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า |
539.89 |
148.12 |
4.71 |
0.97 |
-72.57 |
7. อื่นๆ |
181.13 |
131.56 |
1.58 |
0.87 |
-27.37 |
รวมทั้งสิ้น (1+2+3+4+5+6+7) |
11,452.65 |
15,206.06 |
100.00 |
100.00 |
32.77 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
จากตารางที่ 3 เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญพบว่า
ทั้งนี้ ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงมากถึงร้อยละ 43.99 เนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงผันผวนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยการส่งออกไปยังตลาด/ภูมิภาคสำคัญในการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ)(ดังตารางที่ 4) ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 ที่ลดลงนั้น เป็นผลมาจากการส่งออกไปเกือบทุกตลาดสำคัญได้ลดลงไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อินเดีย อาเซียน ญี่ปุ่น จีน และประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ตามลำดับ
การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ปรับตัวลดลงร้อยละ 28.26 จากการส่งออกไปยังหลายตลาดสำคัญได้ลดลง โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างเบลเยียม อิตาลี สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในอันดับ 2-5 ที่ล้วนมีมูลค่าลดลงมาก โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังเบลเยียมเป็นเพชรเจียระไน สินค้าหลักส่งออกไปยังอิตาลี สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสเป็นเครื่องประดับทอง ต่างมีมูลค่าหดตัวลง เว้นเพียงเยอรมนี ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 46 ยังเติบโตได้ร้อยละ 13.98 เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน ในสัดส่วนราวร้อยละ 80 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.37 ทั้งนี้ในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ ส่งออกไทยจะได้รับอานิสงค์จากแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ซึ่งอียูจัดสรรงบประมาณ 390,000 ล้านยูโรเพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิก
มูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 25.80 อันเป็นผลจากการที่สหรัฐฯ ยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ได้ จำนวนผู้ติดเชื้อมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อ ชาวสหรัฐฯ จึงลดการใช้จ่ายซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็นลง ทำให้ไทยส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการไปยังสหรัฐฯ ได้ลดลงทั้งสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เพชรเจียระไน และเครื่องประดับเทียม
การส่งออกไปยังฮ่องกง หดตัวลงร้อยละ 59.29 เนื่องจากสินค้าส่งออกสำคัญเกือบทุกรายการมีมูลค่าลดลงไม่ว่าจะเป็นเพชรเจียระไน เครื่องประดับทอง พลอยสีทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน รวมถึงเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า อันเป็นผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในรอบที่ 2 ทำให้การใช้จ่ายภายในประเทศลดลง ทั้งนี้ การค้าปลีกฮ่องกงยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 13.10 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2562
สำหรับการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางนั้น ลดลงร้อยละ 43.43 จากการส่งออกไปตลาดหลักใน 3 อันดับแรกอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และอิสราเอล ได้ลดลงร้อยละ 53.03, ร้อยละ 5.92 และร้อยละ 56.84 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์เป็นเครื่องประดับทอง ส่วนสินค้าส่งออกหลักไปยังอิสราเอลเป็นเพชรเจียระไนและเพชรก้อน ที่ล้วนมีมูลค่าลดลง
มูลค่าการส่งออกไปยังอินเดียหดตัวลงร้อยละ 55.23 อันเป็นผลกระทบจากการที่อินเดียกำลังเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 ที่ระบาดอย่างหนักจนถึงปัจจุบันนี้ ทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายซื้อสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเท่านั้น อีกทั้งความต้องการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยของประเทศคู่ค้าก็ลดลงด้วย จึงทำให้ไทยส่งออกสินค้าสำคัญไปยังอินเดียได้ลดลง อาทิ เพชรเจียระไน โลหะเงิน พลอยก้อน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน รวมถึงเครื่องประดับเงิน ที่ต่างปรับตัวลดลงมาก
ส่วนการส่งออกไปยังอาเซียนลดลงร้อยละ 63.20 จากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม ตลาดหลักใน 3 อันดับแรกได้ลดลงร้อยละ 69.45, ร้อยละ 12.77 และร้อยละ 7.98 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังสิงคโปร์เป็นเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า และสินค้าสำคัญถัดมาเป็นเครื่องประดับทอง ต่างมีมูลค่าหดตัวลง ส่วนการส่งออกไปยังมาเลเซียลดลง เนื่องจากการส่งออกเครื่องประดับเงินซึ่งเป็นสินค้าหลักในปีที่ผ่านมาลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ในขณะที่เครื่องประดับทองขยับขึ้นมาเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 เติบโตได้ร้อยละ 36.99 สำหรับตลาดเวียดนาม ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ โดยสินค้าหลักเป็นอัญมณีสังเคราะห์ ซึ่งหดตัวลง ส่วนสินค้าสำคัญอื่นยังขยายตัวได้ ได้แก่ เพชรเจียระไน โลหะเงิน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน
ส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังญี่ปุ่นปรับตัวลดลงร้อยละ 21.51 โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทอง และสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับแพลทินัม เพชรเจียระไน และเครื่องประดับเงิน ได้ลดลง อันเนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยภายในประเทศลดลง จากภาวะเศรษฐกิจหดตัวอย่างต่อเนื่อง
การส่งออกไปยังจีนปรับตัวลดลงร้อยละ 27.89 แม้ว่าจีนจะควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้และผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์แล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม หากแต่ธุรกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ การเดินทาง และการค้าขายก็ยังไม่กลับมาในระดับปกติ ผู้นำเข้าจีนจึงชะลอการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย ส่งผลให้ไทยส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน ในสัดส่วนราวร้อยละ 90 และเครื่องประดับเทียม สินค้าสำคัญลำดับถัดมาไปยังตลาดนี้ได้ลดลง
มูลค่าการส่งออกไปยังหมู่เกาะแปซิฟิกลดลงร้อยละ 5.73 อันเป็นผลจากการส่งออกไปยังออสเตรเลีย ซึ่งครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 86 ได้ลดลงร้อยละ 5.46 โดยไทยส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเครื่องประดับทองได้ลดลงมาก ในขณะที่สินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินก็เติบโตได้เพียงเล็กน้อย อีกทั้งไทยยังส่งออกไปยังนิวซีแลนด์ ตลาดในอันดับ 2 ได้ลดลงร้อยละ 4.72 เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินหดตัวลง ส่วนสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า และโลหะเงิน ยังสามารถขยายตัวได้ดี
สำหรับการส่งออกไปยังรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชเติบโตได้ร้อยละ 5.29 โดยเป็นผลจากการส่งออกไปยังรัสเซีย ตลาดหลักอันดับ 1 ได้สูงขึ้นร้อยละ 13.77 จากการส่งออกสินค้าสำคัญทั้งเครื่องประดับเงิน เพชร-เจียระไนและเครื่องประดับทองได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งไทยยังสามารถส่งออกไปยังคาซัคสถาน ตลาดในอันดับ 4 ได้สูงกว่า 1.48 เท่า เนื่องจากการส่งออกเครื่องประดับทอง ที่เติบโตกว่า 64.55 เท่า ส่วนการส่งออกไปยังอาร์เมเนีย และยูเครน ตลาดในอันดับ 2 และ 3 หดตัวลงร้อยละ 8.12 และร้อยละ 63.09 ตามลำดับ ซึ่งการส่งออกไปยังอาร์เมเนียลดลง จากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนได้ลดลง ส่วนการส่งออกไปยังยูเครนลดลงนั้น เนื่องจากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายได้ลดลง ได้แก่ อัญมณีสังเคราะห์ เครื่องประดับเงิน พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และเพชรเจียระไน ตามลำดับ
ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังตลาด/ภูมิภาคต่างๆ ในระหว่างปี 2562 – 2563
ประเทศ/ภูมิภาค |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-ส.ค. 62 |
ม.ค.-ส.ค. 63 |
ม.ค.-ส.ค. 62 |
ม.ค.-ส.ค. 63 |
||
สหภาพยุโรป |
1,073.04 |
769.78 |
20.48 |
26.23 |
-28.26 |
สหรัฐอเมริกา |
832.60 |
617.75 |
15.89 |
21.05 |
-25.80 |
ฮ่องกง |
1,206.77 |
491.25 |
23.03 |
16.74 |
-59.29 |
กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง |
368.25 |
208.32 |
7.03 |
7.10 |
-43.43 |
อินเดีย |
438.56 |
196.35 |
8.37 |
6.69 |
-55.23 |
อาเซียน |
405.78 |
149.33 |
7.74 |
5.09 |
-63.20 |
ญี่ปุ่น |
142.45 |
111.81 |
2.72 |
3.81 |
-21.51 |
จีน |
138.28 |
99.71 |
2.64 |
3.40 |
-27.89 |
ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก |
91.51 |
86.27 |
1.75 |
2.94 |
-5.73 |
รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช |
13.26 |
13.97 |
0.25 |
0.48 |
5.29 |
อื่นๆ |
529.74 |
190.46 |
10.11 |
6.49 |
-64.05 |
รวม |
5,240.25 |
2,935.00 |
100.00 |
100.00 |
-43.99 |
ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
7 ตุลาคม 2563
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที