การดึงดูดใจในการซื้อสินค้าจากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์
ก่อนอื่นหลายๆคนอาจจะยังไม่เข้าใจในความหมายและคำจำกัดความของคำว่า อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ว่าคืออะไร และมีอิทธิพลต่อการซื้อขายสินค้าและบริการในปัจจุบันอย่างไร เมื่อสื่อออนไลน์ต่างๆได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในยุคดิจิทัล ย้อนไปตั้งแต่การเข้ามาของยูทูป (Youtube) แพล็ตฟอร์มออนไลน์ที่ออกแบบมาให้ใครก็สามารถโพสต์วิดิโอลงไปได้ ทุกคนสามารถมีช่องและคอนเทนต์ ที่ตัวเองต้องการที่อยากจะลง แถมยังมีรายได้จากยูทูปอีกด้วย จึงไม่แปลกใจว่า ทำไมถึงมียทูปเบอร์ เกิดขึ้นอย่างมากมายในเมืองไทยและทั่วโลก เพราะไม่ว่าใครก็สามารถเป็นยูทูปเบอร์ได้ ส่วนถ้าใครชอบถ่ายรูป ชอบเดินทางท่องเที่ยวและอยากจะแชร์โมเมนต์รูปและสถานที่สวยๆ อินสตาแกรม (Instagram) นั้นคือแพล็ตฟอร์มที่ตอบโจทย์สุดๆ การใส่แฮชแท็กต่างๆยังช่วยให้คนอื่นสามารถสืบค้นหาได้ นอกจากนี้ยังมีการรีวิวสินค้าต่างๆที่เราเรียกว่า บล็อกเกอร์ รีวิว ที่จะนำผลิตภัณฑ์และสินค้ามาทดลองใช้และบอกต่อถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การทำการตลาดในส่วนนี้จึงเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้จับกลุ่มเป้าหมาย Influencer marketing Thailand และยังมี Influencer marketing Agency ที่มาช่วยดูแลแทนลูกค้า บอกรายละเอียดต่างๆในการนำเสนอเพื่อเพิ่มยอดขายและการรับรู้ของแบรนด์ต่างๆอย่างถูกต้อง
ข้อมูลที่แชร์มาจากเว็บของอาอุนกล่าวว่า Influencer (อินฟลูเอนเซอร์) คือผู้มีอิทธิพลบนสื่อโซเชียล โดยเป็นผู้ที่ทำคอนเทนต์เผยแพร่ตามแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Blog, Instagram, Facebook, YouTube แล้วมีคนสนใจติดตาม ยิ่งมีผู้ติดตามมากก็ยิ่งมีอิทธิพลมาก ผู้ติดตามส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยทำงาน และมักคล้อยตามเนื้อหาหรือสิ่งที่ Influencer พูดโน้มน้าวใจได้ง่าย เพราะรู้สึกถึงความใกล้ชิดและจริงใจกว่าสื่อโฆษณาของแบรนด์ต่างๆ Influencer คืออะไร? ทำไมคน Gen Z และ Milliennial ต้องติดตาม จากผลการศึกษาเรื่อง “ผลกระทบของอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Impact Study) ให้คำจำกัดความ Influencer คือ บล็อกเกอร์หรือบุคคลบนโลกออนไลน์อื่นๆ ที่มีผู้ติดตามมากพอที่จะสร้างผลกระทบด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจได้ ผลการศึกษายังบอกอีกว่า คนยุค Millennial (อายุ 24-35 ปี) และ Gen Z (อายุ 16-23 ปี) เชื่อถือในตัวอินฟลูเอนเซอร์บนสื่อโซเชียลมากกว่าแคมเปญโฆษณาราคาแพงใดๆจะสามารถทำได้ ส่วนหนึ่งเพราะคนกลุ่มนี้รับข่าวสารการตลาดผ่านการติดตาม Influencer มากกว่าโฆษณาแบบอื่น (เป็นทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ หรือออนไลน์) ประเภทของ Influencer สามารถแบ่งได้หลายประเภท ส่วนใหญ่มักแบ่งตามจำนวนผู้ติดตาม ไม่ว่าจะเป็น Celebrity, Mass Publisher กลุ่มนี้มีผู้ติดตามมากที่สุด ตั้งแต่ 100,000 – 1,000,000 คน มักเป็นดารา นักร้อง หรือผู้ที่มีชื่อเสียงมาก่อน Key Opinion Leaders (KOL) Professional , Publishers, Specialist กลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีความสนใจหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เนื้อหาจึงดึงดูดคนเฉพาะกลุ่ม แต่ถ้าสามารถเล่าเรื่องได้น่าสนใจ ก็อาจมีคนทั่วไปมาติดตามเช่นกัน จำนวนผู้ติดตามของ Influencer กลุ่มนี้จึงไม่ค่อยแน่นอน Micro Influencer กลุ่มนี้มีผู้ติดตามประมาณ 10,000 – 100,000 คน มักเป็นคนที่สร้างสรรค์คอนเทนต์ในเรื่องทั่วๆ ไป เช่น ไลฟ์สไตล์ กิน เที่ยว รวมไปถึงรีวิวสินค้าต่างๆ และ Nano Influencerกลุ่มนี้มีผู้ติดตามประมาณหลัก 1,000 คน มักเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเฉพาะ แต่มีฐานผู้ติดตามเหนียวแน่น สามารถสร้างความน่าเชื่อถือและโน้มน้าวใจได้เป็นอย่างดี
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : การดึงดูดใจในการซื้อสินค้าจากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์