การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 3,877.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (121,198.24 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 41.95 (ร้อยละ 43.11 ในหน่วยของเงินบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยนำเข้าสินค้าสำคัญทุกรายการลดลง โดยเฉพาะสินค้าสำคัญอย่างทองคำ เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ซึ่งปรับตัวลดลงมาก
ตารางที่ 1 มูลค่าการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2563
รายการ |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-ก.ค. 62 |
ม.ค.-ก.ค. 63 |
ม.ค.-ก.ค. 62 |
ม.ค.-ก.ค. 63 |
||
ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป |
3,519.87 |
2,286.57 |
52.70 |
58.97 |
-35.04 |
เพชร |
1,197.82 |
651.60 |
17.93 |
16.81 |
-45.60 |
เครื่องประดับแท้ |
534.54 |
314.59 |
8.00 |
8.11 |
-41.15 |
โลหะเงิน |
309.83 |
251.99 |
4.64 |
6.50 |
-18.67 |
พลอยสี |
357.51 |
205.17 |
5.35 |
5.29 |
-42.61 |
อื่นๆ |
759.53 |
167.46 |
11.37 |
4.32 |
-77.95 |
รวม |
6,679.10 |
3,877.38 |
100.00 |
100.00 |
-41.95 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.73 (ร้อยละ 32.54 ในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 12,069.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (375,985.30 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 9,025.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (283,678.40 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.06 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย โดยเป็นผลจากการส่งออกทองคำฯ ในสัดส่วนราวร้อยละ 79 ได้เพิ่มสูงกว่า 1.06 เท่า อันเนื่องมาจากการทำกำไรจากส่วนต่างของราคา ในช่วงที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกสินค้า
อัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 2,576.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (79,423.87 ล้านบาท) ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 41.87 (ร้อยละ 43.07 ในหน่วยของเงินบาท) ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2563
รายการ |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-ก.ค. 62 |
ม.ค.-ก.ค. 63 |
ม.ค.-ก.ค. 62 |
ม.ค.-ก.ค. 63 |
||
มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด |
9,025.05 |
12,069.53 |
100.00 |
100.00 |
33.73 |
หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ |
4,592.20 |
9,492.85 |
50.88 |
78.65 |
106.72 |
คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ |
4,432.85 |
2,576.68 |
49.12 |
21.35 |
-41.87 |
หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ |
337.03 |
148.28 |
3.73 |
1.23 |
-56.00 |
คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ |
4,095.82 |
2,428.40 |
45.38 |
20.12 |
-40.71 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2563
รายการ |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-ก.ค. 62 |
ม.ค.-ก.ค. 63 |
ม.ค.-ก.ค. 62 |
ม.ค.-ก.ค. 63 |
||
|
4,592.20 |
9,492.85 |
50.88 |
78.65 |
106.72 |
|
1,918.82 |
1,330.64 |
21.26 |
11.02 |
-30.65 |
2.1 เครื่องประดับเงิน |
778.37 |
713.82 |
8.62 |
5.91 |
-8.29 |
2.2 เครื่องประดับทอง |
1,020.50 |
559.40 |
11.31 |
4.63 |
-45.18 |
2.3 เครื่องประดับแพลทินัม |
42.72 |
27.08 |
0.47 |
0.22 |
-36.61 |
2.4 อื่นๆ |
77.23 |
30.35 |
0.86 |
0.25 |
-60.71 |
3. เพชร |
922.30 |
488.33 |
10.22 |
4.05 |
-47.05 |
3.1 เพชรก้อน |
49.80 |
18.45 |
0.55 |
0.15 |
-62.96 |
3.2 เพชรเจียระไน |
872.13 |
469.12 |
9.66 |
3.89 |
-46.21 |
3.3 อื่นๆ |
0.37 |
0.77 |
0.00 |
0.01 |
107.78 |
4. พลอยสี |
866.04 |
355.44 |
9.60 |
2.94 |
-58.96 |
4.1 พลอยก้อน |
81.87 |
35.92 |
0.91 |
0.30 |
-56.13 |
4.2 พลอยเนื้อแข็งเจียระไน |
550.14 |
211.06 |
6.10 |
1.75 |
-61.64 |
4.3 พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน |
234.02 |
108.46 |
2.59 |
0.90 |
-53.66 |
5. เครื่องประดับเทียม |
240.28 |
147.03 |
2.66 |
1.22 |
-38.81 |
6. เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า |
317.76 |
137.69 |
3.52 |
1.14 |
-56.67 |
7. อื่นๆ |
167.64 |
117.55 |
1.86 |
0.97 |
-29.88 |
รวมทั้งสิ้น (1+2+3+4+5+6+7) |
9,025.05 |
12,069.53 |
100.00 |
100.00 |
33.73 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
จากตารางที่ 3 เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญพบว่า
ทั้งนี้ ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงมากถึง
ร้อยละ 41.87 ปัจจัยหลักยังคงเป็นผลกระทบมาจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย โดยการส่งออกไปยังตลาด/ภูมิภาคสำคัญในการส่งออกสินค้า
อัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) (ดังตารางที่ 4) ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงร้อยละ 41.87 จากการส่งออกไปยังหลายตลาดสำคัญได้ลดลง ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักอย่างสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง รวมถึงตลาดสำคัญทั้งกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อินเดีย อาเซียน ญี่ปุ่น จีน และประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก
การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป หดตัวลงร้อยละ 21.08 เนื่องจากการส่งออกไปยังเบลเยียม อิตาลี สหราช-อาณาจักร และฝรั่งเศส ตลาดในอันดับ 2-5 ได้ลดลง โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังเบลเยียมเป็นเพชรเจียระไน สินค้าส่งออกหลักไปยังอิตาลีและสหราชอาณาจักรเป็นเครื่องประดับทอง ส่วนสินค้าหลักส่งออกไปฝรั่งเศสเป็นเครื่องประดับเทียม ที่ล้วนมีมูลค่าลดลงอย่างมาก ส่วนการส่งออกไปยังเยอรมนี ตลาดอันดับ 1 ยังขยายตัวได้
ร้อยละ 12.37 จากการส่งออกเครื่องประดับเงิน สินค้าหลักในสัดส่วนราวร้อยละ 80 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.99
มูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ปรับตัวลดลงร้อยละ 25.51 จากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการได้ลดลงไม่ว่าจะเป็นสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเพชรเจียระไน ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงมากจากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งในไตรมาส 2 เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวลงร้อยละ 32.9 ซึ่งเป็นการลดต่ำที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
ส่วนการส่งออกไปยังฮ่องกง อีกตลาดหลักของไทย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 61.02 จากการส่งออกเพชร-เจียระไน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า เนื่องจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังเดินหน้าได้ไม่เต็มที่ รวมถึงการประท้วงที่ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ
ตลาดสำคัญอื่นๆ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 40.31 เนื่องจากการส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และอิสราเอล ตลาดหลักใน 3 อันดับแรกได้ลดลงร้อยละ 48.91, ร้อยละ 5.21 และร้อยละ 56.72 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์เป็นเครื่องประดับทอง ต่างมีมูลค่าลดลง จากปัจจัยด้านราคาทองคำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนสินค้าส่งออกหลักไปยังอิสราเอลเป็นเพชรเจียระไนและเพชรก้อน ที่ต่างปรับตัวลดลง
การส่งออกไปยังอินเดียลดลงร้อยละ 55.26 เนื่องจากอินเดียยังมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นสูง ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย จึงทำให้ไทยส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการไปยังอินเดียได้ลดลง ได้แก่ เพชร-เจียระไน โลหะเงิน พลอยก้อน และเครื่องประดับเงิน ตามลำดับ
ส่วนการส่งออกไปยังอาเซียนลดลงร้อยละ 46.18 อันเป็นผลจากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ และมาเลเซีย ตลาดอันดับ 1 และ 3 ได้ลดลงร้อยละ 53.68 และร้อยละ 13.24 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังสิงคโปร์เป็นเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าได้ลดลงมาก ส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังมาเลเซียลดลงเพราะการส่งออกเครื่องประดับเงินซึ่งเป็นสินค้าหลักในปีที่ผ่านมาลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง แม้ว่าการส่งออกเครื่องประดับทองจะเพิ่มขึ้น
ก็ตาม สำหรับการส่งออกไปยังเวียดนาม ที่อยู่ในอันดับ 2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.97 โดยการส่งออกสินค้าสำคัญถัดมาอย่างโลหะเงินและเพชรเจียระไนได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าหลักอย่างอัญมณีสังเคราะห์หดตัวลง
ส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังญี่ปุ่นหดตัวลงร้อยละ 22.08 จากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาลงต่อเนื่องของญี่ปุ่นทำให้ไทยส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการได้ลดลงไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับทอง เครื่องประดับแพลทินัม เพชร-เจียระไน และเครื่องประดับเงิน ตามลำดับ
การส่งออกไปยังจีนลดลงร้อยละ 26.72 โดยเป็นผลจากการส่งออกเครื่องประดับเงิน สินค้าหลักในสัดส่วนร้อยละ 90 และเครื่องประดับเทียม สินค้าสำคัญถัดมาได้ลดลงร้อยละ 12.63 และร้อยละ 23.05 ตามลำดับ ทั้งนี้ บริษัทส่งออกเครื่องประดับเงินอันดับหนึ่งของไทยไปยังจีนคือ บริษัท แพนดอร่า เซอร์วิสเซส
มูลค่าการส่งออกไปยังหมู่เกาะแปซิฟิกหดตัวลงร้อยละ 7.50 จากการส่งออกไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ตลาดหลักในอันดับ 1 และ 2 ของไทยได้ลดลงร้อยละ 7.52 และร้อยละ 4.99 ตามลำดับ โดยการส่งออกไปยังออสเตรเลียลดลง เนื่องจากสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเครื่องประดับทองลดลงร้อยละ 39.82 ในขณะที่สินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินก็เติบโตได้เพียงร้อยละ 2.79 ส่วนการส่งออกไปยังนิวซีแลนด์ เป็นผลจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินได้ลดลง ส่วนสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า และโลหะเงินยังขยายตัวได้ดี
สำหรับการส่งออกไปยังรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชเติบโตได้ร้อยละ 24.62 จากการส่งออกไปยังรัสเซีย ที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 85 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.42 โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเพชรเจียระไนและเครื่องประดับทองได้สูงขึ้นมาก ส่วนการส่งออกไปยังอาร์เมเนีย และยูเครน ตลาดในอันดับ 2 และ 3 ลดลงร้อยละ 6.96 และร้อยละ 53.90 ตามลำดับ ซึ่งการส่งออกไปยังอาร์เมเนียลดลง จากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างพลอยเนื้อแข็งเจียระไนได้ลดลง ในขณะที่สินค้าสำคัญอื่นอย่างเพชรเจียระไนและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนยังขยายตัวได้ ส่วนการส่งออกไปยังยูเครนลดลง อันเป็นผลจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างอัญมณีสังเคราะห์ ส่วนสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับเงินยังสามารถเติบโตได้
ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังตลาด/ภูมิภาคต่างๆ ในระหว่างปี 2562 – 2563
ประเทศ/ภูมิภาค |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-ก.ค. 62 |
ม.ค.-ก.ค. 63 |
ม.ค.-ก.ค. 62 |
ม.ค.-ก.ค. 63 |
||
สหภาพยุโรป |
841.52 |
664.14 |
18.98 |
25.78 |
-21.08 |
สหรัฐอเมริกา |
737.05 |
549.04 |
16.63 |
21.31 |
-25.51 |
ฮ่องกง |
1,074.52 |
418.88 |
24.24 |
16.26 |
-61.02 |
กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง |
328.43 |
196.05 |
7.41 |
7.61 |
-40.31 |
อินเดีย |
393.34 |
175.98 |
8.87 |
6.83 |
-55.26 |
อาเซียน |
247.59 |
133.25 |
5.59 |
5.17 |
-46.18 |
ญี่ปุ่น |
124.00 |
96.62 |
2.80 |
3.75 |
-22.08 |
จีน |
121.77 |
89.24 |
2.75 |
3.46 |
-26.72 |
ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก |
76.47 |
70.73 |
1.73 |
2.75 |
-7.50 |
รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช |
10.08 |
12.56 |
0.23 |
0.49 |
24.62 |
อื่นๆ |
478.08 |
170.19 |
10.78 |
6.60 |
-64.40 |
รวม |
4,432.85 |
2,576.68 |
100.00 |
100.00 |
-41.87 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
จากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลกในขณะนี้ และยังไม่มีประเทศใดผลิตวัคซีนได้สำเร็จ
อีกทั้งหลายประเทศยังคงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น จึงคาดว่าจะยังกระทบต่อการส่งออกของไทยในไตรมาส 3 ให้ยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว แม้จะมีคำสั่งซื้อมาบ้างแต่ก็ไม่ได้มากนัก โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่จะยังคงระมัดระวังในการใช้จ่ายและซื้อสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเป็นหลัก สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกที่อาจกลับมาระบาดรอบใหม่ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน และสงครามการค้าที่ต้องจับตาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี
ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
2 กันยายน 2563
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที