Sukhum Rattanasereekiat

ผู้เขียน : Sukhum Rattanasereekiat

อัพเดท: 24 ส.ค. 2020 15.13 น. บทความนี้มีผู้ชม: 2148 ครั้ง

ในฐานะ QMR หรือ เป็นคนที่ต้องดูระบบบริหารงานคุณภาพจะต้องมีอะไรเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับ COVID 19 บ้าง?


ในฐานะ QMR หรือ เป็นคนที่ต้องดูระบบบริหารงานคุณภาพจะต้องมีอะไรเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับ COVID 19 บ้าง?

ในฐานะ  QMR  หรือ เป็นคนที่ต้องดูระบบบริหารงานคุณภาพจะต้องมีอะไรเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับ COVID 19 บ้าง?

 

สำหรับเอกสารที่อาจจะต้องทบทวนเพิ่มเติมได้แก่

 

Context of the organization

อาจจะต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับ  External issue เพราะว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่มาส่งผลกระทบต่อองค์กร ซึ่งสำหรับ External Issue หรือปัจจัยภายนอกอาจจะเป็นได้ทั้งอุปสรรค  และอาจจะเป็นโอกาสสำหรับบางองค์กร หรือบางธุรกิจ

 

สำหรับหัวข้ออุปสรรค อาจจะเป็นหัวข้อเรื่องดังนี้

  1. การระบาดของ  COVID 19 อาจจะส่งผลกระทบกับยอดขาย ทำให้คำสั่งซื้อลดลง   ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ดังนั้นทางองค์กรเองอาจจะต้องหาวิธีการอื่นๆในการเพิ่มยอดขาย เช่น
    1. อาจจะต้องหาลูกค้าใหม่หรือเพื่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้นบางลูกค้าที่องค์กรยังไม่เคยติดต่อ ทางตัวแทนขายก็จะต้องหากลยุทธ์ในการขายหรือการตลาดเข้ามาช่วย  เช่น 4P เป็นต้น

 

  1. หากลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เคยมีแต่ลูกค้าอุตสาหกรรมยานยนต์ อาจจะต้องเพิ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร หรือเครื่องมือแพทย์มากขึ้น  

 

 

1.3 Delivery , MDB Turn Key ,, Gas N2, CO2Gas N2, CO210 ,Mask

 

  1. การประเมินความเสี่ยง

หลังจากที่มีการระบุ อุปสรรคหรือโอกาส ทางองค์กรควรจะทำการประเมินความเสี่ยง ที่เกิดขี้นตามการประเมินความเสี่ยงที่องค์กรมีอยู่ เช่น

 

 

  1. การระบาดของ  COVID 19 กรณีที่องค์กรมีพนักงานติดโรคระบาด  Covid-19 อาจจะทำให้ต้องปิดโรงงาน หรือสถานประกอบการชั่วคราว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลูกค้า และความเชื่อมั่นขององค์กร รวมถึงยอดชาย

 

โดยในส่วนของอุปสรรคในหัวข้อนี้อาจจะมีมาตรการแยกออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ คือแผนการป้องกัน  และ แผนการตอบสนองหากพบว่าในองค์กรมีคนติดเชื้อ  Covid-19

สำหรับหัวข้อที่เป็นโอกาส อาจจะเป็นหัวข้อเรื่องดังนี้  เช่น โรงงานผลิตหน้ากากอนามัย  โรงงานผลิตวัคซีน  โรงงานผลิตเจลล้างมือ  ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อาจจะเป็นโอกาสที่ยอดขายมากขึ้นเพราะผู้บริโภคต้องการใช้มากขึ้นเป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

3.1 แผนฉุกเฉิน  Contingency plan  การป้องกันโรคระบาด  Covid -19

โดยองค์กรจะต้องมีการจัดทำนโยบายการป้องกันโรคระบาด  Covid-19 รวมถึงอาจจะจัดทำทีมงานสำหรับการดำเนินการป้องกัน ดังนี้

3.1.1.ทีมสุขอนามัย

จัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันเช่นหน้ากากอนามัย

จัดนโยบาย และมาตรการเกี่ยวกับโรงอาหารให้มีระยะห่างในการรอซื้ออาหารหรือรับอาหาร จัดโต๊ะนั่งให้มีระยะห่าง หรือกำหนดเวลาในการข้าวใหม่ให้มีช่วงเวลาพักหลายๆช่วงเนื่องจากสถานที่ทานข้าวอาจจะลดลงเนื่องจากต้องกำหนดระยะ  social distancing.

จัดห้องน้ำให้มีระยะห่างสำหรับ อ่างล้างมือ โถปัสสวะ ดูแลรถยนต์ส่วนการของบริษัทโดยดูแลทำความสะอาดหลังจากการใช้งาน

ประชาสัมพันธ์ สื่อสาร ทำประกาศ เช่น ทำประกาศทาง Line, App – HR  ของทางบริษัท ติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ รวมถึง  Morning Talk  การประชุมประจำวัน

จัดเตรียมมาตรการ  รายงานสถานการณ์  นำข้อมูลที่รัฐบาลแนะนำนำมาพิจารณา ประชุม และดำเนินการ

3.1.2.ทีมสถานที่

จัดเตรียมสถานที่ จัดโต๊ะ เก้าอี้โรงอาหารในการนั่งให้เหมาะสม รวมถึง การขีดเส้น การกำหนดจัดทางเข้าออกโรงอาหารใหม่ เพื่อให้เข้าทาง ออกทางเพื่อให้ผ่านจุดล้างมือ  จัดโต๊ะ จากทานเข้าได้  4คนเป็น 2  คนอาจจะหาสถานที่ทานข้าวเพื่มเติม

กำหนดจุด และเพิ่มจุดล้างมือ  เจลล้างมือ

ควบคุมพนักงานงานในการตรอกบัตรเข้าออก  กำหนดจุดยืนให้ห่างกัน ในบ้างองค์กรเปลี่ยนอุปกรณ์จากที่   Scan   นิ้วมาเป็น  Scan  ใบหน้าแทนเพื่อลดการสัมผัส

กำหนดที่พักสูบบุหรี่  1 จุดยืนห่างกัน  1 m

3.1.3 ทีมคัดกรอง

ทำการสื่อสารกับคนภายนอก ทำการกรอกแบบ Form  การคัดกรอง

ตัวเช็คอุณหภูมิ ก่่อนเข้าทำงานทั้งพนักงานและบุคคลภายนอก

รับพัสดุ ว่างทิ้งไว้ฉีดแอลกอฮอล์พนักงานมารับพัสดุได้ตอนเย็นหรือช่วงเวลาที่กำหนด

3.1.4 ทีมพยาบาล                                                                                                                                                                                        

ถ้าอุณหภูมิสูงเกินกว่า   37.5  ต้องมีการวัดซ้ำด้วยปรอทโดยทีมพยาบาล ทำมีไข้สูงจริงไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ได้

คนที่กลับจากพื้นสุ่มเสี่ยง หรือ ผ่านระยะเวลากักตัวแล้ว แต่บ้างองค์กรยังให้ทำการตรวจสอบซ้ำอีกหนึ่งสัปดาห์ เช่นวัดอุณหภูมิทุกๆ 2 ชั่วโมงโดยทีมพยาบาล

 

  1. แผนฉุกเฉิน  Contingency plan กับ  Recovery plan สำหรับกรณีที่มีพบผู้ติดเชื้อในโรงงาน

 

องค์กรต้องมีการจัดทำแผนฉุกเฉินสำหรับ Recovery plan สำหรับกรณีที่มีพบผู้ติดเชื้อในโรงงาน

 

4.1 การแยกผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย
ในกรณีที่พบพนักงานยืนยันติดเชื้อโรค โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานประกอบการ ให้ประสานหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อทำการสำรวจคนร่วมงาน ที่อยู่ในข่ายสัมผัสโรค ซึ่งต้องให้หยุดงานทันทีและกักกันตนเอง ณ ที่พักอาศัยหรือที่ที่คณะกรรมการ โรคติดต่อจังหวัดกำหนดไว้ เพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน หลังจากใกล้ชิดผู้ป่วยครั้งสุดท้าย ดังนี้

4.2 นิยามผู้สัมผัสโรค โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนํา 2019
4.2.1. ผู้สัมผัสในครัวเรือน
สมาชิกในครอบครัว ญาติ และผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขณะที่มีอาการป่วย ผู้ที่พักอาศัยในบ้านเดียวกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
4.2.2) ผู้ที่ร่วมกลุ่มเดินทางเดียวกัน เช่น บริษัทเดียวกัน
ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เดินทางโดยยานพาหนะอื่น ๆ ในขณะที่มี อาการ ได้แก่ ผู้ที่ร่วมเดินทางกับผู้ป่วย ผู้โดยสารหรือพนักงานที่สัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดนไอ จาม จากผู้ป่วย และผู้โดยสารที่อยู่ในระยะห่างไม่เกิน 1 เมตร จากผู้ป่วย
4.2.3. ผู้สัมผัสใน/ ที่ทำงาน และในชุมชน
4.2.3.1) ผู้ร่วมงาน ได้แก่ กลุ่มเพื่อนที่พบปะกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะ มีอาการ และมีประวัติอาจสัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดนไอ จาม จากผู้ป่วย
4.2.3.2) ผู้ที่อยู่ในชุมชนเดียวกันกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือในชุมชนอื่น ๆ และสัมผัส สารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดน ไอ จาม จากผู้ป่วย

4.3 การพิจารณาปิดสถานประกอบการชั่วคราวหากพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เช่นการเลื่อนหรือยกเลิก แผนกการผลิตที่พบผู้ป่วยออกไปชั่วคราว เพื่อให้พนักงานหยุดพักรักษาตัวและลดการแพร่กระจาย ของเชื้อโรค
ควรมีการจัดทำรายชื่อว่า ใครทำแทนใครได้บ้าง ตำแหน่งไหนทำแทนกันได้บ้างเป็นต้น

สำหรับโรงงานผลิต บางบริษัทก็มีการสำรวจการทำ Stock ไปที่ผู้ขาย (Supplier) เพื่อให้มั่นใจว่าถ้าผู้ขายจะต้องหยุดโรงงานเนื่องจากสถานการณ์ COVID แล้วยังมีของ Stock ที่จะพอส่งมอบหรือไม่  หรือสำรวจว่ามี Stock กี่วัน

สำหรับโรงงาน ควรพิจารณาและประเมินว่าถ้าเกิดมีพนักงานติดเชื้อไวรัส COVID จริง อาจจะต้องใช้เวลาสำหรับคัดกรองการทำความสะอาดโรงงาน  ซึ่งถ้าทางบริษัทประเมินแล้วว่าอาจจะต้องทำการปิดโรงงานจำนวน 5 วัน ดังนั้นผู้บริหารอาจจะมีนโยบายให้กับทางโรงงานให้มีการจัดทำ Stock ล่วงหน้า 5 วันเมื่อมีสถานการณ์จริงจะได้ไม่กระทบแผนการผลิตกับลูกค้า แต่ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือต้องเช็คสถานการณ์อย่างใกล้ชิดระหว่าง Supplier และลูกค้าเพราะสำหรับบางโรงงานสั่งซื้อ Part  จากต่างประเทศเช่นที่อินโดเนียเซีย หรือ มาเลเซีย ซึ่งหลายๆโรงงานหยุดการผลิตเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องทำการเช็ค Stock  ให้ดีว่าแต่ละ Supplier มี  Stock จำนวนเท่าไรเพื่อใช้สำหรับเตรียมการผลิต

4.4 บริษัทควรมีการแจ้งต่อบุคคลที่ติดต่อหรือคู่ค้าทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพนักงานที่ติดเชื้อ เพื่อเฝ้าระวังและสังเกตุอาการเป็นเวลา 14 วัน

4.5 บริษัทจัดทำความสะอาดพร้อมฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาเคมีและเครื่องอบโอโซนในพื้นที่เสี่ยงและบริเวณโดยรอบ ภายใต้คำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงทำการปิดพื้นที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว

4.6 ขอความร่วมมือพนักงาน ให้หลีกเลี่ยงการพบปะสังสรรค์ การจัดงานต่าง ๆ ตลอดจนลดการเข้าไปในพื้นที่แหล่งชุมชน หรือสถานที่ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก.

 

 

 

สรุป เอกสารหลัก ๆ ที่ต้องพิจารณาในการทบทวนในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ    Covid -19

  1. Context of the organization  บริบทองค์กรในหัวข้อของ  External Issue  หรือปัจจัยภายนอก
  2. การประเมินความเสี่ยง
  3. เอกสารการจัดการ เช่น- นโยบาย หน้งสือแต่งตั้งทีมป้องกันโรคระบาด Procedure การป้องกัน   หรือ แผนฉุกเฉิน เกี่ยวกับกันป้องกัน และการ  Recovery เมื่อพบผู้ติดเชื้อ 

 

สุขุม  รัตนเสรีเกียรติ

https://www.facebook.com/rattanasereekiatsukhum/

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที