GIT Information Center

ผู้เขียน : GIT Information Center

อัพเดท: 07 ส.ค. 2020 11.08 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1860 ครั้ง

แม้ทรงมีอัญมณีและเครื่องประดับล้ำค่ามากมาย แต่เครื่องประดับที่ทรงโปรดปรานมากเป็นพิเศษกลับไม่ได้ตกแต่งไปด้วยเพชรพลอยราคาแพงแต่อย่างใด แต่เป็นสัญลักษณ์แทนความรักที่แสนล้ำค่าระหว่างพระองค์และพระราชสวามีอันเป็นที่รักของพระองค์ ที่มาและความหมายของมงกุฎดอกส้มคืออะไร สามารถหาติดตามตำนานความรักของทั้งคู่ได้ที่นี่


สถานการณ์การนำเข้าส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระหว่างเดือนมกราคม มิถุนายน ปี 2563

            การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2563 มีมูลค่า 3,554.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (111,122.01 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 37.09 (ร้อยละ 38.54 ในหน่วยของเงินบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยนำเข้าสินค้าสำคัญเกือบทุกรายลดลง ไม่ว่าจะเป็นทองคำฯ สินค้าหลักในสัดส่วนราวร้อยละ 62 รวมถึงสินค้าสำคัญรองลงมาทั้งเพชรเจียระไน โลหะเงิน พลอยสีทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ที่ต่างมีมูลค่าหดตัวลงมาก

ตารางที่ 1 มูลค่าการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2563

รายการ

มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-มิ.ย. 62

ม.ค.-มิ.ย. 63

ม.ค.-มิ.ย. 62

ม.ค.-มิ.ย.63

ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป

3,148.65

2,189.61

55.72

61.60

-30.46

เพชร

1,031.68

545.32

18.26

15.34

-47.14

เครื่องประดับแท้

396.41

276.67

7.02

7.78

-30.21

โลหะเงิน

283.94

214.96

5.02

6.05

-24.29

พลอยสี

306.31

182.95

5.42

5.15

-40.27

อื่นๆ

483.74

145.22

8.56

4.08

-69.98

รวม

5,650.73

3,554.73

100.00

100.00

-37.09

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

            การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.11 (ร้อยละ 37.59 ในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 10,077.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (314,632.41 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 7,244.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (228,675.64 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.81 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย โดยเป็นผลจากการส่งออกทองคำฯ ในสัดส่วนราวร้อยละ 78 ได้เพิ่มสูงกว่า 1.31 เท่า อันเนื่องมาจากการทำกำไรจากส่วนต่างของราคา ในช่วงที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 2,224.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (68,584.46 ล้านบาท) ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 42.17 (ร้อยละ 43.52 ในหน่วยของเงินบาท) ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2563

รายการ

มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-มิ.ย. 62

ม.ค.-มิ.ย. 63

ม.ค.-มิ.ย. 62

ม.ค.-มิ.ย.63

มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด

7,244.22

10,077.60

100.00

100.00

39.11

หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ

3,396.85

7,852.85

46.89

77.92

131.18

คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ

3,847.37

2,224.75

53.11

22.08

-42.17

หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ

308.74

138.37

4.26

1.37

-55.18

คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ

3,538.63

2,086.38

48.85

20.71

-41.04

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2563

รายการ

มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-มิ.ย. 62

ม.ค.-มิ.ย. 63

ม.ค.-มิ.ย. 62

ม.ค.-มิ.ย.63

ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป

3,396.85

7,852.85

46.89

77.92

131.18

เครื่องประดับแท้

1,711.45

1,129.10

23.63

11.20

-34.03

เพชร

800.37

412.52

11.05

4.09

-48.46

พลอยสี

808.99

321.31

11.17

3.19

-60.28

อื่นๆ

526.56

361.82

7.26

3.60

-31.28

รวม

7,244.22

10,077.60

100.00

100.00

39.11

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

จากตารางที่ 3 เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญพบว่า

  1. สินค้าสำเร็จรูป เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเทียม และเครื่องประดับแพลทินัม ลดลงร้อยละ 12.63, ร้อยละ 47.19, ร้อยละ 36.12 และร้อยละ 36.18 ตามลำดับ
  2. สินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ลดลงร้อยละ 47.87, ร้อยละ 63.36 และร้อยละ 55.05 ตามลำดับ

            ทั้งนี้ ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงมากถึงร้อยละ 42.17 ปัจจัยหลักยังคงเป็นผลกระทบมาจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชน โดยการส่งออกไปยังตลาด/ภูมิภาคสำคัญในการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) (ดังตารางที่ 4) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดหลักเดิมของไทยอย่างสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันเกือบร้อยละ 64 โดยการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 20.89 จากการส่งออกไปยังเบลเยียม อิตาลี สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ตลาดที่อยู่ในอันดับ 2, 3, 4 และ 5 ได้ลดลงร้อยละ 43.13, ร้อยละ 15.16, ร้อยละ 48.74 และร้อยละ 28.42 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังเบลเยียมเป็นเพชรเจียระไน ส่วนสินค้าหลักส่งออกไปยังอิตาลี สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส เป็นเครื่องประดับทอง ที่ต่างมีมูลค่าลดลง ส่วนเยอรมนี ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 44 ยังคงเติบโตได้ร้อยละ 10.28 อันเป็นผลจากการส่งออกเครื่องประดับเงิน สินค้าหลักในสัดส่วนเกือบร้อยละ 80 ได้เพิ่มขึ้น

            มูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ลงลงต่อเนื่องร้อยละ 28.70 จากการส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการไปยังตลาดนี้ได้ลดลงไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน รวมถึงเพชรเจียระไน เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดต่ำลงมาก

            การส่งออกไปยังฮ่องกงลดลงถึงร้อยละ 62.82 อันเป็นผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโควิดทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ อีกทั้งรายได้และการใช้จ่ายของชาวฮ่องกงลดลง ทำให้ไทยส่งออกสินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไน และสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนได้ลดลงมาก

            สำหรับตลาดสำคัญอื่นๆ ที่มีมูลค่าลดลง อาทิ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 40.02 จากการส่งออกไปยังตลาดหลักใน 3 อันดับแรกอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และอิสราเอล ได้ลดลงร้อยละ 51.32, ร้อยละ 7.05 และร้อยละ 54.51 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์เป็นเครื่องประดับทอง ที่มีมูลค่าหดตัวลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาทองคำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีกำลังซื้อจากนักท่องเที่ยวรวมถึงคนในประเทศเหล่านี้ ทั้งนี้ จากรายงานของ World Gold Council ระบุว่า ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ตลาดตะวันออกกลางมีความต้องการเครื่องประดับทองลดลงมากถึงร้อยละ 69 ส่วนสินค้าส่งออกหลักไปยังอิสราเอลเป็นเพชรเจียระไนและเพชรก้อน ที่ต่างปรับตัวลดลง

             การส่งออกไปยังอินเดียลดลงร้อยละ 55.05 จากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการได้ลดลง ได้แก่ เพชร-เจียระไน โลหะเงิน พลอยก้อน และเครื่องประดับเงิน โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งอินเดียมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น และยังคงล็อกดาวน์ประเทศ เศรษฐกิจชะลอตัว เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจ/กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการใช้จ่ายหยุดชะงัก เช่น เทศกาล Akshaya Tritiya (อักษัยตรีติยะ วันแห่งความสำเร็จนิรันดร์ ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นสำหรับทำสิ่งใดก็จะประสบความสำเร็จ) หรือการเลื่อนการแต่งงาน ซึ่งล้วนเป็นเทศกาลที่ชาวอินเดียนิยมซื้อเครื่องประดับเพื่อเป็นของขวัญให้กับตนเองและคนสำคัญ

            ส่วนการส่งออกไปยังอาเซียนปรับตัวลดลงร้อยละ 18.41 จากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 71 ได้ลดลงร้อยละ 21.81 โดยเครื่องประดับเทียม สินค้าสำคัญถัดมาหดตัวลงถึงร้อยละ 56.61 ในขณะที่สินค้าหลักอย่างเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่าเติบโตได้เพียงร้อยละ 5.44 รวมถึงการส่งออกไปยังมาเลเซีย ตลาดในอันดับ 3 ก็หดตัวลงร้อยละ 10.57 เนื่องจากการส่งออกเครื่องประดับเงิน ซึ่งเคยเป็นสินค้าหลักในปีที่ผ่านมาได้ลดลงมากถึงร้อยละ 51.40 ในขณะที่ไทยยังสามารถส่งออกเครื่องประดับทองไปยังตลาดนี้ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.66 ส่วนการส่งออกไปยังเวียดนาม ตลาดในอันดับ 2 เติบโตได้ร้อยละ 5.79 จากการส่งออกสินค้ากึ่งวัตถุดิบอย่างอัญมณีสังเคราะห์ เพชรเจียระไน และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนได้เพิ่มขึ้น  

            ส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังญี่ปุ่นหดตัวลงร้อยละ 21.53 จากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการได้ลดลงไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับทอง เครื่องประดับแพลทินัม เครื่องประดับเงิน และเพชรเจียระไน อันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 2563 จะหดตัวลงถึงร้อยละ 20

            การส่งออกไปยังจีนลดลงร้อยละ 44.42 โดยเป็นผลจากการส่งออกเครื่องประดับเงิน สินค้าหลักในสัดส่วนร้อยละ 90 และเครื่องประดับเทียม สินค้าสำคัญถัดมาได้ลดลงร้อยละ 34.48 และร้อยละ 33.24 ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจของจีนยังไม่ฟื้นตัวดีหลังจากควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้แล้ว โดยพบว่าในไตรมาส 2 การค้าปลีกของจีนหดตัวร้อยละ 3.9 สะท้อนให้เห็นว่าการบริโภคของชาวจีนยังคงชะลอตัว

            มูลค่าการส่งออกไปยังหมู่เกาะแปซิฟิกหดตัวลงร้อยละ 11.89 เนื่องจากการส่งออกไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ตลาดหลักในอันดับ 1 และ 2 ของไทยได้ลดลงร้อยละ 10.85 และร้อยละ 16.37 ตามลำดับ โดยไทยส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินและสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับทองไปยังออสเตรเลียได้ลดลง ส่วนการส่งออกไปยังนิวซีแลนด์นั้น เครื่องประดับเงิน ซึ่งเป็นสินค้าหลักหดตัวลงมาก ในขณะที่สินค้าสำคัญถัดมาอย่างเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า รวมถึงโลหะเงินยังเติบโตได้ดี  

            สำหรับการส่งออกไปยังรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชขยายตัวได้ร้อยละ 25.17 เนื่องจากการส่งออกไปยังรัสเซีย ตลาดอันดับ 1 ของไทยยังขยายตัวได้ร้อยละ 40.36 จากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับ-เงิน และสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเพชรเจียระไน และเครื่องประดับทองได้เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การส่งออกไปยังอาร์เมเนีย และยูเครน ตลาดในอันดับ 2 และ 3 ลดลงร้อยละ 8.48 และร้อยละ 63.75 ตามลำดับ โดยการส่งออกไปยังอาร์เมเนียลดลง จากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างพลอยเนื้อแข็งเจียระไนได้ลดลง ส่วนสินค้าที่ยังเติบโตได้ในตลาดนี้เป็นพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนและเพชรเจียระไน ส่วนการส่งออกไปยังยูเครนลดลง จากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างอัญมณีสังเคราะห์และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนได้ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง แม้ว่าเครื่องประดับเงิน ซึ่งเป็นสินค้าหลักจะเติบโตได้ก็ตาม

ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังตลาด/ภูมิภาคต่างๆ ในระหว่างปี 2562 – 2563

ประเทศ/ภูมิภาค

มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-มิ.ย. 62

ม.ค.-มิ.ย. 63

ม.ค.-มิ.ย. 62

ม.ค.-มิ.ย.63

สหภาพยุโรป

720.96

570.32

18.74

25.64

-20.89

สหรัฐอเมริกา

660.79

471.15

17.18

21.18

-28.70

ฮ่องกง

1,003.63

373.18

26.09

16.77

-62.82

กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

294.27

176.50

7.65

7.93

-40.02

อินเดีย

349.41

157.06

9.08

7.06

-55.05

อาเซียน

145.67

118.86

3.79

5.34

-18.41

ญี่ปุ่น

105.21

82.56

2.73

3.71

-21.53

จีน

109.52

60.87

2.85

2.74

-44.42

ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก

65.15

57.41

1.69

2.58

-11.89

รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช

8.28

10.36

0.22

0.47

25.17

อื่นๆ

384.48

146.49

9.98

6.58

-61.90

รวม

3,847.37

2,224.76

100.00

100.00

-42.17

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

       สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ผู้ประกอบการจะยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งมีโอกาสที่จะกลับมาระบาดรอบสอง และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง อันเนื่องมาจากการหดตัวของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า สถานการณ์ทางการเมืองทั้งในและต่างประเทศที่ไม่นิ่ง ซึ่งจะกระทบต่อความเชื่อมั่นทางการค้า การลงทุน อีกทั้งการจัดการโลจิสติกส์ในประเทศปลายทางยังคงมีอุปสรรค จากมาตรการ lockdown ของแต่ละประเทศ ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทำให้ผู้นำเข้าชะลอคำสั่งซื้อ รวมถึงค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้า โดยเฉพาะในสถานการณ์ซึ่งผู้บริโภคทั่วโลกระมัดระวังการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น

 

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

4 สิงหาคม 2563

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที