การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2563 มีมูลค่า 3,090.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (96,222.65 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 32.64 (ร้อยละ 34.44 ในหน่วยของเงินบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยนำเข้าสินค้าสำคัญเกือบทุกรายลดลง ไม่ว่าจะเป็นทองคำฯ สินค้าหลักในสัดส่วนราวร้อยละ 61 รวมถึงสินค้าสำคัญรองลงมาทั้งเพชรเจียระไน พลอยสีทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และโลหะเงิน ที่ต่างมีมูลค่านำเข้าลดลงอย่างต่อเนื่อง
ตารางที่ 1 มูลค่าการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2563
รายการ |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-พ.ค 62 |
ม.ค.-พ.ค. 63 |
ม.ค.-พ.ค 62 |
ม.ค.-พ.ค. 63 |
||
ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป |
2,718.74 |
1,887.71 |
59.26 |
61.08 |
-30.57 |
เพชร |
839.99 |
465.29 |
18.31 |
15.06 |
-44.61 |
เครื่องประดับแท้ |
330.36 |
251.43 |
7.20 |
8.14 |
-23.89 |
โลหะเงิน |
226.68 |
192.67 |
4.94 |
6.23 |
-15.00 |
พลอยสี |
245.44 |
170.09 |
5.35 |
5.50 |
-30.70 |
อื่นๆ |
226.94 |
123.21 |
4.95 |
3.99 |
-45.71 |
รวม |
4,588.15 |
3,090.40 |
100.00 |
100.00 |
-32.64 |
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2563 เพิ่มขึ้น 1.08 เท่า (1.05 เท่าในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 9,579.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (298,877.36 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 4,605.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (145,257.08 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.79 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย โดยเป็นผลจากการส่งออกทองคำฯ ในสัดส่วนราวร้อยละ 79 ได้เพิ่มสูงกว่า 3.86 เท่า อันเนื่องมาจากการทำกำไรจากส่วนต่างของราคา ในช่วงที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 1,984 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (60,962.51 ล้านบาท) ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 34.80 (ร้อยละ 36.49 ในหน่วยของเงินบาท) ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2563
รายการ |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-พ.ค. 62 |
ม.ค.-พ.ค. 63 |
ม.ค.-พ.ค. 62 |
ม.ค.-พ.ค. 63 |
||
มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด |
4,605.58 |
9,579.95 |
100.00 |
100.00 |
108.01 |
หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ |
1,562.62 |
7,595.95 |
33.93 |
79.29 |
386.10 |
คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ |
3,042.96 |
1,984.00 |
66.07 |
20.71 |
-34.80 |
หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ |
239.04 |
126.97 |
5.19 |
1.33 |
-46.88 |
คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ |
2,803.92 |
1,857.03 |
60.88 |
19.38 |
-33.77 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2563
รายการ |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-พ.ค. 62 |
ม.ค.-พ.ค. 63 |
ม.ค.-พ.ค. 62 |
ม.ค.-พ.ค. 63 |
||
ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป |
1,562.62 |
7,595.95 |
33.93 |
79.29 |
386.10 |
เครื่องประดับแท้ |
1,444.93 |
1,009.51 |
31.37 |
10.54 |
-30.13 |
เพชร |
655.35 |
356.64 |
14.23 |
3.72 |
-45.58 |
พลอยสี |
618.60 |
291.14 |
13.43 |
3.04 |
-52.94 |
อื่นๆ |
324.08 |
326.72 |
7.04 |
3.41 |
0.82 |
รวม |
4,605.58 |
9,579.95 |
100.00 |
100.00 |
108.01 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
จากตารางที่ 3 เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญพบว่า
ทั้งนี้ ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงมากถึงร้อยละ 34.80 นับเป็นมูลค่าส่งออกที่ต่ำที่สุด นับตั้งแต่หลังวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ อันมีปัจจัยหลักมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 หลายประเทศทั่วโลกได้ดำเนินมาตรการปิดเมือง ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ส่งผลให้อุปสงค์และอุปทานต่อสินค้าฟุ่มเฟือยลดลง โดยตลาด/ภูมิภาคสำคัญในการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) (ดังตารางที่ 4) ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดหลักเดิมของไทยอย่างสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง โดยการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 16.97 เนื่องจากการส่งออกไปยังเบลเยียม อิตาลี สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ตลาดที่อยู่ในอันดับ 2, 3, 4 และ 5 ได้ลดลงร้อยละ 40.13, ร้อยละ 15, ร้อยละ 44.39 และร้อยละ 26.03 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังเบลเยียมเป็นเพชรเจียระไน ส่วนสินค้าหลักส่งออกไปยังอิตาลี สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส เป็นเครื่องประดับทอง ที่ต่างมีมูลค่าหดตัวลงค่อนข้างมา ในขณะที่ไทยยังส่งออกไปยังเยอรมนี ตลาดในอันดับที่ 1 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.90 โดยเป็นผลจากการส่งออกเครื่องประดับเงิน สินค้าหลักในสัดส่วนราวร้อยละ 78 ได้เพิ่มสูงขึ้นเกือบร้อยละ 20 ทั้งนี้ ผู้ส่งออกหลักของไทยในตลาดนี้คือ แพนดอร่า ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคยุโรปอยู่ในเมืองฮัมบูร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าของบริษัทไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป
การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ตลาดหลักรองลงมาปรับตัวลดลงร้อยละ 29.08 เนื่องจากการส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการไปยังตลาดนี้ได้ลดลงไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอย-เนื้ออ่อนเจียระไน รวมถึงเพชรเจียระไน อันเนื่องมาจากชาวสหรัฐฯ ขาดความเชื่อมั่นในการบริโภคเป็นอย่างมาก สะท้อนให้เห็นได้จากดัชนีการบริโภค (CPI) ที่ลดลงต่ำที่สุดในรอบกว่า 10 ปี (นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551) ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างหนัก ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญกับความไม่แน่นอนและมีแนวโน้มหดตัวลง โดยเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 4.8 ต่ำสุดในรอบ 11 ปี และเฟดคาดการณ์ว่า ปี 2563 เศรษฐกิจของสหรัฐฯ อาจจะติดลบร้อยละ 6.5
มูลค่าการส่งออกไปยังฮ่องกงลดลงถึงร้อยละ 54.18 เนื่องจากไทยส่งออกสินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไน และสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนได้ลดลงมาก อันเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 และความไม่สงบทางการเมือง ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของฮ่องกงตกต่ำลงอย่างมาก โดยเศรษฐกิจของฮ่องกงในไตรมาสแรกปี 2563 หดตัวลงถึงร้อยละ 8.9 ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฮ่องกง คาดว่าตลอดปี 2563 เศรษฐกิจของเกาะฮ่องกงจะติดลบมากกว่าร้อยละ 7
สำหรับตลาดสำคัญอื่นๆ ที่มีมูลค่าลดลง เช่น กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง หดตัวลงร้อยละ 36.54 อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจอ่อนแอลง จากการที่ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดอย่างหนักในภูมิภาคนี้ และส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนทั้งการท่องเที่ยว การผลิตและการค้า ทำให้เกิดการว่างงานจำนวนมาก กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง
มีผลให้ไทยส่งออกไปหลายตลาดสำคัญได้ลดลงโดยเฉพาะตลาดหลักใน 3 อันดับแรกอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และอิสราเอล ซึ่งมีมูลค่าลดลงร้อยละ 47.12, ร้อยละ 6.46 และร้อยละ 50.23 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังกาตาร์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นเครื่องประดับทอง ส่วนสินค้าหลักส่งออกหลักไปยังอิสราเอลเป็นเพชรเจียระไนและเพชรก้อน ที่ต่างปรับตัวลดลง
การส่งออกไปยังอินเดียลดลงร้อยละ 37.78 โดยมีปัจจัยหลักจากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลดำเนินมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก รวมถึงกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง และการขนส่งที่ทำได้ไม่สะดวก จึงทำให้ไทยส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการไปยังอินเดียได้ลดลงไม่ว่าจะเป็นเพชรเจียระไน โลหะเงิน พลอยก้อน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เว้นเพียงเครื่องประดับเงินที่ยังเติบโตได้ดี
ส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังญี่ปุ่นหดตัวลงร้อยละ 17.57 จากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทอง และสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเครื่องประดับแพลทินัมและเพชรเจียระไนได้ลดลง เนื่องจากการบริโภคในประเทศที่หดตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยหลักทางเศรษฐกิจที่ซบเซามาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมีการใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัส ยิ่งเป็นปัจจัยซ้ำเติมเศรษฐกิจและการบริโภคของญี่ปุ่นให้ทรุดตัวลงไปอีก สะท้อนจากดัชนีนิคเคอิ 225 ที่ปรับลดลงกว่าร้อยละ 17 นับตั้งแต่ต้นปี และดัชนีการทำธุรกิจยังต่ำสุดในรอบ 6 ปีอีกด้วย
การส่งออกไปยังจีนปรับตัวลดลงร้อยละ 47.74 ส่วนหนึ่งมาจากผู้บริโภคจีนและนักลงทุนกังวลว่าจะเกิดสงครามการค้าสหรัฐฯ - จีน รอบใหม่ หลังทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขู่ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนรอบใหม่เพื่อตอบโต้จีนที่เป็นต้นตอของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และการระบาดครั้งใหม่ของไวรัสโควิด-19 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ทำให้ผู้บริโภคชะลอการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย ส่งผลให้ไทยส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน ในสัดส่วนกว่าร้อยละ 92 ได้ลดลงมากถึงร้อยละ 35.40
สำหรับตลาดสำคัญที่ยังมีมูลค่าขยายตัวได้ คือ อาเซียน ซึ่งมีอัตราการเติบโตร้อยละ 17.30 เนื่องจากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และ กัมพูชา ตลาดหลักใน 4 อันดับแรกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.69, ร้อยละ 0.09, ร้อยละ 6.94 และร้อยละ 7.99 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังสิงคโปร์เป็นเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า ส่วนสินค้าหลักส่งออกไปยังมาเลเซียและกัมพูชาเป็นเครื่องประดับทอง ที่ล้วนขยายตัวได้สูง ส่วนการส่งออกไปยังเวียดนามที่เติบโตนั้น เนื่องมาจากการส่งออกสินค้าสำคัญไม่ว่าจะเป็นเพชรเจียระไน พลอย-เนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนได้เพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่สินค้าหลักอย่างอัญมณีสังเคราะห์ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
การส่งออกไปยังรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชเติบโตได้ร้อยละ 24.44 จากการส่งออกไปยังรัสเซีย ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 88 ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.59 ซึ่งสินค้าหลักส่งออกอย่างเพชรเจียระไน และสินค้าสำคัญอย่างเครื่องประดับทองในตลาดนี้เติบโตสูงขึ้นมาก ส่วนการส่งออกไปยังอาร์เมเนีย และยูเครน ตลาดที่อยู่ในอันดับ 2 และ 3 หดตัวลงร้อยละ 2.22 และร้อยละ 69.09 ตามลำดับ โดยตลาดอาร์เมเนียหดตัวลงเพราะการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเพชรก้อนได้ลดลงหนึ่งเท่าตัว ในขณะที่สินค้าสำคัญอื่นๆ อย่างเพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนยังเติบโตได้เป็นอย่างดี สำหรับการส่งออกไปยังยูเครนที่ลดลงนั้น เนื่องมาจากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างอัญมณีสังเคราะห์และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนได้ลดลงมาก ส่วนการส่งออกเครื่องประดับเงิน ซึ่งเป็นสินค้าหลักยังขยายตัวได้สูงในตลาดนี้
แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเริ่มดีขึ้น ธุรกิจเริ่มเปิดกิจการมากขึ้น แต่ผู้ประกอบการก็ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะอาจมีการระบาดรอบใหม่ นอกจากนี้ยังต้องติดตามสถานการณ์โลกที่อาจเกิดเป็นความขัดแย้งรอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน โดยโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ออกมาบอกว่าจีนเป็นสาเหตุของโรคระบาด จนนักลงทุนทั่วโลกรวมทั้งไทยต่างเกิดความกังวลว่า สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ อาจกลับมาอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ช้า รวมถึงค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นนับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ก็จะเป็นปัจจัยซ้ำเติมฉุดการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้านี้
อย่างไรก็ดี หากไม่มีการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศ จะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนกำลังซื้อและความต้องการสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยให้ฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง
ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังตลาด/ภูมิภาคต่างๆ ในระหว่างปี 2562 – 2563
ประเทศ/ภูมิภาค |
มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง |
||
ม.ค.-พ.ค. 62 |
ม.ค.-พ.ค. 63 |
ม.ค.-พ.ค. 62 |
ม.ค.-พ.ค. 63 |
(ร้อยละ) |
|
สหภาพยุโรป |
614.06 |
509.83 |
20.18 |
25.70 |
-16.97 |
สหรัฐอเมริกา |
592.93 |
420.50 |
19.49 |
21.19 |
-29.08 |
ฮ่องกง |
714.77 |
327.54 |
23.49 |
16.51 |
-54.18 |
กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง |
259.47 |
164.67 |
8.53 |
8.30 |
-36.54 |
อินเดีย |
236.84 |
147.35 |
7.78 |
7.43 |
-37.78 |
อาเซียน |
94.71 |
111.09 |
3.11 |
5.60 |
17.30 |
ญี่ปุ่น |
88.14 |
72.66 |
2.90 |
3.66 |
-17.57 |
ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก |
56.60 |
49.61 |
1.86 |
2.50 |
-12.35 |
จีน |
92.45 |
48.31 |
3.04 |
2.44 |
-47.74 |
รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช |
7.45 |
9.26 |
0.24 |
0.47 |
24.44 |
อื่นๆ |
285.53 |
123.17 |
9.38 |
6.21 |
-56.86 |
รวม |
3,042.95 |
1,984.00 |
100.00 |
100.00 |
-34.80 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที