Love

ผู้เขียน : Love

อัพเดท: 08 มี.ค. 2023 14.38 น. บทความนี้มีผู้ชม: 95214 ครั้ง

อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ


อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ

อาหารภาคเหนือ อาหารเหนือ

อาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า

                                  พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน
 ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน

อาหารของภาคเหนือ อาหารเหนือ หรือ อาหารล้านนา มีอยู่มากมายหลายชนิด อาหารบางอย่างมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน มีพืชผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์เป็นส่วนประกอบ มีลักษณะการกินที่เป็นเอกลักษณ์ จึงนิยมนำ พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน อาหารเหนือ เป็นอาหารที่น่าสนใจอีกภาคหนึ่ง เมนูค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น แกง น้ำพริก หรือยำ ประเภทของอาหารก็จะคล้ายภาคอื่น แต่อาหารเหนือจะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์อย่างเด่นชัด เช่นผักบางชนิดก็หาได้ง่ายเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น เพราะภาคเหนือจะเต็มไปด้วยภูเขา จึงมีผัก มีสมุนไพรจากป่าเยอะแยะมากมาย จึงได้พริกแกงที่มีแต่สมุนไพรนานาชนิดๆ

อาหารภาคเหนือ มีมากมาย และมีชื่อเรียกที่แตกต่างจากทุกภาค เราได้รวบรวม สูตรอาหารมากมาย หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็น เมนูต้ม เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูนึ่ง เมนูปิ้งย่าง ลองนำไปทำรับประทานดูได้ อาหารเหนือทำอย่างไรให้อร่อย อาหารเหนือ มีเคล็ดลับอย่างไร

ลักษณะเด่นของอาหารเหนือ สำหรับเอกลักษณ์ของอาหารเหนือ คือ อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานของอาหารจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ผัก ปลา ไขมันจะได้จากน้ำมันของสัตว์ เป็นต้น อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ มีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน

อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ ภาคเหนือของประเทศไทย ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา เป็นอาณาจักรแห่งหนึ่งที่มีความเจริญรุ่งเรือง อาณาเขตขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ พม่า และ ลาว อาหารของชาวล้านนา จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนเผ่าต่าง ๆมากมาย

อาหารของภาคเหนือ นั้นจะ กินข้าวเหนียว เป็น อาหารหลัก และ ทานคู่กับ น้ำพริก เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง และ แกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค เป็นต้น ด้วยสภาพอากาศของทางภาคเหนือ มีอากาศเย็น ลักษณะของอาหาร จึงมีความแตกต่างจากภาคอื่นๆของไทย อาหารส่วนใหญ่ของชาวเหนือ มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว ซึ่งช่วยให้ร่างกายอบอุ่น พืชป่า ที่มักนำมาปรุงอาหารในอาหารเหนือ เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน เป็นต้น

คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก อาหารไทยภาคเหนือ ภาคเหนือ เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีตเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี

ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดนต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วยอาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก

มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องมีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล  ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำ พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน  ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน

อาหารไทยท้องถิ่นในภาคเหนือ 9 เมนู ที่มีความโดดเด่นและรสชาติอร่อย แม้ว่าจะไม่ได้เป็นที่รู้จักดีของชาวต่างชาติเหมือน ต้มยำกุ้ง หรือมัสมั่น แต่เมนู “อาหารเหนือ” เหล่านี้ก็คุ้มค่าที่จะลิ้มลอง โดยผลสำรวจนี้เป็นของนายออสติน บุช (Austin Bush) ช่างภาพและนักเขียน ที่ได้ไปสัมผัสความอร่อยของอาหารเหนือในประเทศไทยมาแล้ว

1. ข้าวซอย ข้าวซอยเป็นแกงที่มีลักษณะคล้ายแกงเขียวหวาน คือเป็นแกงกะทิชนิดหนึ่ง แต่มาในรูปแบบก๋วยเตี๋ยว นิยมปรุงด้วยเนื้อวัวหรือเนื้อไก่เป็นวัตถุดิบหลัก เสิร์ฟมาพร้อมกับผักดอง เป็นอาหารยอดนิยมของคนภาคเหนือ

2. ขนมจีนนำ้เงี้ยว เป็นขนมจีนที่กินกับน้ำยาที่เรียกว่า น้ำเงี้ยว เป็นแกงอย่างหนึ่งของภาคเหนือ มีส่วนประกอบหลักๆ คือ กระดูกหมู พริกแกงที่ทำจากพริกแห้งทางเหนือ มะเขือเทศ เลือดหมู ปรุงแบบสไตล์บ้านๆ ได้กลิ่นอายความเป็นอาหารท้องถิ่นแท้ๆ ตามสูตรดั้งเดิมของป้าบุญศรี ชาวเมืองลำปาง

3. น้ำพริกหนุ่ม เมนูนี้เป็นอาหารไทยภาคเหนือที่เรียกว่า น้ำพริก (Dip) ที่ทำจากพริก หอมแดง กระเทียม นำทั้งหมดย่างไฟจนสุกหอม ก่อนตำเป็นน้ำพริกท้องถิ่น มักกินคู่กับผักต้มและข้าวเหนียวนึ่ง ซึ่งก็นับเป็นอาหารสุขภาพอย่างดีเลย แต่ถ้าจะให้อร่อยขึ้นไปอีก ต้องกินกับข้อไก่ทอด บอกเลยว่าอร่อยเพลินไม่สนใจแคลอรีกันเลยทีเดียว

4. ข้าวซอยน้ำหน้า เมนูนี้เป็นเมนูข้าวซอยชนิดหนึ่ง ที่มีความแตกต่างกับข้าวซอยทั่วไป คือ ข้าวซอยน้ำหน้าจะไม่ใช่แกงกะทิ ไม่มีพริกแกง แต่จะเป็นก๋วยเตี๋ยวน้ำซุปใสๆ ราดด้วยหมูสับที่นำไปเคี่ยวกับถั่วเหลืองหมักและพริกแห้ง (คนภาคเหนือเรียกว่า จิ๊นคั่ว เป็นเนื้อหมูคั่วกับเครื่องแกงและถั่วเน่า)

5. ข้าวแต๋น เมนูนี้รสชาติน่าสนใจสุดๆ เป็นขนมขบเคี้ยวรูปร่างกลมๆ ทำจากข้าวเหนียวที่นำไปผสมรวมกับน้ำตาล เกลือ งา และน้ำแตงโม จากนั้นนำไปตากแห้ง แล้วนำมาทอดจนกรอบฟู ปิดท้ายด้วยการราดน้ำตาลอ้อยบนหน้าขนม

6. ข้าวกั๊นจิ๊น เมนูนี้เป็นการนำข้าวสวย เนื้อหมูสับ เลือดหมู โรยน้ำมันกระเทียมเจียว นำมาห่อรวมกันในใบตองแล้วนำไปนึ่งจนสุก ซึ่งหนุ่มออสตินก็ยอมรับว่า “การนำเลือดมาปรุงอาหารเป็นสิ่งที่แปลกและทำให้ชาวต่างชาติรู้สึกเสียขวัญ แต่ถ้าไม่บอกว่าเมนูนี้ใส่เลือดลงไป ก็จะไม่รู้เลย เพราะรสชาติที่ได้ลองชิมนั้นเผ็ดร้อน หอมกระเทียม และอร่อยมาก”

7. จิ๊นตุ๊บ เมนูนี้ก็คือ เนื้อทุบ หรือเนื้อวัวโขลก ทำจากเนื้อวัวหมักกับน้ำปลา เครื่องเทศ และเกลือ แล้วนำไปย่างบนเตาถ่าน ไฟอ่อนๆ จนสุกและแห้ง จากนั้นนำมาทุบแรงๆ จนได้ยินเสียง ตุ๊บ..ตุ๊บ.. เป็นที่มาของชื่อ จิ๊นตุ๊บ

8. ลาบหมูคั่ว ในขณะที่ภาคอีสานของไทย มีเมนูอร่อยอย่าง ลาบอีสาน ซึ่งใส่สมุนไพรหลายชนิด มีรสเปรี้ยว มีความหอมโดดเด่นจากข้าวคั่ว เมนูลาบอีสานนี้จึงโด่งดังมากสำหรับนักชิมชาวอเมริกันในปัจจุบัน แต่เมื่อคุณได้มาลองชิม ลาบเมือง หรือเมนูลาบของทางภาคเหนือ จะรู้เลยว่ามันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

9. หมูพันปี เมนูนี้เป็นการรวบรวมเอา เนื้อหมูสามชั้น ผักดอง และใบชาอูหลง วางทับซ้อนๆ กัน และนึ่งเป็นเวลา 4 ชั่วโมง เป็นเมนูที่ได้รับอิทธิพลมาจากผู้อพยพชาวจีน ที่มาอาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือของไทย

อ้างอิง:
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย: 
https://www.lovethailand.org/travel/th/
ที่เที่ยวกรุงเทพ ที่เที่ยวกาญจบุรี ที่เที่ยวยะลา ที่เที่ยวปัตตานี ที่เที่ยวราธิวาส
ประเพณีไทย ประเพณีภาคเหนือ ประเพณีภาคกลาง ประเพณีภาคใต้ ประเพณีภาคอีสาน
อาหารภาคเหนือ ขนมไทย ประเทศไทย


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที