ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 13 ก.ค. 2020 10.26 น. บทความนี้มีผู้ชม: 3129 ครั้ง

ในช่วงเวลานี้ที่ประเทศไทย และนานาชาติต่างต้องมีแผนบริหารงานกันในสภาวะที่ไม่ปรกติ ทุกคนต่างต้องปรับตัวเข้าสู่สถานการณ์ให้ได้เพื่อความอยู่รอด องค์กรเองก็เช่นเดียวกัน ในระหว่างที่ทุกอย่างก็ยังต้องดำเนินต่อไป บางท่านต้องเดินทางไปทำงานก็ต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง บางท่านทำงานที่บ้านก็ปรับเปลี่ยนทั้งวิธีการทำงานและใช้เครื่องมือในการทำงานที่ทันสมัยเข้ามาขจัดอุปสรรคในการทำงาน แต่บางท่านก็อาจจะต้องเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ เพราะความเปลี่ยนแปลงที่กระทบอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นจนองค์กรไม่อาจดำรงอยู่ใด้อีกต่อไป


ตอนที่ 1 ปัญหาทางด้านวิชาการที่ขาดการวัดผลสัมฤทธิ์ เพื่อพัฒนากระบวนการให้ความรู้อย่างเป็นระบบ และข้อเสนอแนะสู่แนวทางแก้ไข

ในช่วงเวลานี้ที่ประเทศไทย และนานาชาติต่างต้องมีแผนบริหารงานกันในสภาวะที่ไม่ปรกติ ทุกคนต่างต้องปรับตัวเข้าสู่สถานการณ์ให้ได้เพื่อความอยู่รอด องค์กรเองก็เช่นเดียวกัน ในระหว่างที่ทุกอย่างก็ยังต้องดำเนินต่อไป บางท่านต้องเดินทางไปทำงานก็ต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง บางท่านทำงานที่บ้านก็ปรับเปลี่ยนทั้งวิธีการทำงานและใช้เครื่องมือในการทำงานที่ทันสมัยเข้ามาขจัดอุปสรรคในการทำงาน แต่บางท่านก็อาจจะต้องเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ เพราะความเปลี่ยนแปลงที่กระทบอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นจนองค์กรไม่อาจดำรงอยู่ใด้อีกต่อไป 

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับองค์กรนั้นหลายครั้งเกิดจากปัจจัยภายนอกองค์กร และสร้างผลกระทบที่รุนแรง อีกทั้งการควบคุมปัจจัยภายนอกนั้นแสนลำบาก องค์กรเองทำได้ดีที่สุดคือการสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน โดยการพัฒนาพนักงานในทุกระดับขององค์กร ให้แข็งแกร่งจากภายใน ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตได้ รวมไปถึงการสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ ให้องค์กร ไม่ว่าจะวิกฤตครั้งไหนๆ บุคคลากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถที่ดี มีความยืดหยุ่นพร้อมปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อสนับสนุนธุรกิจให้ได้ในทุกสถานการณ์ ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ซึ่งองค์กรไม่สามารถทดแทนการสิ่งเหล่านี้ด้วยเทคโนโลยีใดๆ และองค์กรต้องลงมือสร้างบุคลากรชั้นยอดเหล่านี้ด้วยระบบขององค์กรเอง เพื่อให้เกิดบุคคลากรที่มีคุณภาพในปริมาณที่เพียงพอต่อธุรกิจ เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรขึ้นนั่นเอง 

เกริ่นนำเสียยาว มาเข้าเรื่องกันสักที ในครั้งนี้ จะขอกล่าวถึงระบบการส่งเสริม QCC ที่ผู้เขียนเองได้ คลุกคลีอยู่พอสมควรในหลายๆ ฐานะ และวันนี้จะขอกล่าวถึงแนวคิดเชิงกลยุทธ์ต่อการยกระดับกิจกรรม QCC ให้สามารถนำไปใช้ยกระดับและพัฒนาบุคลากรในองค์กรได้อย่างจริงจัง ซึ่งผู้เขียนคงจะไม่ขอกล่าวถึงเรื่องพื้นฐานที่หลายท่านทราบดีว่าระบบขับเคลื่อน QCC นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่จะขอกล่าวถึงปัญหาอุปสรรคของการขับเคลื่อนระบบบริหารกิจกรรม QCC และที่สำคัญคือ แนวทาง แนวคิดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเชิงกลยุทธ์

หลายๆ องค์กร มักมองว่าการบริหารกิจกรรมส่งเสริม QCC นั้น ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการพยายามให้คนมีส่วนร่วมให้ได้ทั่วทั้งองค์กร จัดประกวดคัดหากลุ่มชนะเลิศที่มีคะแนนสูงสุด จากนั้นส่งกลุ่มดังกล่าวไปดูงานและแสดงผลงานต่างประเทศ แล้วถือว่าจบกิจกรรม QCC ไป ปีหน้าเริ่มใหม่ (เหมือนเดิม) งบประมาณเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นเพื่ออัดฉีดให้การแข่งขันคึกคัก ให้การอบรม เรียนรู้วิชาการเดิมๆ วนไปตามรอบเวลา สินค้าที่ผลิตมีของเสียมากเหมือนเดิม ต้นทุนสูงกว่าเดิม ส่งสินค้าไม่ทันคล้ายๆ เดิม ลูกค้าร้องเรียนปัญหาเหมือนเดิม เชื่อว่ากิจกรรม QCC นั้นไม่ได้ช่วยให้สิ่งเหล่านี้ดีขึ้น  ความเชื่อที่ผิดพลาดเหล่านี้ถือเป็นแนวคิดที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดการบริหารกิจกรรม QCC เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน 

จะขอกล่าวถึงปัญหาที่พบเป็นประเด็นย่อยๆ ดังนี้ 

1. ปัญหาทางด้านวิชาการที่ขาดการวัดผลสัมฤทธิ์ และการนำไปปรับปรุงกระบวนการให้ความรู้อย่างเป็นระบบ และแนวทางแก้ไข

แนวทางแก้ไข

รูปที่ 1 ตัวอย่างผลการประเมินความรู้ในหมวดวิชาที่ 3 QC Story ด้วย QCC Testing Program ระดับ Implementation Level จัดโดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย – ญี่ปุ่น)

 

บทความโดย เรไร เฟื่องอาวรณ์
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

สนใจวัดความสามารถทางด้าน QCC รอบด้าน ครบทุกมิติ ที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
http://www.tpif.or.th/consult/ 

ติดต่อสอบถาม
admin.sc@tpa.or.th
02-717-3000
(ต่อ คุณพณิตา 629, คุณวิชุดา 622) 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที