ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 19 มิ.ย. 2020 13.43 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5059 ครั้ง

การวัดความรู้ ความสามารถของบุคลากรด้าน QCC เพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ


ตอนที่ 1/3 ตำแหน่ง บทบาทหน้าที่ และความสามารถที่ควรจะมีของบุคลากรด้าน QCC

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของ ส.ส.ท. ในการเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องสถิติ เครื่องมือพื้นฐานของคิวซี (QC 7 Tools) กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ (QC Story) ก็ยังพบว่าในองค์กรส่วนใหญ่ที่มีการทำกิจกรรม QCC มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีแต่ยังพบปัญหาในการยกระดับผลงานกิจกรรมในภาพรวมขององค์กร โดยเมื่อมองมิติด้านคุณภาพของผลการดำเนินกิจกรรมไม่สามารถยกระดับให้สูงขึ้นได้ เนื่องจากปัญหาหลายปัจจัย จากผลการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญ วิทยากร ที่ปรึกษา เฉพาะด้านกิจกรรม QCC พบว่าสาเหตุหลักเนื่องมาจาก ความสามารถของบุคคลากรในกิจกรรมยังไม่เพียงพอทำให้กิจกรรมยังไม่สามารถยกระดับได้ดีเท่าที่ควร ที่ผ่านมาองค์กรต่างๆ ได้ให้ความรู้กับพนักงาน และฝึกปฏิบัติผ่านกิจกรรม QCC มาหลายรอบจนเข้าใจว่าเรียนมามาก ประยุกต์ใช้มาก ไม่มีความจำเป็นต้องเรียนรู้อะไรอีก การวัดระดับความรู้ความสามารถที่แท้จริงของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม QCC จึงมีความสำคัญ
 
ในการวัดระดับความรู้ของ ความสามารถของบุคลากรทางด้าน QCC จำเป็นต้องทราบถึง ตำแหน่งและบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างกลุ่มและโครงสร้างองค์กร
 
การจัดหน้าที่ตามของกิจกรรม QCC แต่ละกลุ่ม
 
· หัวหน้ากลุ่ม QCC (QCC Leader)ทำหน้าที่ จัดประชุมกลุ่ม QCC และติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามจุดประสงค์ ให้ความรู้เรื่องเทคนิคเฉพาะด้านและความรู้เรื่อง QC แก่สมาชิก แก้ไขปัญหาระหว่างทำกิจกรรม QCC สร้างความร่วมมือในกลุ่ม (ทีมเวิร์ค) จำเป็นต้องมีความรู้ เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม QCC ที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจกรรม QCC
 
· เลขากลุ่ม QCC (QCC Member) ทำหน้าที่ จัดการด้านการประชุมให้เป็นไปด้วยความสะดวก เช่น จัดเตรียมเอกสารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ, จัดระเบียบวาระการประชุม, จดบันทึกการประชุม,เรียบเรียงรายงาน, จัดเก็บรายงาน เป็นต้น และทำหน้าที่อื่นตามที่หัวหน้ากลุ่มมอบหมาย จำเป็นต้องมีความรู้ เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม QCC ที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจกรรม QCC
 
· สมาชิกกลุ่ม QCC (QCC Member)ทำหน้าที่ในการดำเนินงานของกลุ่ม โดยเข้าร่วมประชุมกลุ่ม QCC และดำเนินกิจกรรมให้คืบหน้า บรรลุจุดประสงค์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่ม พัฒนาตนเองโดยอาศัยการทำกิจกรรม ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงานอย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีความรู้ เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม QCC ที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจกรรม QCC
 
ที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรม QCC (QCC Advisor) เป็นผู้คอยดูแลและให้คำปรึกษากิจกรรมQCC ของกลุ่มที่รับเป็นที่ปรึกษา จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม QCC ในระดับลึกมากขึ้น อีกทั้งต้องมีความสามารถในการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการดำเนินกิจกรรม QCC จนประสบความสำเร็จได้
 
ตัวอย่าง แผนผังโครงสร้างสนับสนุนกิจกรรม QCC ในองค์กร
 
· คณะกรรมการตัดสินผลงาน และผู้เชี่ยวชาญด้าน QCC ภายในองค์กร ทำหน้าที่ ร่วมพัฒนาเกณฑ์การตัดสิน และบ่งชี้ระดับคะแนนที่ชัดเจน คัดเลือกผลงานขององค์กรตามเกณฑ์ในแต่ละรอบการประกวดตามที่องค์กรมอบหมาย ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการ QCC เพื่อยกระดับกิจกรรม จึงต้องมีความรู้ ความสามารถ ระดับ ผู้เชี่ยวชาญ QCC ภายในองค์กรในการสร้างแนวทางการประเมินผลงานมุ่งสู่
 
การยกระดับกิจกรรม QCC อย่างเป็นระบบ และสามารถประเมินผลงาน และให้คำแนะนำกับกลุ่ม QCC ในหลายกลุ่มงาน ภายในองค์กรได้
 
บทความโดย เรไร เฟื่องอาวรณ์
 
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
สนใจวัดความสามารถทางด้าน QCC รอบด้าน ครบทุกมิติ ที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) http://www.tpif.or.th/consult/
 
ติดต่อสอบถาม
admin.sc@tpa.or.th
02-717-3000
(ต่อ คุณพณิตา 629, คุณวิชุดา 622)
 
----------------------------------------------------------

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที