ไอบูโพรเฟน ระวังให้ดี ยานี้อย่าใช้ในช่วง Covid-19
“ไอบูโพรเฟน” หลายคนคงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าสามารถรักษาอาการจาก Covid-19 ได้หรือไม่ เนื่องจากองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ตัวยา แต่เมื่อไม่น่ากลับยกเลิกคำแนะนำ แล้วจริงๆ รักษาได้หรือไม่ มาศึกษาไปพร้อมกัน
-
เริ่มจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของฝรั่งเศส ประกาศว่ายาต้านการอักเสบ เช่น ibuprofen หรือ cortisone อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ติดเชื้อ Covid-19 มีอาการแย่ลง เขาแนะนำว่าควรใช้ตัวยาพาราเซตามอลแทน โดยที่ระบบบริการสุขภาพของอังกฤษก็แนะนำเช่นกัน
-
ไอบูโพรเฟน เป็นยาแก้อักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ ช่วยลดอาการปวดและอักเสบได้ ในขณะพาราเซตามอลก็รักษาอาการได้เช่นกัน
-
สัญญาณของ covid-19 คือการมีไข้สูง พร้อมกับหายใจถี่และมีอาการไอ ซึ่งร่ายกายจะสร้างห่วงโซ่โมเลกุล ให้เก็บความร้อนในร่างกายเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นกลไลหนึ่งในการป้องกันร่างกาย ซึ่งุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ บางครั้งเมื่อมีไข้ เรามักปวดหัว คลื่นไส้ ร่วมด้วย การกินยาแก้อักเสบหรือยาพาราเซตามอลจะทำให้อุณหภูมิลดลงได้
-
สาเหตุที่ทำให้ผู้คนเกิดความกังวล เพราะก่อนหน้านี้ มีการศึกษาว่าคนที่มีการติดเชื้อทรวงอก เมื่อใช้ยา จะมีอาการรุนแรง และสภาพร่างกายแย่ลง และไม่ควรใช้ยาไอบูโพรเฟน หากไม่มีคำสั่งจากแพทย์ หรืออีกนัยหนึ่งคือยาไอบูโพรเฟน จะช่วยยับยั้งอาการเจ็บปวด ทำให้สังเกตเห็นความผิดปกติได้ยาก และรักษาอาการช้าออกไปอีก
-
มีวิจัยของฝรั่งเศส กล่าวว่า ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAID เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อทรวงอก เพราะการศึกษามีผลลัพธ์ที่แย่ลงเมื่อใช้ยากลุ่ม NSAID แต่ไม่มีขอสรุปว่ายาไอบูโพรเฟน จะทำให้อาการแย่ลง
-
รายงานล่าสุด ชี้แจ้งถึงว่าไอบูโพรเฟนใน Covid-19 จะมีผลกระทบต่อเอนไซม์ในร่างกาย แม้ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานถึงอันตรายของไอบูโพรเฟน ว่าจะเป็นอันตรายหรือทำให้อาการแย่ลง
-
หากใครที่กังวลและคิดว่าตนเองติดเชื้อ สามารถหลีกเลี่ยงและเลือกใช้ตัวยาพาราเซตามอลแทนได้
ในขณะนี้คณะกรรมการยาของอังกฤษและสถาบันสุขภาพและการดูแลแห่งชาติ อยู่ระหว่างตัวสอบหลักฐานการวิจัย การทดลองทั้งหมด เพื่อยืนยันถึงอันตรายและผลกระทบที่แท้จริงของยาไอบูโพรเฟน เบื้องต้นยาตัวนี้ไม่เหมาะแก่ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีโรคหัวใจ ผู้สูงอายุเกิน 65 ปี รวมถึงผู้ที่คาดว่าจะตั้งครรภ์หรือมีการตั้งครรภ์แล้ว
อ่านบทความดี ๆ เกี่ยวกับแม่และเด็กได้ที่ Story.motherhood.co.th อาทิ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, หน้ากากอนามัยและหัดเยอรมัน โรคติดต่อจากสู่ลูก, เป็นต้น
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : ไอบูโพรเฟน ระวังให้ดี ยานี้อย่าใช้ในช่วง Covid-19