editor

ผู้เขียน : editor

อัพเดท: 11 ต.ค. 2006 10.22 น. บทความนี้มีผู้ชม: 110833 ครั้ง

กิจกรรมไคเซ็นเป็นเทคนิคของการปรับปรุงวิธีการทำงานของตนเอง เพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายได้สบายกว่าเดิม เหมาะสำหรับทุกขนาดของทุกวิสาหกิจ และที่สำคัญคือ เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่จำเป็นที่จะต้องสร้างสมสำหรับจะก้าวไปสู่เครื่องมือบริหารจัดการที่สูงขี้นไป เช่น 5 ส QCC, TPM, TQM ได้ง่ายและเร็วขี้น


“กิจกรรมไคเซ็น” คือ “กิจกรรมที่ทำให้ทำงานน้อยลง”

      การส่งเสริมการทำกิจกรรมไคเซ็น คือ การรณรงค์ให้ทั้งบริษัท “ทำงานให้น้อยลง” ในสมัยก่อนการที่จะบรรลุหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมานั้น วิธีที่ชอบใช้กันก็คือ พยายามเข้าไป ทำอย่างเต็มที่  แต่ปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่ต้องการประหยัดเวลา ไม่สามารถนำวิธีเหล่านี้มาใช้ได้อีกต่อไปในการบรรลุเป้าหมายการทำงานนั้น พนักงานจำเป็นจะต้องทำงานให้น้อยลงแน่นอจะต้องเป็นการไคเซ็นที่มี “การเปลี่ยนแปลงขั้นตอนหรือวิธีการทำงาน”

     ปัจจุบันเป็นสมัยที่ต้องใช้ “การประดิษฐ์คิดค้น” ซึ่งก็คือ “การทำงานให้น้อยลงโดยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน” ถ้ามีคนบอกว่าให้พยายามทำไปเถอะ จะไม่ค่อยมีใครชอบ แต่ถ้าบอกว่า ทำงานให้น้อยลงแล้วละก็ทุกคนย่อมยินดี ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่ไคเซ็นจะถูกรังเกียจ คนที่รังเกียจหรือต่อต้านกิจกรรมไคเซ็น อาจจะเป็นคนที่เข้าใจความหมายของคำว่า “ไคเซ็น” ผิดไปก็ได้ ไคเซ็นไม่ใช่เป็น “การทำให้มาก” ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นการสนับสนุนให้เกิด “การประดิษฐ์คิดค้น” เพื่อจะได้ “ทำงานให้น้อยลง”

      ทำให้มาก กับ ทำให้น้อย นั้นต่างก็ “ทำ” เหมือนกันแต่ความหมายตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง และผลที่เกิดจากคำสองคำนี้ก็ต่างกันไปด้วย “ทำให้มาก” คือ การเพิ่มแรงงานและเวลาเพื่อที่จะทำให้ผลงานเพิ่มมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม “ทำให้น้อยลง” คือ การลดหรือไม่เพิ่มปัจจัยนำเข้าแต่กลับสามารถสร้างผลงานได้มากขึ้น การจะเป็นเช่นนี้ได้ก็ต้องเกิดจากการเปลี่ยน “ขั้นตอนการดำเนินงาน แนวทาง หรือวิธีการทำงาน”


บทความโดย :
อาจารย์อนุชิต  โอสถานนท์
ที่ปรึกษาอุตสาหกรรม
ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
โทร. 0-2717-3000 ต่อ 633
E-mail: anuchit@tpa.or.th
Web Site : http://www.tpa.or.th/shindan/kaizen.php



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที