editor

ผู้เขียน : editor

อัพเดท: 11 ต.ค. 2006 10.22 น. บทความนี้มีผู้ชม: 111328 ครั้ง

กิจกรรมไคเซ็นเป็นเทคนิคของการปรับปรุงวิธีการทำงานของตนเอง เพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายได้สบายกว่าเดิม เหมาะสำหรับทุกขนาดของทุกวิสาหกิจ และที่สำคัญคือ เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่จำเป็นที่จะต้องสร้างสมสำหรับจะก้าวไปสู่เครื่องมือบริหารจัดการที่สูงขี้นไป เช่น 5 ส QCC, TPM, TQM ได้ง่ายและเร็วขี้น


ไคเซ็น คืออะไร

      ถ้าเราไม่จำกัดความหมายของคำว่า “ไคเซ็น” ให้ชัดเจนแล้ว ก็จะไม่สามารถคุยถึงเรื่องนี้ได้ต่อไป โดยปกติพวกเราคุ้นเคยกับคำว่า “ไคเซ็น (การปรับปรุง)” ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงทำให้รู้สึกเหมือนว่าเข้าใจถึงคำนี้ดี ใคร ๆ ก็คิดว่าเข้าใจคำนี้มาตั้งนานแล้ว

     แต่นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง แต่ละคนใช้คำว่า “ไคเซ็น” ในความหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นถึงแม้ว่าจะใช้คำว่า “ไคเซ็น” เหมือนกัน แต่ก็เข้าใจถึงความหมายของไคเซ็นต่างกันและนั้นเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความสับสนในกิจกรรมไคเซ็น 
 
      ในการส่งเสริมกิจกรรมไคเซ็นนั้น สิ่งที่ต้องมาก่อนเป็นอันดับแรกก็คือการทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “ไคเซ็น” ให้กระจ่าง มิฉะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องเอ่ยปากว่า “กรุณาทำไคเซ็น” “ทำไคเซ็นกันเถอะ”

      ถ้าเช่นนั้นคำว่า “ไคเซ็น” นั้นมีความหมายอย่างไร

     ในตัวหนังสือญี่ปุ่นนั้นแปลตามตัวได้ว่า “ปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้น” อาจจะทำให้บางคนพอเข้าใจขึ้นมาบ้างแต่ในโลกนี้ย่อมไม่มีคำนิยามใด ๆ ที่จะทำให้คนเข้าใจได้ทันที ถ้าอย่างนั้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายจะนิยามคำว่า “ไคเซ็น  คือ การทำงานให้น้อยลง”  

     บางท่านตกใจว่าทำงานให้น้อยลงหรือ ไม่มีทางหรอก “ถ้าทำอย่างนั้นก็จะเป็นเรื่องใหญ่มาก จะทำให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นของเสียจะมากขึ้นด้วย”  แต่นั้นคือการทำงานให้น้อยลงแบบปล่อยปละละเลยมักง่ายก็ย่อมทำให้เกิดปัญหา

     ดังนั้นจึงขอใส่เงื่อนไขเข้าไปอีกข้อหนึ่งคือ “ด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงานเสียใหม่ ดังนั้น “ไคเซ็น คือ การทำงานให้น้อยลงด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงานเสียใหม่”



ท่านสามารถรับฟังเสียงบทความนี้ ทาง TPA Radio

1. KAIZEN คืออะไร ช่วงที่ 1  [ ฟังแบบปกติ] [ ฟังแบบเสียงคุณภาพสูง ]
2. KAIZEN คืออะไร ช่วงที่ 2  [ ฟังแบบปกติ ] [ ฟังแบบเสียงคุณภาพสูง ]


บทความโดย :
อาจารย์อนุชิต  โอสถานนท์
ที่ปรึกษาอุตสาหกรรม
ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
โทร. 0-2717-3000 ต่อ 633
E-mail: anuchit@tpa.or.th
Web Site : http://www.tpa.or.th/shindan/kaizen.php



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที