GIT Information Center

ผู้เขียน : GIT Information Center

อัพเดท: 03 เม.ย. 2020 23.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1049 ครั้ง

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2563 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71.67 หรือมีมูลค่า 3,746.33 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 2 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.30 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 1,125.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 18.01 ตลาดหลักอย่างสหภาพยุโรป และฮ่องกง ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันราวร้อยละ 40 รวมถึงจีน หดตัวลงจากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่วนตลาดที่ยังเติบโตได้เป็นบวกนั้น หลายประเทศยังไม่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดนี้อย่างชัดเจน


สถานการณ์การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2563

             การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 มีมูลค่า 1,384.43 ล้านเหรียญสหรัฐ (42,217.83 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 13.39 (ร้อยละ 23.23 ในหน่วยของเงินบาท) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้านำเข้าหลักเกือบครึ่งหนึ่งเป็นทองคำฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 29.83 อันเป็นผลมาจากผู้นำเข้าชะลอการนำเข้าทองคำฯ ในช่วงที่ราคาทองคำฯ ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการนำเข้าเพชรก้อนและโลหะเงินก็หดตัวลงมาก 

            การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 เติบโตสูงถึงร้อยละ 71.67 (ร้อยละ 62.04 ในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 3,746.33 ล้านเหรียญสหรัฐ (112,573.66 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 2,182.34 ล้านเหรียญสหรัฐ (69,472.51 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 2 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.30 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 1,125.57 ล้านเหรียญสหรัฐ (33,820.47 ล้านบาท) ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 18.01 (ร้อยละ 22.61 ในหน่วยของเงินบาท) ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2563

รายการ

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-ก.พ. 62

ม.ค.-ก.พ. 63

ม.ค.-ก.พ. 62

ม.ค.-ก.พ. 63

มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด

2,182.34

3,746.33

100.00

100.00

71.67

หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ

809.51

2,620.76

37.09

69.96

223.75

คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ

1,372.83

1,125.57

62.91

30.04

-18.01

หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ

75.28

49.97

3.45

1.33

-33.62

คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ

1,297.55

1,075.60

59.46

28.71

-17.11

 

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญพบว่า

  1. สินค้าสำเร็จรูป เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 15.63, ร้อยละ 8.14 และร้อยละ 9.83 ตามลำดับ ส่วนเครื่องประดับแพลทินัม ยังเติบโตได้ร้อยละ 11.42
  2. สินค้ากึ่งสำเร็จรูป พลอยเนื้อแข็งเจียระไน พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และเพชรเจียระไน ลดลงร้อยละ 43.48, ร้อยละ 34.84 และร้อยละ 29.96 ตามลำดับ

            ตลาด/ภูมิภาคสำคัญในการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) (ดังตารางที่ 2)  ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2563 คือ สหภาพยุโรป ลดลงร้อยละ 1.13 เป็นผลมาจากการส่งออกไปยังเบลเยียมและสหาราชอาณาจักร ตลาดสำคัญในอันดับ 3 และ 4 ได้ลดลงร้อยละ 8.52 และร้อยละ 15.19 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังเบลเยียม เป็นเพชรเจียระไน ส่วนสินค้าหลักส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรเป็นเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงิน ที่ล้วนมีมูลค่าลดลง สำหรับตลาดที่ยังเติบโตได้ คือ เยอรมนี ตลาดอันดับ 1 ที่ขยายตัวได้เล็กน้อยร้อยละ 0.99 เนื่องจากสินค้าหลักราวร้อยละ 80 เป็นเครื่องประดับเงินเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.7 ส่วนการส่งออกไปยังอิตาลี ตลาดในอันดับ 2 เติบโตได้ร้อยละ 6.72 เนื่องจากการส่งออกพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนและเพชรเจียระไนได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทองหดตัวลงร้อยละ 0.96

            การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.68 มาจากการส่งออกเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน รวมถึงเพชรเจียระไน ได้เพิ่มสูงขึ้น

            มูลค่าการส่งออกไปยังฮ่องกงลดลงร้อยละ 67.49 อันเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้การดำเนินธุรกิจหยุดชะงัก  อีกทั้งความต้องการบริโภคภายในประเทศและประเทศคู่ค้าก็ลดลงด้วย จึงทำให้มีการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างอัญมณีและเครื่องประดับลดลงมาก  ไทยจึงส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเพชรเจียระไน เครื่องประดับทอง และพลอยเนื้อแข็งเจียระไนไปยังตลาดนี้ได้ลดลงมาก

            การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางขยายตัวร้อยละ 16.61 เป็นผลมาจากการส่งออกไปยังสหรัฐ-อาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี และโอมาน  ตลาดในอันดับ 2, 4 และ 5 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.32, 7.10 เท่า และ 1.12 เท่า ตามลำดับ  โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังทั้งสามประเทศเป็นเครื่องประดับทองที่เติบโตได้สูงถึงร้อยละ 33.36, 81.84 เท่า และ 1.15 เท่า ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกไปยังกาตาร์ และอิสราเอล ตลาดในอันดับ 1 และ 3 หดตัวลง
ร้อยละ 0.70 และร้อยละ 17.44  ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังกาตาร์เกือบทั้งหมดเป็นเครื่องประดับทอง ซึ่งหดตัวลงร้อยละ 0.63 ส่วนอิสราเอล  สินค้าสำคัญถัดมาอย่างพลอยก้อนหดตัวลงร้อยละ 37.67 ในขณะที่สินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไนก็เติบได้เพียงร้อยละ 3.63

            มูลค่าการส่งออกไปยังอินเดียปรับตัวสูงกว่า 1.03 เท่า เนื่องมาจากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการไปได้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเพชรเจียระไน เพชรก้อน เครื่องประดับเงิน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน

            ส่วนการส่งออกไปยังอาเซียนเติบโตสูงกว่า 1.07 เป็นผลมาจากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ กัมพูชา และเวียดนาม ตลาดหลักใน 3 อันดับแรก ได้เพิ่มสูงกว่า 1.51 เท่า, 1.11 เท่า และร้อยละ 65.95 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังสิงคโปร์เป็นเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า สินค้าหลักส่งออกไปยังกัมพูชาเป็นเครื่องประดับทอง ส่วนสินค้าส่งออกหลักไปยังเวียดนามเป็นอัญมณีสังเคราะห์ ที่ต่างขยายตัวได้ดี

            มูลค่าการส่งออกไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.54 เนื่องมาจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทอง และสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเครื่องประดับแพลทินัม เครื่องประดับเงิน และเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า ได้เพิ่มสูงขึ้น

             สำหรับการส่งออกไปยังประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกเติบโตร้อยละ 23.11อันเป็นผลมาจากการส่งออกไปยังออสเตรเลีย ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 86 ได้สูงขึ้นร้อยละ 21.50 จากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.54 อีกทั้งนิวซีแลนด์ ตลาดในอันดับ 2 ก็เติบโตได้ถึงร้อยละ 35.92 เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้ารองลงมาอย่างเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า ต่างขยายตัวได้สูงขึ้น

             ส่วนการส่งออกไปยังจีนลดลงร้อยละ 64.02 เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้มีการปิดหลายเมืองและหยุดดำเนินธุรกิจชั่วคราว และผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น มีผลให้ไทยส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้าถัดมาอย่างเครื่องประดับทองไปยังตลาดนี้ได้ลดลงมาก

            มูลค่าการส่งออกไปยังรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชขยายตัวสูงกว่า 1.32 เท่า เนื่องจากการส่งออกไปยังรัสเซียและอาร์เมเนีย ตลาดใน 2 อันดับแรกได้เพิ่มสูงกว่า 1.64 เท่า และร้อยละ 75.17 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังรัสเซีย เป็นเพชรเจียระไนที่เติบโตสูงกว่า 15.36 เท่า ส่วนสินค้าสำคัญที่ส่งออกไปยังอาร์เมเนียคือ พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และเพชรเจียระไน ที่ต่างมีมูลค่าเติบโตสูงมาก

            ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงของไทยในรูปเงินเหรียญสหรัฐ (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ที่ลดลงนั้น เป็นผลกระทบมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ
โควิด-19 ที่เริ่มต้นมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน เมื่อเดือนธันวาคมปี 2562 และลุกลามไปกว่า 160 ประเทศทั่วโลกแล้วในปัจจุบัน ฉุดรั้งความต้องการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างอัญมณีและเครื่องประดับในหลายประเทศ ส่วนตลาดที่ยังเติบโตได้เป็นบวกนั้น หลายประเทศยังไม่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดนี้อย่างชัดเจน อาทิ กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก เป็นต้น

ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังตลาด/ภูมิภาคต่างๆ ในระหว่างปี 2562 – 2563

ประเทศ/ภูมิภาค

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

ม.ค.-ก.พ. 62

ม.ค.-ก.พ. 63

ม.ค.-ก.พ. 62

ม.ค.-ก.พ. 63

(ร้อยละ)

สหภาพยุโรป

289.98

286.68

21.12

25.47

-1.13

สหรัฐอเมริกา

213.66

247.16

15.56

21.96

15.68

ฮ่องกง

529.88

172.25

38.60

15.30

-67.49

กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

104.39

121.73

7.60

10.81

16.61

อินเดีย

41.07

83.38

2.99

7.41

103.02

อาเซียน

34.57

71.64

2.52

6.36

107.22

ญี่ปุ่น

33.14

35.64

2.41

3.17

7.54

ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก

20.20

24.87

1.47

2.21

23.11

จีน

39.65

14.27

2.89

1.27

-64.02

รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช

2.75

6.42

0.20

0.57

132.92

อื่นๆ

63.53

61.52

4.64

5.47

-3.15

รวม

1,372.82

1,125.56

100.00

100.00

-18.01

 

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

 

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที