การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 มีมูลค่า 1,384.43 ล้านเหรียญสหรัฐ (42,217.83 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 13.39 (ร้อยละ 23.23 ในหน่วยของเงินบาท) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้านำเข้าหลักเกือบครึ่งหนึ่งเป็นทองคำฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 29.83 อันเป็นผลมาจากผู้นำเข้าชะลอการนำเข้าทองคำฯ ในช่วงที่ราคาทองคำฯ ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการนำเข้าเพชรก้อนและโลหะเงินก็หดตัวลงมาก
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 เติบโตสูงถึงร้อยละ 71.67 (ร้อยละ 62.04 ในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 3,746.33 ล้านเหรียญสหรัฐ (112,573.66 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 2,182.34 ล้านเหรียญสหรัฐ (69,472.51 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 2 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.30 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 1,125.57 ล้านเหรียญสหรัฐ (33,820.47 ล้านบาท) ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 18.01 (ร้อยละ 22.61 ในหน่วยของเงินบาท) ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2563
รายการ |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-ก.พ. 62 |
ม.ค.-ก.พ. 63 |
ม.ค.-ก.พ. 62 |
ม.ค.-ก.พ. 63 |
||
มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด |
2,182.34 |
3,746.33 |
100.00 |
100.00 |
71.67 |
หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ |
809.51 |
2,620.76 |
37.09 |
69.96 |
223.75 |
คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ |
1,372.83 |
1,125.57 |
62.91 |
30.04 |
-18.01 |
หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ |
75.28 |
49.97 |
3.45 |
1.33 |
-33.62 |
คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ |
1,297.55 |
1,075.60 |
59.46 |
28.71 |
-17.11 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญพบว่า
ตลาด/ภูมิภาคสำคัญในการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) (ดังตารางที่ 2) ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2563 คือ สหภาพยุโรป ลดลงร้อยละ 1.13 เป็นผลมาจากการส่งออกไปยังเบลเยียมและสหาราชอาณาจักร ตลาดสำคัญในอันดับ 3 และ 4 ได้ลดลงร้อยละ 8.52 และร้อยละ 15.19 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังเบลเยียม เป็นเพชรเจียระไน ส่วนสินค้าหลักส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรเป็นเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงิน ที่ล้วนมีมูลค่าลดลง สำหรับตลาดที่ยังเติบโตได้ คือ เยอรมนี ตลาดอันดับ 1 ที่ขยายตัวได้เล็กน้อยร้อยละ 0.99 เนื่องจากสินค้าหลักราวร้อยละ 80 เป็นเครื่องประดับเงินเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.7 ส่วนการส่งออกไปยังอิตาลี ตลาดในอันดับ 2 เติบโตได้ร้อยละ 6.72 เนื่องจากการส่งออกพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนและเพชรเจียระไนได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทองหดตัวลงร้อยละ 0.96
การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.68 มาจากการส่งออกเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน รวมถึงเพชรเจียระไน ได้เพิ่มสูงขึ้น
มูลค่าการส่งออกไปยังฮ่องกงลดลงร้อยละ 67.49 อันเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้การดำเนินธุรกิจหยุดชะงัก อีกทั้งความต้องการบริโภคภายในประเทศและประเทศคู่ค้าก็ลดลงด้วย จึงทำให้มีการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างอัญมณีและเครื่องประดับลดลงมาก ไทยจึงส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเพชรเจียระไน เครื่องประดับทอง และพลอยเนื้อแข็งเจียระไนไปยังตลาดนี้ได้ลดลงมาก
การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางขยายตัวร้อยละ 16.61 เป็นผลมาจากการส่งออกไปยังสหรัฐ-อาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี และโอมาน ตลาดในอันดับ 2, 4 และ 5 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.32, 7.10 เท่า และ 1.12 เท่า ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังทั้งสามประเทศเป็นเครื่องประดับทองที่เติบโตได้สูงถึงร้อยละ 33.36, 81.84 เท่า และ 1.15 เท่า ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกไปยังกาตาร์ และอิสราเอล ตลาดในอันดับ 1 และ 3 หดตัวลง
ร้อยละ 0.70 และร้อยละ 17.44 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังกาตาร์เกือบทั้งหมดเป็นเครื่องประดับทอง ซึ่งหดตัวลงร้อยละ 0.63 ส่วนอิสราเอล สินค้าสำคัญถัดมาอย่างพลอยก้อนหดตัวลงร้อยละ 37.67 ในขณะที่สินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไนก็เติบได้เพียงร้อยละ 3.63
มูลค่าการส่งออกไปยังอินเดียปรับตัวสูงกว่า 1.03 เท่า เนื่องมาจากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการไปได้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเพชรเจียระไน เพชรก้อน เครื่องประดับเงิน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน
ส่วนการส่งออกไปยังอาเซียนเติบโตสูงกว่า 1.07 เป็นผลมาจากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ กัมพูชา และเวียดนาม ตลาดหลักใน 3 อันดับแรก ได้เพิ่มสูงกว่า 1.51 เท่า, 1.11 เท่า และร้อยละ 65.95 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังสิงคโปร์เป็นเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า สินค้าหลักส่งออกไปยังกัมพูชาเป็นเครื่องประดับทอง ส่วนสินค้าส่งออกหลักไปยังเวียดนามเป็นอัญมณีสังเคราะห์ ที่ต่างขยายตัวได้ดี
มูลค่าการส่งออกไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.54 เนื่องมาจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทอง และสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเครื่องประดับแพลทินัม เครื่องประดับเงิน และเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า ได้เพิ่มสูงขึ้น
สำหรับการส่งออกไปยังประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกเติบโตร้อยละ 23.11อันเป็นผลมาจากการส่งออกไปยังออสเตรเลีย ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 86 ได้สูงขึ้นร้อยละ 21.50 จากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.54 อีกทั้งนิวซีแลนด์ ตลาดในอันดับ 2 ก็เติบโตได้ถึงร้อยละ 35.92 เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้ารองลงมาอย่างเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า ต่างขยายตัวได้สูงขึ้น
ส่วนการส่งออกไปยังจีนลดลงร้อยละ 64.02 เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้มีการปิดหลายเมืองและหยุดดำเนินธุรกิจชั่วคราว และผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น มีผลให้ไทยส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้าถัดมาอย่างเครื่องประดับทองไปยังตลาดนี้ได้ลดลงมาก
มูลค่าการส่งออกไปยังรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชขยายตัวสูงกว่า 1.32 เท่า เนื่องจากการส่งออกไปยังรัสเซียและอาร์เมเนีย ตลาดใน 2 อันดับแรกได้เพิ่มสูงกว่า 1.64 เท่า และร้อยละ 75.17 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังรัสเซีย เป็นเพชรเจียระไนที่เติบโตสูงกว่า 15.36 เท่า ส่วนสินค้าสำคัญที่ส่งออกไปยังอาร์เมเนียคือ พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และเพชรเจียระไน ที่ต่างมีมูลค่าเติบโตสูงมาก
ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงของไทยในรูปเงินเหรียญสหรัฐ (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ที่ลดลงนั้น เป็นผลกระทบมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ
โควิด-19 ที่เริ่มต้นมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน เมื่อเดือนธันวาคมปี 2562 และลุกลามไปกว่า 160 ประเทศทั่วโลกแล้วในปัจจุบัน ฉุดรั้งความต้องการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างอัญมณีและเครื่องประดับในหลายประเทศ ส่วนตลาดที่ยังเติบโตได้เป็นบวกนั้น หลายประเทศยังไม่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดนี้อย่างชัดเจน อาทิ กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก เป็นต้น
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังตลาด/ภูมิภาคต่างๆ ในระหว่างปี 2562 – 2563
ประเทศ/ภูมิภาค |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง |
||
ม.ค.-ก.พ. 62 |
ม.ค.-ก.พ. 63 |
ม.ค.-ก.พ. 62 |
ม.ค.-ก.พ. 63 |
(ร้อยละ) |
|
สหภาพยุโรป |
289.98 |
286.68 |
21.12 |
25.47 |
-1.13 |
สหรัฐอเมริกา |
213.66 |
247.16 |
15.56 |
21.96 |
15.68 |
ฮ่องกง |
529.88 |
172.25 |
38.60 |
15.30 |
-67.49 |
กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง |
104.39 |
121.73 |
7.60 |
10.81 |
16.61 |
อินเดีย |
41.07 |
83.38 |
2.99 |
7.41 |
103.02 |
อาเซียน |
34.57 |
71.64 |
2.52 |
6.36 |
107.22 |
ญี่ปุ่น |
33.14 |
35.64 |
2.41 |
3.17 |
7.54 |
ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก |
20.20 |
24.87 |
1.47 |
2.21 |
23.11 |
จีน |
39.65 |
14.27 |
2.89 |
1.27 |
-64.02 |
รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช |
2.75 |
6.42 |
0.20 |
0.57 |
132.92 |
อื่นๆ |
63.53 |
61.52 |
4.64 |
5.47 |
-3.15 |
รวม |
1,372.82 |
1,125.56 |
100.00 |
100.00 |
-18.01 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที