Internet of Things (IoT) คืออะไร
Internet of Things (IoT) คืออะไร
ได้เข้าไปทำ Business Plan ให้กับหลายๆบริษัท ซึ่งหลายบริษัทมีกลยุกธ์ เรื่องการนำ IoT มาใช้ที่บริษัท
Internet of Things (IoT) คือ "อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง" หมายถึง การที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (การสั่งการเปิดไฟฟ้าภายในบ้านด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุม เช่น มือถือ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต) รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
สำหรับโรงงานหรือธุรกิจเกี่ยวกับการบริการหลังการขายก็มีการใช้ IoT เช่นบริการหลังการขายเกี่ยวกับลิฟท์ มีการใช้ระบบ Sensor ในการประมวลผลวัดขนาดหรือสภาพของเส้นลวดสลิงที่ใช้ยกลิฟท์ว่าต้องการการซ่อมบำรุงหรือไม่ เช่นลิฟท์อยู่ที่เมืองไทย แต่สามารถตรวจสอบสภาพได้จากห้อง Monitor ที่เยอรมันเป็นต้น
IoT มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า M2M ย่อมาจาก Machine to Machine คือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องมือต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
เทคโนโลยี IoT มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID และ Sensors ซึ่งเปรียบเสมือนการเติมสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ขาดไม่คือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ เทคโนโลยี IoT มีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ ก็อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาขโมยข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของเราได้ ดังนั้นการพัฒนา IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการ และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย
แบ่งกลุ่ม Internet of Things
ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่ม Internet of Things ออกตามตลาดการใช้งานเป็น 2 กลุ่มได้แก่
1 Industrial IoT
คือ แบ่งจาก local network ที่มีหลายเทคโนโลยีที่แตกต่างกันในโครงข่าย Sensor nodes โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะเชื่อมต่อแบบ IP network เพื่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
2 Commercial IoT
คือ แบ่งจาก local communication ที่เป็น Bluetooth หรือ Ethernet (wired or wireless) โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะสื่อสารภายในกลุ่ม Sensor nodes เดียวกันเท่านั้นหรือเป็นแบบ local devices เพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้เชื่อมสู่อินเตอร์เน็ต
การImplement IoT
ในหลายๆโรงงานอาจจะมีนโยบายการทำ IoT อาจจะเริ่มจากบางเครื่องจักรหลักก่อนที่เราให้ความสำคัญ Pilot Line หลังจากนั้นทำการเชื่อมต่อโปรแกรม PLC ให้เข้ากับ Software ที่จะมาใช้ประมวลผล. สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือการเก็บความต้องการของ User ว่าต้องการอยากให้ประมวลผลอะไร, โชว์ข้อมูลอะไรบ้าง หรืออยากให้สรุปข้อมูลอะไรบ้าง. เมื่อลองทดลองแล้วกับ Pilot Line ได้ตามความต้องการของ User จากนั้นทำการขยายผลไปที่เครื่องจักรอื่นๆ ทั่วทั้งโรงงาน
สำหรับ IoT ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับบางประเทศแต่อาจจะใหม่สำหรับเมืองไทย
ผมขอยกตัวอย่างบริษัทที่ผมเคยทำงานอยู่ที่อเมริกาตอนสมัยปี 2006. บริษัทเป็นบริษัททำล้อ Alloy Wheel รถยนต์. กระบวนการทำงานหลักๆเริ่มจาก
Melting หลอมอลูมิเนียม,
Casting หล่อขึ้นรูป ,
Fluoroscope ทำการ X-Ray,
Heat Treatment ชุบแข็ง,
Machining การกลึงขึ้นรูป,
Washing ล้างเศษขี้กลึง,
Helium Leak Test ทดสอบรอยรั่วของล้อ,
Painting or chrome plating ทำการพ่นสีหรือ ชุบโครม.
Melting and Casting:
สำหรับการหลอมและขึ้นรูปล้อรถยนต์.จากแผนการผลิตจะถูกสั่งมาที่เครื่องจักรว่าเครื่องหล่อ Low pressure casting เครื่องไหนจะหล่องานชนิดไหนรุ่นไหนจำนวนกี่ชิ้นโดยใช้ PLC เป็นตัวควบคุม หลังจากหล่อเสร็จจะมีพนักงานตรวจสอบคุณภาพตรวจสอบงานหล่อ 2 เครื่องต่อ 1คนถ้าชิ้นงานเสียจะทำการกดที่หน้าจอเป็นรหัสของประเภทของเสียเช่น C1งานฉีดไม่เต็ม PLC ก็เก็บข้อมูลพอหมดวันก็รู้ว่าผลิตล้อรุนไหน ผลิตไปกี่ชิ้น ใช้เวลาเริ่มผลิตเท่าไร เริ่มผลิตตอนกี่โมงผลิตเสร็จกี่โมง จำนวนงานเสียกี่ชิ้น เสียเป็นประเภทอะไร ที่โรงงานจะมีการประชุมประจำวันตอน 11.30 am ที่ห้องประชุมจะมีหน้อจอที่เรียกว่า cockpit ที่โชว์ประสิทธิภาพการผลิต,OEE เป็นต้นสำหรับเป็น Real time รวมถึงข้อมูลของวันก่อน ที่จะใช้ในการประชุม เมื่อพนักงานหล่อทำการตรวจงานเสร็จ สำหรับงานดีก็จะวิ่งไปสายพานงานดี (roller conveyor for good part) ส่วนงานเสียพนักงานจะเลื่อนงานไปสายพานงานเสีย(roller conveyor for NG part)
Fluoroscope
สมัยก่อนจะเป็นคนนั่งในห้องมืดๆ แล้วให้คนดูว่ามีจุดดำๆหรือเปล่าถ้ามีใหญ่กว่าขนาดที่กำหนดก็ NG คือล้อมีโพรงอากาศหรือสิ่งแปลกปลอมสิ่งสกปรกในล้อ ช่วงปี2008 ทางบริษัทได้เปลี่ยนเป็นเครื่อง X-ray auto ไม่ต้องใช้คนในการตรวจ. เป็นเครื่องตรวจอัตโนมัติ ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกับระบบ IT จำนวนงานดี จำนวนงานเสีย โดยเครื่องจะถ่ายรูปที่ล้อก่อนที่จะเข้าเครื่อง หลังจากนั้นเครื่องก็จะทำการเลือกโปรแกรมในการตรวจให้ตรงกับรุ่นที่กำลังจะเข้าเครื่องตรวจ.
Heat treatment
Robot จะทำการนำชิ้นงานเข้าไปที่ชั้นในแต่ละชั้น หลังจากนั้นชั้นจะถูกเลื่อนเข้าไปในเตาอบเพื่อทำการอบชุบแข็งหลังจากนั้น Robot ก็จะลำเลียงงานใส่พาเลทเพื่อจะนำไปกลึงต่อไป
Machining:
Robot จะทำการหยิบชิ้นงานเข้าเครื่อง CNC มีทั้งหมด 3 เครื่องต่อ machining line โดยจะจัดทำเป็น Line U Cell เมื่องานออกมาพนักงานจะทำการตรวจสอบ Appearance กับ Go-NO GO Gage ตำแหน่งรูกลางล้อที่จะยึดกับเพลา (Pilot bore) ถ้าชิ้นงานเสียจะทำการกดที่หน้าจอเป็นรหัสของประเภทของงานเสียเช่น M1 งานเป็นรอย PLC ก็เก็บข้อมูลพอหมดวันก็รู้ว่าผลิตล้อรุนไหน ผลิตไปกี่ชิ้น ใช้เวลาเท่าไรในการผลิต เริ่มผลิตตอนกี่โมงผลิตเสร็จกี่โมง จำนวนงานเสียกี่ชิ้น เสียเป็นประเภทอะไร
พนักงาน QC จะทำการสุ่มล้อ 4 ล้อทุก 2 hrsทำการตรวจวัดด้วยเครื่อง CMM ข้อมูลจะถูกบันทึกและทำการ Plot control chart แบบ Real time ถ้าเส้นที่ plot control chart มี Signal ก็จะแจ้งมาที่เมล์ และ ส่งข้อความมาในมือถือว่าที่สิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
สำหรับโรงกลึง ด้านล่างที่พื้นทุกเครื่องจะมี เกลียวหมูหรือ screw conveyor สำหรับลำเลียง เศษขี้กลึง รวมถึงน้ำยาหล่อเย็น Coolant สำหรับน้ำยาหล่อเย็นจะถูกส่งไประบบบำบัด และนำกลับมาใช้ใหม่ในแต่ละเครื่อง ส่วนเศษขี้กลึงจะถูกไปอบให้แห้ง และไปเก็บไว้ที่Hopper ถ้าสูตรหลอมไหนสามารถใช้ขี้กลึงได้ ก็เพืยงแค่กดปุ่มและระบุว่าจะเอากี่กีโล เศษขี้กลึงก็จะถูกเป่าไปลงในเตาหลอม
Washing
หลังจากทำการกลึงชิ้นงานดีจะวิ่งมาตามสายพานผ่านเครื่องล้างเพื่อทำการล้างเศษขี้กลึงและน้ำยาหล่อเย็นออก
Helium Leak test
หลังจากนั้นล้อจะถูกตรวจสอบด้วยก๊าซฮีเลียม เพื่อทดสอบว่าล้อรั่วหรือไม่ ถ้าไม่รั่วก็จะยิ่ง Laser ระบุวันที่ทดสอบลำดับที่เพื่อใช้ในการสอบกลับ (Lot control) ถ้าล้อรั่วก็จะไปที่สายพานงานเสียพร้อมถูกพ่นสีแดงเพื่อใช้ในการบ่งชี้งานเสีย ในแต่ละกระบวนการจะมี PLC ในการควบคุม
Paint and Chrome
หลังจากนั้นล้อจะถูกแยกประเภทว่าจะไปที่กระบวนการพ่นสี หรือ กระบวนการชุบโครมต่อไป
พอสิ้นเดือนจะประชุมประจำเดือน สามารถที่จะดึงข้อมูลมา Present or graph ได้เลย เช่นจะเลือก OEE เลือกเป็น Pareto สามารถเลือกได้หลายแนวเช่น งานกลึง เลือกว่างานเสียประเภทไหนมากสุด หรือ จะเลือกรุ่นที่มีปริมาณเสียมากสุด เป็นต้น ไม่ต้องมานั้งทำเป็น Excel, graph เพราะข้อมูลทั้งหมดถูกรวบรวมไว้หมดแล้วด้วย IoT.
หวังว่าจากตัวอย่างที่กล่าวมาจะสามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในบริษัทอื่นๆ ต่อไป
สุขุม รัตนเสรีเกียรติ
ที่ปรึกษาระบบบริหารงานคุณภาพ
PMC Expert co., ltd
www.pmcexpert.com
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : Internet of Things (IoT) คืออะไร