Sukhum Rattanasereekiat

ผู้เขียน : Sukhum Rattanasereekiat

อัพเดท: 02 เม.ย. 2020 14.38 น. บทความนี้มีผู้ชม: 9204 ครั้ง

แผนฉุกเฉินมาตรการป้องกันไวรัส COVID-19 สำหรับองค์กรและโรงงาน

ผมตั้งใจเขียนมาแชร์ให้ทุกๆคนเพื่อจะได้นำไปใช้ในองค์กรกันครับ ส่วนหนึ่งอ่านมาจากกรมควบคุมโรค กับ ตัวอย่างดีๆ จากการที่ไป Audit หรือ Consultมา สามารถแชร์ให้คนอื่นได้ครับ หรือใครมีตัวอย่างดีๆอยากแชร์ให้คนอื่นก็ได้ครับ ตั้งใจช่วยกันเพื่อให้สังคมและประเทศไทยเราติดเชื้อจาก COVID 19 น้อยที่สุด
สุดท้ายไม่อยากให้คนที่เรารัก คนที่เรารู้จัก หรือ คนในประเทศไทยติดเชื้อ COVID อีก.

นโยบาย : พนักงานต้องไม่ติดเชื้อ และไม่หยุดงานเนื่องจากไวรัส COVID-19


แผนฉุกเฉินมาตรการป้องกันไวรัส COVID-19 สำหรับองค์กรและโรงงาน

แผนฉุกเฉินมาตรการป้องกันไวรัส COVID-19 สำหรับองค์กรและโรงงาน
 
ผมตั้งใจเขียนมาแชร์ให้ทุกๆคนเพื่อจะได้นำไปใช้ในองค์กรกันครับ ส่วนหนึ่งอ่านมาจากกรมควบคุมโรค กับ ตัวอย่างดีๆ จากการที่ไป Audit หรือ Consultมา สามารถแชร์ให้คนอื่นได้ครับ หรือใครมีตัวอย่างดีๆอยากแชร์ให้คนอื่นก็ได้ครับ ตั้งใจช่วยกันเพื่อให้สังคมและประเทศไทยเราติดเชื้อจาก COVID 19 น้อยที่สุด
สุดท้ายไม่อยากให้คนที่เรารัก คนที่เรารู้จัก หรือ คนในประเทศไทยติดเชื้อ COVID อีก.
 
นโยบาย : พนักงานต้องไม่ติดเชื้อ และไม่หยุดงานเนื่องจากไวรัส COVID-19
 
1.การรับมือกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ต่อ “องค์กร”
ทางองค์กรควรกำหนดให้มีผู้ประสานงานหลักและทีมงานที่รับผิดชอบ รวมถึงบุคลากร
ในทางปฎิบัติอาจมีการจัดทำ Organization chart เกี่ยวกับทีมแผนฉุกเฉิน
อีกทั้งต้องมีการประมาณการผลกระทบ ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการระบาด ซึ่งอาจจะมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการรายงานข่าวประจำวัน และรายงานให้ผู้บริหารทราบทุกวันเกี่ยวกับสถานะการณ์ภายนอก และการปฎิบัติตาม Procedure ภายใน และจัดทำแผนการติดต่อสื่อสารฉุกเฉิน พร้อมทดสอบความพร้อมของแผน
 
2.การป้องกัน
2.1พนักงาน
ผู้ประกอบการควรให้ความรู้คำแนะนำหรือจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันการแพร่กระจาย เชื้อโรคแก่พนักงานในหน่วยงาน เช่น โปสเตอร์การเว้นระยะห่างกัน การล้างมือที่ถูกวิธี และการสวม หน้ากากผ้า การใช้ Line Group บริษัทในการสื่อสาร หรือสื่อสารผ่านวิดีโอที่โรงอาหาร เป็นต้น
ตัวอย่างคําแนะนําสําหรับบุคลากรในหน่วยงาน
2.1.1) ก่อนไปทำงาน ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์เจลเพื่อใช้ล้างมือบ่อยๆ
2.1.2) ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วนำ้ ภาชนะใส่รับประทานอาหาร ผ้าเช็ดมือ
2.1.3) หากพบว่าตนเองมีอาการป่วยควรหยุดพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านและแจ้งหัวหน้างานทราบ
2.1.4) หากสังเกตุเห็นเพื่อนร่วมงานมีอาการไอ จาม ผิดปกติ ให้แจ้งห้องพยาบาลเพื่อจัดหาหน้ากากอนามัยให้พนักงานและพิจารณาให้หยุดงานทันที
 
เพิ่มความตระหนักให้กับพนักงาน และพนักงานทำความสะอาด ถึงความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อ โดยให้ความสำคัญในการป้องกันตนเอง เช่น การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และถุงมือ ขณะปฏิบัติงาน และการดูแลทำความสะอาดสิ่งของที่ใช้งานบ่อยๆ เช่น โต๊ะทำงาน คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทำงาน รวมถึงอุปกรณ์ทำความสะอาดอื่นๆ
จัดให้มีการทำความสะอาดอุปกรณ์ และบริเวณที่มีผู้สัมผัสปริมาณมากอย่างสม่ำเสมอ เช่น โต๊ะทำงาน โต๊ะประชุม คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทำงาน ที่จับประตู ห้องนำ้ ด้วยนำ้ยาฟอกขาวความเข้มข้น 6% ผสมน้ำสะอาด (โดยใช้นำ้ยา 1 ส่วนต่อนำ้ 99 ส่วน) หรือ 70% แอลกอฮอล์).
ในกรณีนี้บางองค์กรให้มีการทำความสะอาดพื้นที่ทำงาน หรือโต๊ะทำงานตัวเองทุกวันหลังเลิกงานด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่องค์กรกำหนด
 
 
 
2.2 พื้นที่อุปกรณ์
มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น เจล น้ำยาทำความสะอาด หน้ากากอนามัย ถุงมือ สบู่ น้ำยาฆ่าเชื้อ ฯลฯ เและมีการกำหนดว่ามีเจลล้างมือกี่จุดในองค์กร มี Layout จุดวาง ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจเช็ค และ จัดเตรียม, มีการกำหนดลักษณะผ้าปิดจมูก หรือหน้ากากอนามัยที่ใช้ในแต่ละจุด สำหรับบางองค์กรมีการจัดเตรียมหน้ากากอนามัยให้พนักงานคนละหนึ่งแผ่น ต่อคนต่อวัน โดยมาเบิกที่ HR เป็นรายสัปดาห์
 
2.3 สถานที่
การจัดเตรียมโต๊ะที่นั่งทานข้าว หรือ โต๊ะนั่งพักผ่อน ควรจัดให้มีระยะห่างจากกัน บางบริษัทแบ่งพนักงานในแผนกเป็น 2 ทีม สลับกันหยุด หรือใน Office  หรือในโรงอาหารมีการจัด โต๊ะทำงานใหม่ ให้นั่ง สลับฟันปลาห้ามหน้าตรงกัน ดังนั้นบางบริษัทให้มีช่วงเวลาสลับเบรคพักกลางวันมากขึ้น เพราะเก้าอี้ทานข้าวจะน้อยลง
สำหรับบางบริษัทจะมีการแบ่งและกำหนด เส้นทางเข้าออก ออฟฟิศเป็น 2 ทาง รวมถึงห้องน้ำใหม่ และ กำหนดให้ พนักงานที่มาออฟฟิศเข้าออก และใช้ห้องน้ำที่กำหนด เพื่อแบ่งการสัมผัส หรือ ใกล้กัน
ระมัดระวังการเก็บขยะติดเชื้อเช่นทิชชูที่ผ่านการใช้แล้วอาจปนเปื้อนสารคัดหลั่งก่อนทิ้งขยะติดเชื้อ ควรใส่ถุงปิดให้มิดชิด หรือทิ้งในถังขยะติดเชื้อ และล้างมือทำความสะอาดเพื่อป้องกันการตกค้าง ของเชื้อโรค บางที่มีไม้สำหรับกดกระดาษทิชชู่ที่อ่างล้างมือป้องกันการหยิบจับ
กรณีสถานประกอบการที่มีรถรับ-ส่งพนักงาน ให้ดำเนินการทำความสะอาดยานพาหนะ โดยเน้น บริเวณที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น ราวจับ กลอนประตู เบาะนั่ง ที่เท้าแขน ด้วยนำ้ผสมผงซักฟอก หรือนำ้ยาทำความสะอาด และ 70% แอลกอฮอล์ สามารถทำลายเชื้อไวรัสได้
 
 
 
2.4 มาตรการส่วนกลาง
รปภ ทำการตรวจเช็คอุณหภูมิ พนักงาน ผู้ติดต่อ จัดเตรียม เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ และเจลล้างมือ
หมายเหตุ บางองค์กรจัดทำประกัน COVID-19 ให้กับพนักงาน
 
2.5 การเดินทางติดต่อทางธุรกิจ
เดินทางต่างประเทศ หลายองค์กรยกเลิกการเดินทางไปต่างประเทศ หรือสัมมนาภายนอก
เดินทางในประเทศ เช่นต้องไปประชุมกับลูกค้า ให้เขียนใบขออนุญาตเดินทางในประเทศ และจะต้องส่งรายงานการทำกิจกรรมประจำวันให้กับทาง HR ว่าไปทำอะไรบ้าง สถานที่ไหน ติดต่อหรือพบเจอใครบ้างและนำกลับมาส่งที่ HR. ซึ่งทางหน่วยงานผู้รับผิดชอบ หรือ HRจะจัดเตรียม Package สำหรับการเดินทางสำหรับผู้เดินทางเพื่อใช้ในการป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัย และ เจลล้างมือให้
 
2.6 สำหรับการประชุม หรือ สัมมานา จัดให้มีการประชุมออนไลน์แทน หรือกรณีที่มีการประชุมมากกว่าสิบคนก็ให้ใช้ประชุมออนไลน์แทนเช่นกัน ซึ่งบางบริษัทใช้โปรแกรม Microsoft team, Skype, Zoom,etc.
สำหรับตำแหน่งงานที่สามารถ Work from home ให้ทำงานที่บ้าน หรือ สลับกันมาทำงาน เช่น ทำงานอาทิตย์เว้นอาทิตย์ หรือมาทำงานวันเว้นวัน
ตัวอย่าง
 
มาตรการ การป้องกัน COVID-19 เกี่ยวกับการจัดอบรม.
1. ส่งกฏระเบียบบริษัท ให้วิทยากรทราบก่อนล่วงหน้า.
2. สอบถามประวัติการเดินทางวิทยากรจากเมล์ก่อนล่วงหน้า.
3. เมื่อวิทยากรถึงที่อบรม เช็คอุณหภูมิ ล้างมือใส่mask.
4. กรอกใบประวัติการเดินทางลงบันทึกเซ็นชื่อ. (บางบริษัทวิทยากรต้องโชว์ passport เพื่อตรวจสอบประวัติการเดินทาง).
5. มีการติดกฏระเบียบให้กับผู้อบรมทราบที่หน้าห้องสัมมนา. เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมชี้แจงให้ทราบอืกครั้งหนึ่ง
6. ผู้เข้าอบรมทุกคนล้างมือด้วยเจลล้างมือเมื่อเข้ามาในห้องสัมมนาทุกครั้งหลังจากนั้น HR แจกmask ให้ผู้เข้าอบรมทุกท่าน. ใส่mask ตลอดเวลาขณะอบรม.
 
 
 
3.การคัดกรอง
3.1 สำหรับผู้มาติดต่อ
สอบถามประวัติการเดินทาง กรณีมาจากประเทศสุ่มเสี่ยง บางบริษัทอาจจะไม่ให้เข้าทำงาน
ผู้มาติดต่อ เช็คอุณหภูมิ ล้างมือ ใส่ mask กรณีอุณหภูมิ มากกว่า 37.5 ให้ทำการวัดซ้ำ ถ้าวัดแล้วอุณหภูมิเกินกว่าที่กำหนดไม่ให้เข้าบริษัท
 
3.2 สำหรับพนักงาน
สำหรับสถานประกอบการที่มีพนักงานทำงานหนาแน่น และโรงงานที่มีแผนกการผลิต ควรจัดให้มีการตรวจคัดกรองอุณหภูมิพนักงานทุกคนก่อนเข้าทำงาน หากพบพนักงานป่วย ด้วยอาการไข้มากกว่า 37.5 องศา ไอ จาม เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก ควรให้พนักงานหยุดทำงานทันที เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคในสถานประกอบการ และหากอาการไม่ดีขึ้นภายในสองวัน หรือมีอาการป่วยรุนแรง เช่น หอบเหนื่อยควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจรักษา
บริษัทควรคาดการณ์และอนุญาตให้บุคลากรหยุดงานในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ซึ่งในกรณีนี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น บุคลากรป่วยเอง คนในครอบครัวป่วย เป็นต้น ต้องหามาตรการกักกันและจำกัดพื้นที่การระบาด ขณะเดียวกันต้องมีการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อลดการติดต่อจากคนสู่คน และประเมินว่าบุคลากรมีความสามารถในการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพได้สะดวกมากน้อยเพียงใด
 
สำรวจความเสี่ยงของพนักงานอยู่เสมอ ว่ามีประวัติเดินทางไปในต่างประเทศ หรือสถานที่ในประเทศไทย ที่ถูกประกาศว่าเป็นสถานที่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือไม่ โดยตรวจสอบประกาศ ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ที่ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php หากพบพนักงานเดินทางไปยังสถานที่ที่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามวันเวลาที่มีการ ประกาศ ควรให้หยุดงานทันที แยกตัวเองเพื่อสังเกตุอาการเป็นเวลา 14 วัน และรายงานตัวตามที่มี การประกาศ สำหรับบางบริษัทหลังจากกักตัว 14 วันเมื่อมาทำงานจะต้องไปรายงานตัวและให้พยาบาลตรวจอีกเช็คอุณหภูมิก่อนเริ่มงาน และเช็คสุขภาพอีก 16 วัน
 
4.การกำหนดหลักเกณฑ์ที่ต้องดำเนินการในระหว่างเกิดการระบาด
ประเด็นนี้นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน บริษัทต่างๆ ควรจัดทำแนวทางในการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคลากรที่หยุดงานจากการเจ็บป่วยในช่วงระบาด จัดทำแนวทางป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในสถานที่ทำงาน กรณีเมื่อพบบุคลากรต้องสงสัยว่าป่วยต้องมีแนวทางในการดำเนินงานที่เหมาะสม
กรณีที่พบพนักงานยืนยันติดเชื้อโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้พนักงานหยุดงานทันที แยกตัวเองที่โรงพยาบาลหรือที่บ้าน (กรณีไม่มีอาการหรือแสดงอาการน้อยมาก) ตามที่แพทย์ให้ คำแนะนำ
 
4.1. จัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของสถานประกอบการ ในการโทรแจ้งและติดต่อกับหน่วยงาน สาธารณสุขในพื้นที่ หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อดำเนินการควบคุมโรคตามแนวทางของ กระทรวงสาธารณสุขต่อไป พร้อมเฝ้าติดตามและให้การดูแลการรักษาอาการของพนักงานที่ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด
ทางองค์กรหรือบริษัท ควรจัดเตรียมเบอร์โทรศัพท์สำหรับติดต่อเช่น มีรายชื่อโรงพยาบาลและเบอร์โทรในพื้นที่ใกล้เคียงบริษัท หรือโรงพยาบาลจังหวัดที่รับตรวจเชื้อ COVID  โรงพยาบาลที่ทำการรักษา เบอร์ติดต่อราชการเช่นกรมควบคุมโรค สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขเขต เพื่อจะได้ทำการติดต่อเพื่อมาทำการคัดกรองและสามารถแจ้งได้อย่างรวดเร็ว
 
 
ควรมีการจัดเตรียมแผนฉุกเฉิน เมื่อพบผู้ติดเชื้อแล้วจะต้องจัดเตรียมอะไรบ้าง ต้องทำอย่างไร แต่ละ Step แต่ละช่วงเวลาขอยกตัวอย่างบริษัทหนึ่งที่ทำแผนฉุกเฉิน ทางบริษัทมีการกำหนดว่าเพื่อทราบแล้วจะต้องแจ้งพนักงานออกมานอกบริษัท เพื่อทำการคัดกรอง ซึ่งต้องวางแผนการเตรียมการรวมถึงวางแผนว่าจะต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้างเช่น เวลาคัดกรองหน้าโรงงาน ซึ่งจากจำนวนพนักงาน 250 คน จะต้องใช้เต็นท์ทั้งหมด 6 เต็นท์ เช่าเต็นท์ได้ที่ หจก สหมิตร ใช้ไมล์และลำโพง 2 ตัวเพื่อใช้ในการสื่อสารกับพนักงาน ต้องสั่งข้าวกล่องร้านข้าวมันไก่นายปอ 300 ห่อ และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละหัวข้อจะมีกำหนด ผู้รับผิดชอบ จำนวนเงินที่จะต้องใช้ ใช้เวลาตอบสนองเท่าไรในแต่ละเรื่องที่ชัดเจน เป็นต้น
4.2. การแยกผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย
ในกรณีที่พบพนักงานยืนยันติดเชื้อโรค โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานประกอบการ ให้ประสานหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อทำการสำรวจคนร่วมงาน ที่อยู่ในข่ายสัมผัสโรค ซึ่งต้องให้หยุดงานทันทีและกักกันตนเอง ณ ที่พักอาศัยหรือที่ที่คณะกรรมการ โรคติดต่อจังหวัดกำหนดไว้ เพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน หลังจากใกล้ชิดผู้ป่วยครั้งสุดท้าย ดังนี้
 
นิยามผู้สัมผัสโรค โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนํา 2019
4.2.1. ผู้สัมผัสในครัวเรือน
สมาชิกในครอบครัว ญาติ และผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขณะที่มีอาการป่วย ผู้ที่พักอาศัยในบ้านเดียวกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
4.2.2) ผู้ที่ร่วมกลุ่มเดินทางเดียวกัน เช่น บริษัทเดียวกัน
ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เดินทางโดยยานพาหนะอื่น ๆ ในขณะที่มี อาการ ได้แก่ ผู้ที่ร่วมเดินทางกับผู้ป่วย ผู้โดยสารหรือพนักงานที่สัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดนไอ จาม จากผู้ป่วย และผู้โดยสารที่อยู่ในระยะห่างไม่เกิน 1 เมตร จากผู้ป่วย
4.2.3. ผู้สัมผัสใน/ ที่ทำงาน และในชุมชน
4.2.3.1) ผู้ร่วมงาน ได้แก่ กลุ่มเพื่อนที่พบปะกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะ มีอาการ และมีประวัติอาจสัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดนไอ จาม จากผู้ป่วย
4.2.3.2) ผู้ที่อยู่ในชุมชนเดียวกันกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือในชุมชนอื่น ๆ และสัมผัส สารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดน ไอ จาม จากผู้ป่วย
 
4.3 การพิจารณาปิดสถานประกอบการชั่วคราวหากพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เช่นการเลื่อนหรือยกเลิก แผนกการผลิตที่พบผู้ป่วยออกไปชั่วคราว เพื่อให้พนักงานหยุดพักรักษาตัวและลดการแพร่กระจาย ของเชื้อโรค
ควรมีการจัดทำรายชื่อว่า ใครทำแทนใครได้บ้าง ตำแหน่งไหนทำแทนกันได้บ้างเป็นต้น
 
สำหรับโรงงานผลิต บางบริษัทก็มีการสำรวจการทำ Stock ไปที่ผู้ขาย (Supplier) เพื่อให้มั่นใจว่าถ้าผู้ขายจะต้องหยุดโรงงานเนื่องจากสถานการณ์ COVID แล้วยังมีของ Stock ที่จะพอส่งมอบหรือไม่  หรือสำรวจว่ามี Stock กี่วัน
 
สำหรับโรงงาน ควรพิจารณาและประเมินว่าถ้าเกิดมีพนักงานติดเชื้อไวรัส COVID จริง อาจจะต้องใช้เวลาสำหรับคัดกรองการทำความสะอาดโรงงาน  ซึ่งถ้าทางบริษัทประเมินแล้วว่าอาจจะต้องทำการปิดโรงงานจำนวน 5 วัน ดังนั้นผู้บริหารอาจจะมีนโยบายให้กับทางโรงงานให้มีการจัดทำ Stock ล่วงหน้า 5 วันเมื่อมีสถานการณ์จริงจะได้ไม่กระทบแผนการผลิตกับลูกค้า แต่ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือต้องเช็คสถานการณ์อย่างใกล้ชิดระหว่าง Supplier และลูกค้าเพราะสำหรับบางโรงงานสั่งซื้อ Part  จากต่างประเทศเช่นที่อินโดเนียเซีย หรือ มาเลเซีย ซึ่งหลายๆโรงงานหยุดการผลิตเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องทำการเช็ค Stock  ให้ดีว่าแต่ละ Supplier มี  Stock จำนวนเท่าไรเพื่อใช้สำหรับเตรียมการผลิต
 
4.4 บริษัทควรมีการแจ้งต่อบุคคลที่ติดต่อหรือคู่ค้าทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพนักงานที่ติดเชื้อ เพื่อเฝ้าระวังและสังเกตุอาการเป็นเวลา 14 วัน
 
4.5 บริษัทจัดทำความสะอาดพร้อมฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาเคมีและเครื่องอบโอโซนในพื้นที่เสี่ยงและบริเวณโดยรอบ ภายใต้คำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงทำการปิดพื้นที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว
 
4.6 ขอความร่วมมือพนักงาน ให้หลีกเลี่ยงการพบปะสังสรรค์ การจัดงานต่าง ๆ ตลอดจนลดการเข้าไปในพื้นที่แหล่งชุมชน หรือสถานที่ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก.
 
ผู้เขียน
สุขุม รัตนเสรีเกียรติ
ที่ปรึกษาระบบคุณภาพ PMC Expert Co., Ltd.
IATF Certified auditor

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที