อาการนิ้วล็อค ได้กลายเป็นหนึ่งในโรคยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ แต่นอกจากชาวมนุษย์เงินเดือนแล้ว นักกีฬา แม่ค้า ช่างตัดผม หรือสายอาชีพอื่นๆก็สามารถเป็นได้เหมือนกันถ้าใช้นิ้วออกแรง หรือกำแน่นๆเป็นเวลานาน หากคุณเริ่มมีอาการเจ็บ ขยับนิ้วได้ไม่สะดวกแล้วล่ะก็ มาลองเช็คกันดูหน่อยว่าอาการที่เป็นใช่นิ้วล็อคหรือไม่ แล้วถ้าใช่ จะรักษานิ้วล็อคได้อย่างไร
อาการบ่งบอกว่าคุณเป็นนิ้วล็อคแน่ๆ
อาการปวดเมื่อย หรือปวดเจ็บอาจเป็นอาการเคล็ดเพียงเล็กน้อยจากการใช้งานหนัก แต่หากเป็นอาการนิ้วล็อคจะแตกต่างออกไปดังนี้
เจ็บฝ่ามือ เมื่อขยับนิ้วขึ้น-ลง รู้สึกว่าติดขัด ขยับไม่สะดวก งอลงยาก
เมื่อกำมือแล้ว ไม่สามารถแบ เหยียดนิ้วออกมาได้
ปวดข้อนิ้วมือ อาจเกิดอาการบวมแดง หรือรู้สึกร้อน
เกิดอะไรขึ้นกับนิ้ว ทำไมจึงล็อคได้?
จากการใช้งานที่กล่าวไปข้างต้น เป็นสาเหตุให้ปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่มีความยาวตั้งแต่ฝ่ามือไปถึงปลายนิ้วนั้นเกิดอักเสบ และมีความหนาขึ้น เมื่อปลอกหนาขึ้น เส้นเอ็นที่ปกติต้องลอดผ่านปลอกนั้นก็ลอดได้ลำบากมากขึ้น เกิดเป็นการเสียดสี จึงทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ขยับนิ้วได้ลำบากนั่นเอง
วิธีการรักษารักษานิ้วล็อคแบบต่างๆ
รักษานิ้วล็อคด้วยยา
หากเป็นการรักษานิ้วล็อคในระยะเริ่มต้น คนไข้อาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ใช้ยาเข้ามาช่วยแทน เช่น
รับประทานยาแก้อักเสบตามแพทย์สั่ง
ฉีดยา Steroids
ทั้งทีการใช้ยาจะไม่สามารถรักษานิ้วล็อคได้ในระยะยาว หากคนไข้ยังคงปฏิบัติตัว ใช้งานนิ้วหนักๆเช่นเดิม
การสะกิดด้วยเข็มฉีดยา
แพทย์จะใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็กสะกิดส่วนที่รัดเส้นเอ็น ที่ทำให้เคลื่อนไหวนิ้วลำบาก ให้คลายออก วิธีมีข้อดีตรงที่ไม่ต้องผ่าตัดเปิดแผล และฟื้นตัวได้เร็ว
การผ่าตัด
การผ่าตัดเป็นการรักษานิ้วล็อคที่ได้ผลดี และเพิ่มโอกาสหายในระยะยาว แก้ปัญหาได้ตรงจุด โดยการผ่าตัดจะใช้การฉีดยาชาก่อนจะผ่า ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลขนาดเล็กความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
อย่างไรก็ตามแม้จะมีวิธีในการรักษานิ้วล็อคหลากหลายวิธี แต่การป้องกันย่อมเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยคุณสามารถป้องกันการเกิดนิ้วล็อคด้วยวิธีธรรมชาติ และบริหารมือ-นิ้วง่ายๆดังนี้
กำมือ สลับกับแบและเหยียดมือ เพื่อนิ้วได้เคลื่อนไหว
บีบลูกบอลนิ่มๆ
แช่อุ่น 5-10 นาที วันละ 1 ครั้ง
ประคบร้อน หรือประคบเย็น
ใช้นิ้วโป้งกดฝ่ามือ กลางฝ่ามือ และข้อมือ ตำแหน่งละ 15 วินาที ทำติดต่อกัน 3 รอบ
ใส่อุปกรณ์ดามนิ้ว
นอกจากนี้ คุณยังควรสังเกตตัวเองว่าทำพฤติกรรมไหน ในท่าเดิมๆเป็นประจำ และระมัดระวังการใช้เมาส์ และสไลด์หน้าจอมือถือเป็นเวลาต่อเนื่องนานๆ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที