ในประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องและใช้กับประชาชน เป็นส่วนมากนั่นคือกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอาญา
สำหรับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับด้วยความแพ่ง ไม่มีบทลงโทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ตามกฎหมายอาญา ซึ่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อเวลาฟ้องคดีก็จะเป็นความแพ่ง มีระเบียบขั้นตอนการดำเนินการ โดยใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สำหรับกฎหมายอาญาหรือความอาญาในประเทศไทย อาจจะมีประมวลกฎหมายหรือพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากประมวลกฎหมายอาญา เรื่องกฎหมายอาญานั้นจะมีโทษ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน การดำเนินคดีอาญาจะใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาประกอบในการดำเนินการคดีซึ่งเป็นระเบียบขั้นตอน
ยกตัวอย่างในคดีอาญาก็เช่นความผิดในข้อหาฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ ลักทรัพย์ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ. ศ. 2534 ปลอมเอกสาร ทำร้ายร่างกาย รับของโจร
ซึ่งการที่จะนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษทางคดีอาญานั้นมีความแตกต่างจากทางคดีแพ่งนั่นคือ ทางคดีอาญาจะต้องสืบพยานจนสิ้นข้อสงสัย ว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง สวนทางคดีแพ่งนั้น ดูที่น้ำหนักพยานหลักฐาน ไม่จำเป็นต้องสิ้นข้อสงสัย
คดีอาญามันมีบทลงโทษรุนแรงถึงขั้น ประหารชีวิตหรือจำคุก การที่จะทำให้คนหนึ่งคนสูญสิ้นอิสรภาพจึงจะต้องมีการดำเนินการอย่างชัดเจน ว่าเขาพูดนั้นมีความผิดจริง
การยื่นคำให้การทางคดีแพ่งของจำเลย สามารถยื่นคำให้การปฏิเสธ ก็ได้แต่ต้องมีเหตุผลไม่เช่นนั้นจะเป็นปฏิเสธลอย
ส่วนการยื่นคำให้การทางคดีอาญาของจำเลยสามารถให้การปฏิเสธได้โดยไม่ต้องมีเหตุผล นี่คือความแตกต่างเบื้องต้นทางเรื่องยื่นคำให้การของจำเลย
>>> ไลน์@สอบถาม : @vmw5257c
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที