GIT Information Center

ผู้เขียน : GIT Information Center

อัพเดท: 29 พ.ย. 2019 23.37 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1069 ครั้ง

ในช่วงเดือนมกราคม ? ตุลาคม 2562 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเป็นมูลค่า 13,974.58 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตสูง 37.59% นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 3 รองจากรถยนต์ และคอมพิวเตอร์ โดยไทยส่งออกทองคำฯ ได้เพิ่มขึ้นสูงถึงเกือบเท่าตัว เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคาในจังหวะที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้พลอยสีทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ก็ยังขยายตัวได้ดี ส่วนตลาดส่งออกสำคัญที่เติบโตได้ในแนวบวกคือ อินเดีย อาเซียน และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งไทยควรเร่งรุกตลาดเหล่านี้


สถานการณ์นำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-ตุลาคม 2562

สถานการณ์นำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-ตุลาคม 2562

            การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2562 มีมูลค่า 14,126.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (324,427.47 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 27.90 (ร้อยละ 34.01 ในหน่วยของเงินบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 เป็นการนำเข้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ และกว่าครึ่งหนึ่งเป็นการนำเข้าทองคำฯ ซึ่งลดลงมากถึงร้อยละ 45.27 อันเป็นผลจากราคาทองคำฯ ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น

           การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2562 เติบโตสูงถึงร้อยละ 37.59 (ร้อยละ 34.01 ในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 13,974.58 ล้านเหรียญสหรัฐ (434,752.85 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่มีมูลค่า 10,156.54 ล้านเหรียญสหรัฐ (324,427.47 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.70 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำออก การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 6,900.81 ล้านเหรียญสหรัฐ (214,778.72 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 6.24 (ร้อยละ 3.43 ในหน่วยของเงินบาท)

รายการ

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-ต.ค. 61

ม.ค.-ต.ค. 62

ม.ค.-ต.ค. 61

ม.ค.-ต.ค. 62

มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด

10,156.54

13,974.58

100.00

100.00

37.59

หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ

3,660.74

7,073.77

36.04

50.62

93.23

คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ

6,495.80

6,900.81

63.96

49.38

6.24

หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ

418.35

443.04

4.12

3.17

5.90

คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ

6,077.45

6,457.77

59.84

46.21

6.26

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญพบว่า

  1. สินค้าสำเร็จรูป เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับแพลทินัม ลดลงร้อยละ 1.65,
    ร้อยละ 21.71 และร้อยละ 3.72 ตามลำดับ ส่วนเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14
  2. สินค้ากึ่งสำเร็จรูป พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เติบโตร้อยละ 7.54 และร้อยละ 14.36 ตามลำดับ ส่วนเพชรเจียระไน หดตัวลงร้อยละ 6.86

            ตลาด/ภูมิภาคสำคัญในการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 คือ ฮ่องกง ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.82 ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากสงครามการค้า และสถานการณ์การประท้วงที่ยืดเยื้อและเพิ่มความรุนแรง ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในฮ่องกงลดลง กระทบต่อร้านค้าปลีกที่ต้องปิดตัวลงหลายแห่ง ผู้นำเข้าฮ่องกงจึงลดการนำเข้าจากไทยลง ส่งผลให้ไทยส่งออกสินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไน และสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเครื่องประดับทอง ได้ลดลง ส่วนสินค้าที่ยังเติบโตได้ในตลาดนี้ คือ พลอยเนื้อแข็งเจียระไน

            มูลค่าการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 3.54 เป็นผลมาจากการส่งออกไปยังเยอรมนี และเบลเยียม ตลาดใน 2 อันดับแรกซึ่งมีสัดส่วนรวมกันราวครึ่งหนึ่งได้ลดลงร้อยละ 30.78 และร้อยละ 5.25 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังเยอรมนีเป็นเครื่องประดับเงิน ในสัดส่วนเกือบร้อยละ 80 หดตัวลงร้อยละ 23.47 ส่วนสินค้าหลักส่งออกไปยังเบลเยียมเป็นเพชรเจียระไน ลดลงร้อยละ 5.81 สำหรับตลาดที่เติบโตได้ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ อิตาลี และสหราชอาณาจักร ขยายตัวได้ 1.25 เท่า และร้อยละ 13.33 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังอิตาลีและสหราช-อาณาจักรเป็นเครื่องประดับทอง ที่เติบโตได้เป็นอย่างดี

             การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาลดลงร้อยละ 7.61 ส่วนหนึ่งยังคงเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่เริ่มอ่อนแอลงจากผลกระทบของสงครามการค้า ผู้บริโภคจึงระมัดระวังการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย โดยการส่งออกเครื่องประดับเงิน ซึ่งเคยเป็นสินค้าหลักในปีที่ผ่านมาและเครื่องประดับทอง ซึ่งเป็นสินค้าหลักส่งออกในปีนี้ ต่างมีมูลค่าลดลงร้อยละ 23.82 และร้อยละ 3.86 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกพลอยเนื้อแข็งเจียระไนและเพชรเจียระไน ยังสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 13.76 และร้อยละ 11.07 ตามลำดับ

            มูลค่าการส่งออกไปยังญี่ปุ่นปรับตัวลดลงร้อยละ 6.54 จากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการได้ลดลงไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน และเครื่องประดับเงิน ที่ล้วนมีมูลค่าลดลงร้อยละ 0.99, ร้อยละ 39.85 และร้อยละ 20.48 ตามลำดับ

            ส่วนการส่งออกไปยังจีนลดลงร้อยละ 23.31 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการบริโภคลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวลง อันเนื่องมาจากผลกระทบของสงครามการค้า ทำให้ไทยส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการไปยังจีนได้ลดลงทั้งสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างพลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเครื่องประดับทอง ที่ต่างหดตัวลงร้อยละ 10.08, ร้อยละ 57.58 และร้อยละ 65.91 ตามลำดับ

            ส่วนการส่งออกไปยังประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกมีมูลค่าลดลงร้อยละ 23.33 จากการส่งออกไปยังออสเตรเลีย ตลาดหลักอันดับ 1 ของไทยในภูมิภาคนี้ ได้ลดลงถึงร้อยละ 26.85 เนื่องจากการส่งออกเครื่องประดับเงิน ในสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งได้ลดลงมากถึงร้อยละ 34.60 รวมถึงสินค้ารองลงมาอย่างเครื่องประดับทอง ก็หดตัวลงร้อยละ 22.67 ส่วนการส่งออกไปยังนิวซีแลนด์ ตลาดในอันดับ 2 เติบโตได้ร้อยละ 15.03 อันเป็นผลจากการส่งออกเครื่องประดับเงิน ในสัดส่วนเกือบร้อยละ 60 และสินค้าสำคัญถัดมาอย่าเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าได้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 17.69 และร้อยละ 3.23 ตามลำดับ

            การส่งออกไปยังรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชปรับตัวลดลงร้อยละ 65.74 เป็นผลจากการส่งออกไปรัสเซีย ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 78 และยูเครน ตลาดในอันดับ 3 ได้ลดลงร้อยละ 69.37 และร้อยละ 83.24 ตามลำดับ โดยการส่งออกไปยังรัสเซียที่ลดลง เป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องและความไม่มั่นคงในรัฐภูมิศาสตร์ ผู้บริโภคจึงลดการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย และเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นการสะสมสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะทองคำเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ไทยส่งออกเครื่องประดับเงิน ซึ่งเคยเป็นสินค้าหลักในปีที่ผ่านมาลดลงเกือบเท่าตัว ในขณะที่ไทยส่งออกทองคำไปยังตลาดนี้เป็นอันดับ 1 ด้วยสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของการส่งออกไปยังรัสเซียทั้งหมด รวมถึงเพชรเจียระไน ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.16 และ 5.55 เท่า ตามลำดับ ส่วนตลาดยูเครนนั้น ไทยส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการไปได้ลดง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงิน อัญมณีสังเคราะห์ พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และเครื่องประดับทอง ที่ต่างมีมูลค่าหดตัวลงมาก ในขณะที่การส่งออกไปยังอาร์เมเนีย ตลาดในอันดับ 2 ยังเติบโตได้ดีกว่า 1.04 เท่า เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างพลอยเนื้ออ่อนและพลอยเนื้อแข็งเจียระไนได้เพิ่มขึ้นกว่า 3.79 เท่า และร้อยละ 55.39 ตามลำดับ อีกทั้งเพชรเจียระไน สินค้าลำดับถัดมาก็มีมูลค่าสูงขึ้นกว่า 1.09 เท่า

            สำหรับการส่งออกไปยังอินเดีย อาเซียน และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เติบโตได้ร้อยละ 98.25, 1.98 เท่า และร้อยละ 0.95 ตามลำดับ โดยการส่งออกไปยังอินเดียส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบอย่างเพชรเจียระไน พลอยก้อน พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน โลหะเงิน และพลอยเนื้อแข็งเจียระไน ที่ต่างขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 22.67, 6.44 เท่า, 5.73 เท่า, 3.80 เท่า และร้อยละ 40.42 ตามลำดับ

           มูลค่าการส่งออกไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้นกว่า 1.98 เท่า จากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ และกัมพูชา ตลาดใน 2 อันดับแรก ได้สูงกว่า 3.06 เท่า และ 1.46 เท่า ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังสิงคโปร์เป็นเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า รองลงมาเป็นเครื่องประดับเทียม และเครื่องประดับทอง ซึ่งเติบโตได้ 112.17 เท่า, ร้อยละ 13.09 และร้อยละ 3.37 ตามลำดับ ส่วนสินค้าหลักส่งออกไปยังกัมพูชาเป็นเพชรเจียระไน สินค้าสำคัญรองลงมาเป็นเครื่องประดับทอง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 1.13 เท่า และ1.87 เท่า ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปยังมาเลเซีย ตลาดในอันดับ 3 หดตัวลงร้อยละ 13.22 เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้าสำคัญลำดับถัดมาอย่างพลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเพชรเจียระไน ได้ลดลง ในขณะที่เครื่องประดับทองยังเติบโตได้ในตลาดนี้ร้อยละ 35.70  

           ส่วนการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.95 จากการส่งออกไปยังสหรัฐ-อาหรับเอมิเรตส์ ตลาดอันดับ 1 ของไทยในภูมิภาคนี้ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85 จากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเพชร-เจียระไนได้เพิ่มขึ้นกว่า 1.18 เท่า ในขณะที่สินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทอง ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 3.78 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมและทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปีในเดือนสิงหาคม ทำให้ความต้องการเครื่องประดับทองของชาวยูเออีลดลง โดยเฉพาะในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2562 ความต้องการเครื่องประดับทองลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 10 ปี ส่วนการส่งออกไปยังกาตาร์ ตลาดในอันดับ 3 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.35 จากการส่งออกเครื่องประดับทอง สินค้าหลักในสัดส่วนราวร้อยละ 97 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.26 ส่วนการส่งออกไปยังอิสราเอล ตลาดในอันดับ 2 หดตัวลงร้อยละ 4.99 เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักทั้งเพชรเจียระไนและเพชรก้อนได้ลดลงร้อยละ 6.04 และร้อยละ 6.44 ตามลำดับ

 

ประเทศ/ภูมิภาค

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

ม.ค.-ต.ค. 61

ม.ค.-ต.ค. 62

ม.ค.-ต.ค. 61

ม.ค.-ต.ค. 62

(ร้อยละ)

ฮ่องกง

1,852.61

1,781.91

28.52

25.82

-3.82

สหภาพยุโรป

1,405.44

1,355.62

21.64

19.64

-3.54

สหรัฐอเมริกา

1,154.62

1,066.76

17.77

15.46

-7.61

อินเดีย

283.12

561.29

4.36

8.13

98.25

อาเซียน

183.05

545.56

2.82

7.91

198.03

กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

467.43

471.89

7.20

6.84

0.95

ญี่ปุ่น

195.61

182.81

3.01

2.65

-6.54

จีน

238.13

182.63

3.67

2.65

-23.31

ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก

165.51

126.89

2.55

1.84

-23.33

รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช

53.17

18.22

0.82

0.26

-65.74

อื่นๆ

497.10

607.23

7.65

8.80

22.16

รวม

6,495.80

6,900.81

100.00

100.00

6.24

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที