Sukhum Rattanasereekiat

ผู้เขียน : Sukhum Rattanasereekiat

อัพเดท: 10 ก.ย. 2019 13.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 3755 ครั้ง

กระบวนการลดความผิดพลาดด้วย FMEA

เราจะได้ทราบขั้นตอน 7 Step FMEA สำหรับ AIAG VDA FMEA


การลดความผิดพลาดด้วย FMEA (Failure Mode and Effect Analysis )

การลดความผิดพลาดด้วย FMEA (Failure Mode and Effect Analysis )

FMEA ใช้สำหรับแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของการลดความเสี่ยง

วัตถุประสงค์และข้อจำกัด ของ FMEA

ข้อจำกัด 

 

 

ก่อนอื่นเลยที่เราจะแก้ไขปรับปรุงอะไรก็ตามเราควรที่จะช่วยกันทำช่วยกันปรับปรุงปัญหา นั้นก็คือเราควรที่จะต้องมีทีมเพื่อที่จะช่วยกันคิดช่วยกันทำ  เมื่อมีทีมเพื่อไม่ให้เกิดคำถามว่า เรียกกูมาทำอะไรวะเราทุกคนในทีมก็ควรที่จะเข้าใจก่อนว่า ว่าเรากำลังจะทำอะไรอยู่ เช่น จะพัฒนา หรือ ปรับปรุงกระบวนการได้ ผลิตภัณฑ์ / กระบวนการใดจะรวมหรือจะไม่รวมในโครงการ PFMEA

เราสามารถใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 5Ts สำหรับการกำหนดแผนโครงการ เพื่อใช้ในการกำหนดการวางแผนเพื่อให้ทีมเข้าใจตรงกัน

5Ts

การกำหนดทีม การวางแผน การทำให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน  การเตรียมการเหล่านิ้คือ (Planning and Preparation)

 

สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องคือเราต้องรู้ก่อนว่าอะไรที่เราต้องการจะแก้ไข หรือจะค้นหาสิ่งที่บกพร่องอะไรก่อนนั้นเอง ซึ่งก็คือ (Structure Analysis) 

 

หลังจากนั้นเราก็ต้องรู้ว่าเราต้องการอะไร ความต้องการหรือฟังค์ชันการทำงานมันเป็นอย่างไร เช่นทำไปเพื่ออะไร อะไรคือข้อกำหนดเกี่ยวกับฟังก์ชัน / ความต้องการที่ตั้งใจไว้ของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ซึ่งก็คือ (Function Analysis)

 

เมื่อเรารู้สิ่งที่ต้องการ ถ้าเราทำอะไรบ้างอย่างซึ่งสิ่งที่ทำอยู่ไม่ได้ตามสิ่งที่ต้องการ หรือส่วนที่แตกต่างระหว่างความคาดหวังกับผลลัพท์อันนั้นก็คือปัญหา แต่สิ่งที่เป็นปัญหาตามภาษา FMEA  เราเรียกมันว่า (Failure Mode) หรือความล้มเหลว

 

Failure Mode: ผลิตภัณฑ์ไม่สามารถส่งมอบหรือฟังก์ชันที่ต้องการได้ การกำหนดความล้มเหลว อาจเกิดขึ้นจริงหรือมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น แต่ยังไม่เกิดขึ้น

 

 

Failure Effect ผลกระทบความบกพร่องก็คือคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์หรือปัญหานั้นๆ นั้นเองซึ่งถ้าเป็นการวิเคราะห์ FMEA ในอุตาสาหกรรมยานยนต์ก็อาจจะแบ่งผู้รับผลกระทบเป็น

ผลกระทบของผู้ใช้รถอาจมีได้เช่น 

Failure Cause สาเหตุที่ล้มเหลว ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดความล้มเหลว 5M1E, 4M1E

ซึ่งการกำหนดความล้มเหลว ผลกระทบ รวมถึงการระบุสาเหตุของความล้มเหลว เป็นการระบุความเสี่ยง (Risk Analysis)

 

 เมื่อเราทำการวิเคราะห์หาสาเหตุในแต่ละกระบวนการ และทำการแก้ไขที่สาเหตุ (Preventive action) รวมถึงหามาตรการการตรวจจับปัญหา หรือ สาเหตุ (Detection action) ก็จะทำให้ปัญหาต่างๆ ค่อยๆหมดไป ซึ่งก็คือ (Optimization)

 

ถ้าแก้ไขแล้วดีก็น่าจะจดจำไว้ อันไหนไม่ดีก็ควรจะเป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้ปัญหานั้นเกิดซ้ำ ซึ่งก็คือ (Result Documentation)

 

 

 

การทำงานของเราก็จะง่ายขึ้นปรับปรุงอย่างต่อเนื่องได้ดีขึ้น และ สุดท้ายก็ทำให้ประสิทธภาพและประสิทธิผลของการทำงานดียิ่งขึ้น

 

 

Sukhum Rattanasereekiat

Quality Management Trainer and Consultant.

www.pmcexpert.com

#pmcexpert.co.th

 

Facebook Fanpage: sukhum.com

https://www.facebook.com/sukhumcom-560626744091160/?_rdc=1&_rdr

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที