ในการแก้ไขปัญหาจราจรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากการก่อสร้างสะพานลอยข้ามทางแยก (Overpass) ที่บริเวณทางแยกที่มีจราจรหนาแน่นจำนวนหลายแห่งแล้ว หน่วยงานที่รับผิดชอบยังได้ดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์รถยนต์และทางลอดใต้ถนน (road tunnel and underpass) เพิ่มเติมในบริเวณทางแยกดังกล่าวอีกด้วย เช่นทางลอดบริเวณแยกรัชดา ท่าพระ, ทางลอดแยกแคราย ถนนติวานนท์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างถนนหรือสะพานลอยข้ามทางแยกกับอุโมงค์รถยนต์และทางลอดแล้ว จะพบว่าภายในอุโมงค์รถยนต์และทางลอดจะมีข้อจำกัดในการบำรุงรักษา รวมถึงเต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมที่กัดกร่อนทำให้ไฟแสงสว่างที่มีสมรรถนะสูงเป็นสิ่งจำเป็นในการติดตั้งเพื่อความปลอดภัย ในบทความฉบับนี้ต้องการนำเสนอแนวทางการออกแบบไฟแสงสว่างภายในอุโมงค์รถยนต์และทางลอดโดยอ้างอิงจากมาตรฐาน BS 5489 2 : 2003 Code of practice for the design of road lighting Part 2 : Lighting of tunnels และมาตรฐาน CIE 88 1990 เป็นบรรทัดฐานอ้างอิง โดยท่านผู้อ่านจะได้ทราบถึงความต้องการทั่วไปของไฟแสงสว่างในอุโมงค์รถยนต์และทางลอด เงื่อนไขการออกแบบ ประเภทของไฟแสงสว่างที่ติดตั้ง ระบบควบคุมการเปิด ปิดไฟแสงสว่าง รวมถึงกรณีศึกษาในการออกแบบอีกด้วย
รูปที่ 1: อุโมงค์รถยนต์และทางลอด
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที