MeMothisa

ผู้เขียน : MeMothisa

อัพเดท: 25 ส.ค. 2020 13.06 น. บทความนี้มีผู้ชม: 12466 ครั้ง

ที่นี่เราแนะนำเกี่ยวกับเรื่องของความสวย ความงาม และสุขภาพของคนไทย ในหมวดหมู่ของ cosmetics surgery beauty health เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับสาระน่ารู้เกี่ยวกับความสวยความงามและสุขภาพ อย่างถูกต้อง


โรคหนองใน เป็นแล้วอันตรายแค่ไหน?

โรคหนองใน (Gonorrhea) คือ หนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งจากสถิติแล้วพบได้มากถึง 50% ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด โดยปกติแล้วผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการของโรคอย่างชัดเจน ควรรีบการรักษาก่อนที่รอยโรคจะแพร่สู่คู่นอน หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมากยิ่งขึ้นได้ในที่สุด โรคหนองในแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


ที่เกิดจากเชื้ออื่นๆนอกเหนือจาก Neisseria gonorrhoeae

 

อาการของโรคหนองใน

 

อาการของโรคหนองใน


อาการของโรคหนองในโดยทั่วไปในเพศหญิงและเพศชายจะแสดงอาการที่แตกต่างกัน โดยจากสถิติพบว่าเพศหญิงร้อยละ 50 และเพศชายร้อยละ10 มักจะไม่แสดงอาการของโรคที่ชัดเจน ซึ่งในผู้ป่วยที่แสดงอาการของโรคนั้นร่างกายจะเริ่มแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-2 สัปดาห์

ลักษณะอาการของโรคหนองในที่เหมือนกันของผู้ป่วยทั้งในเพศชายและเพศหญิง คือ การติดเชื้อที่บริเวณอื่นๆ เช่น การติดเชื้อในทวารหนัก จะมีอาการปวดหน่วงและมีของเหลวไหลออกจากรูทวารหนัก การติดเชื้อหนองบริเวณข้อต่อ จะมีอาการปวดเมื่อเคลื่อนไหวบริเวณข้อต่อนั้นๆ การติดเชื้อหนองในบริเวณลำคอ จะมีอาการของต่อมน้ำเหลืองโตผิดปกติ เป็นต้น

 

การรักษาโรคหนองในแท้

 

การรักษาโรคหนองในแท้

การรักษาโรคหนองในชนิดนี้จะใช้ยาปฏิชีวนะโดยการฉีดยาและการให้ยาปฏิชีวนะชนิดกินรวมด้วย เพราะผู้ที่ป่วยเป็นโรคหนองในแท้มักจะมีอาการหนองในเทียมร่วมด้วยเสมอ
จึงต้องรักษาพร้อมกันทั้งสองโรค เมื่อผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นตอนการรักษาจะเริ่มมีอาการดีขึ้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ และผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาตามกำหนดการที่แพทย์นัดหมายอย่างเข้มงวด เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อโรคหนองในได้หมดไปจากร่างกายแล้ว ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำและไม่สามารถแพร่เชื้อสู่คู่นอนของตัวเองได้ ในกรณีที่รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อทำการวินิจฉัยสาเหตุของโรคเพิ่มเติมอีกครั้ง

 

การรักษาโรคหนองในเทียม

 

การรักษาโรคหนองในเทียม


การรักษาโรคหนองในชนิดนี้จะใช้ยายาปฏิชีวนะกลุ่ม Doxycycline, Azithromycin, Quinolone ซึ่งการรักษาอาจใช้เวลานานกว่าโรคหนองในแท้ หากผู้ป่วยมีอาการลุกลาม
หรือมีอาการดื้อยา โดยแพทย์จะทำการรักษาโรคหนองในเทียมด้วยการวิเคราะห์ตำแหน่งที่พบรอยโรค และเลือกใช้ยาตามความเหมาะสม โดยทั่วไปเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาจะมีอาการดีขึ้นภายในระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ เนื่องจากเป็นโรคหนองในเป็นโรคติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์


ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยโรคหนองในควรทำ คือ การให้คู่นอนของตนเข้ารับการวินิจฉัยโรคหนองในร่วมด้วย เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคซ้ำ การแพร่สู่ผู้อื่น และรับการรักษาอย่างทันท่วงทีก่อนลุกลามรุนแรง


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที