peera

ผู้เขียน : peera

อัพเดท: 02 มี.ค. 2021 12.28 น. บทความนี้มีผู้ชม: 2803 ครั้ง

แนะนำเกี่ยวกับข่าวสารทางด้าน Financial Technology เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับคนไทย


เพราะใช้ AI ในการประเมิน ความอคติในการปล่อยสินเชื่อ ลดลง 40%

อนุมัติ หรือ ไม่ คอมพิวเตอร์ช่วยได้

นี่อาจเป็นคำศัพท์ใหม่ในวงการ การเงินการธนาคารก็เป็นได้ นั่นก็คือ "Algorithmic Fintech Lending" หรือ การใช้ หลักเหตุผล และ Artificial Intelligence เข้ามาช่วยในการ ประเมินการกู้ยืมจากทางฝั่ง ธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งทำให้ การอนุมัติสินเชื่อ หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ลดน้อยลง ซึ่งนี่คือการศึกษาอย่างจริงๆจังๆ จากทาง สถาบันการเงินของทางอเมริกา เป็นผลให้การกู้ยืมเงินนั้นมีความยุติธรรม และมีเหตุผลมากขึ้น และทำให้กู้เงินผ่านง่ายมากขึ้นนั่นเอง

ไม่ใช่ในบ้านเราเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่หลายๆคนกู้เงินไม่ผ่าน ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ (อย่างรีไฟแนนซ์รถยนต์) ซึ่งในต่างประเทศ เค้ามีเหตุการณ์ที่ว่า การอนุมัติสินเชื่อเหล่านี้ จะต่ำกว่า เมื่อมีการพิจารณาเงินกู้ สำหรับกลุ่มคนอย่าง African-American (ชาวผิวดำ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกู้สินเชื่อบ้าน ซึ่งทำให้ ท้ายที่สุดแล้ว คนกลุ่มนี้หากกู้เงินซื้อบ้านผ่าน อาจต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชาวผิวขาวเกือบๆเท่าตัวเลยทีเดียว

หากรวมๆดอกเบี้ยกันแล้ว ชาวผิวดำต้องจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชาวผิวขาวในอเมริการวมๆกันถึง 20,000 กว่าล้านบาท ในแต่ละปี และหากเป็นตัวเลขที่กู้ไม่ผ่านแล้วหล่ะก็ มีใบสมัครมากกว่า 1.3 ล้านใบ ที่ถูกปฎิเสธในทุกๆปีอีกด้วย

การใช้ Algorithm หรือหลักเหตุผลเข้ามาช่วยในการตัดสินใจในการปล่อยกู้ให้กับประชาชน ควบคู่กับการใช้ Fin Tech ที่พึ่งเข้ามาไม่กี่ปีนี้ ทำให้ มีการตัดสินใจแบบอคติของทางสถาบันการเงินน้อยลงถึง 40% และทำให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น และ มีการจ่ายดอกเบี้ยที่น้อยลงกว่าเดิมได้ 

 ทีนี้คำถามก็คือ เราควรให้ทุกสถาบันการเงิน มาใช้ Algorithm ในการตัดสินใจดีกว่าไหม?

คำตอบในคำถามนี้ก็คือ "อาจจะไม่ต้องขนาดนั้น" เพราะ หลายๆคนที่มีปัญหาเรื่องการเงิน การกู้ยืม ยังคงต้องการที่จะเข้ามาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ธนาคารแบบตัวต่อตัว เมื่อถึงเวลาการตัดสินใจสำคัญๆ รวมถึงเทคนิคการกู้ยืม แม้ว่าเทคโนโลยี จะเป็นตัวการที่ทำให้มันยุติธรรมมากขึ้น แต่การพบปะกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร สถาบันการเงินนั้น ยังคงต้องใช้บุคคลพูดคุย ซึ่งแน่นอนว่า การตัดสินใจของมนุษย์ย่อมมีความผิดพลาดมากกว่า การใช้คอมพิวเตอร์อยู่วันยังค่ำ

ยกตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่งคือ การประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อการขอสินเชื่อ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน คอมพิวเตอร์ หรือ AI อาจไม่สามารถช่วยประเมินได้อย่างละเอียด ตัวอย่างที่น่าสนใจเลยก็คือ หากเป็น สินเชื่อแบบรีไฟแนนซ์รถยนต์ หรือ การรีไฟแนนซ์บ้าน ที่ต้องใช้บุคคลเข้ามาประเมินทรัพย์สิน... รถวิ่งมากี่ไมล์แล้ว สภาพดีไหม? เคยชนมาหรือเปล่า หรือ บ้านที่อยู่อาศัย รถไฟฟ้าวิ่งผ่านหรือยัง? สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านเป็นอย่างไร ฯลฯ ในจุดนี้ เชื่อว่า AI และ Algorithm ไหนๆ ก็ตาม อาจไม่สามารถประเมินได้ละเอียด และทุกแง่ทุกมุมเท่าบุคคลอย่างแน่นอน 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Promotions.co.th | Forbes.comqz.com


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที