ก่อนจะเริ่มลงมือตัดแผ่นหินแกรนิตเพื่อปูพื้นผิวโต๊ะ ช่างจะทำการตรวจสอบให้มั่นใจอีกครั้งว่าขนาดที่วัดไว้นั้นถูกต้องหรือไม่ เพราะถ้าการวัดมีความผิดพลาดขึ้นมาคงหมายถึงต้นทุนของงานที่จะเพิ่มขึ้น
ที่เรารู้กันอยู่แล้วคือไม่มีระบบการวัดใดทำได้สมบูรณ์แบบ เราแค่วางใจว่าระบบนั้นสามารถให้ข้อมูลที่ทำให้เราควบคุมคุณภาพและตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการได้ แล้วอย่างนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเปลี่ยนแปลงที่เราเห็นจากข้อมูลนั้นมาจากกระบวนการ หรือ มากจากความผิดพลาดของระบบการวัด และถ้าเราไม่เชื่อถือในระบบการวัดของเรานั่นคือข้อมูลที่เราได้มาก็ไม่น่าเชื่อถือด้วยเช่นกัน
การวิเคราะห์ระบบการวัดสามารถทำให้คุณเห็นปัญหาของระบบการวัดได้ และพิสูจน์ว่าข้อมูลที่คุณได้มานั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ และถ้าข้อมูลนั้นเชื่อถือได้เราจะสามารถนำข้อมูลนั้นไปหาวิธีการปรับปรุงกระบวนการได้
การวิเคราะห์ระบบการวัดสามารถทำได้อย่างไรบ้าง
ในผลการวิเคราะห์จะต้องแสดงให้เห็นระบบการวัดที่ไม่เสถียรนั้นเกิดจากตัวเครื่องมือวัดหรือการทำงานของพนักงาน(วิธี)วัด
เครื่องมือวัดที่ไม่เสถียร
เพื่อให้ทำความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นเราจะมาทำความเข้าใจการทำงานของการวิเคราะห์การวัดผ่านกรณีศึกษากัน
สมมติว่าบริษัทมีความต้องการจะใช้แผนภูมิควบคุมเพื่อการตรวจจับค่าน้ำหนักของซีเรียลบรรจุกล่อง ก่อนอื่นมาเริ่มที่วิเคราะห์ระบบการวัดกันก่อนเพื่อดูว่าระบบการวัดนั้นสามารถให้ค่าน้ำหนักที่อ่านได้ถูกต้องหรือไม่
วิธีการที่ดีที่สุดในการดูว่าการวัดนั้นให้ผลที่น่าเชื่อถือได้หรือไม่ คือ การดูที่ความสามารถในการทวนซ้ำ (repeatability) หรือ ความผันแปรของการวัดที่วัดโดยพนักงานวัดคนเดียวกันที่ทำกับชิ้นงานชิ้นเดิม ถ้าน้ำหนักที่อ่านได้จากกล่องเดิมด้วยเงื่อนไขเดียวกัน(ซ้ำเดิม)ตลอด เราควรจะอ่านได้ค่าน้ำหนักเดิมๆ และการทำแบบนี้ซ้ำๆจะทำให้ทราบความผันแปรที่มีอยู่ในระบบการวัดนั้น
อย่างเช่นการทดลองนี้ เราจะเห็นได้ว่าความสามารถในการทวนซ้ำของพนักงานสองคน ในผลการศึกษา Gage R&R แสดงให้เห็นว่าแม้แต่การวัดจากคนเดียวกันค่าน้ำหนักที่อ่านได้จากการวัดกล่องเดิมด้วยเครื่องมือวัดเดิม ค่าวัดที่อ่านได้ยังมีความแตกต่างกันหลายกรัม สะท้อนให้เห็นว่าเครื่องมือวัดนี้ต้องการการปรับเทียบ(recalibration) อย่างจริงจัง และผลที่แสดงว่าเครื่องมือวัดนี้มีความผิดปกติทำให้ผลที่ได้จากแผนภูมิควบคุมไม่มีประโยชน์อย่างใดในการแปลความหมายเช่นกัน ถึงแม้ว่าค่าเฉลี่ยในการวัดของพนักงานแต่ละคนจะมีค่าไม่แตกต่างกันมาก แต่ความผันแปรของข้อมูลของภายในค่าวัดของแต่ละคนมีค่ามากเกินไป
พนักงานวัดที่แตกต่างกัน
เมื่อความผันแปรเป็นสิ่งที่มีอยู่ในระบบการวัดเสมอจึงเป็นอีกหนึ่งค่าที่ต้องสนใจในการวิเคราะห์ระบบการวัด เราจะต้องดูค่าความสามารถในการทำซ้ำ (reproducibility) หรือความผันแปรที่เกิดจากพนักงานวัดต่างกันเมื่อใช้ระบบการวัดเดียวกัน การศึกษา
Gage R&R สามารถทำให้เรารู้ได้ว่าค่าวัดที่ได้นั้นมีความต่างเพราะพนักงานด้วยขนาดเท่าไหร่
สมมติว่ามีการจ้างพนักงานคนใหม่มาเพื่อทำการบันทึกค่าวัด และมีการใช้วิธีวิเคราะห์การวัดเพื่อประเมินว่าพนักงานคนใหม่และพนักงานเดิม (ที่มีประสบการณ์) ผลจากการศึกษาพบว่าพนักงานทำการชั่งน้ำหนักซีเรียลบรรจุกล่อง พบว่าพนักงานใหม่อ่านค่าน้ำหนักได้ลักษณะที่มีค่าสูงเกินไป หรือ ต่ำเกินไป เมื่อเทียบกับค่าวัดที่ได้จากพนักงานที่มีประสบการณ์ ซึ่งผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า บริษัทควรมีการฝึกสอนเกี่ยวกับการทำงานของระบบการวัดให้กับพนักงานใหม่
การวิเคราะห์ Gage R&R ด้วย Minitab
สิ่งที่คุณควรระวังไว้เสมอคือการวัดและระบบการวัดมันสามารถส่งผลอย่างมากต่อเรื่องการเงิน และเนื่องด้วยความสามารถของโปรแกรมทางสถิติอย่าง Minitab ทำให้คุณวิตัดปัญหาความยุ่งยากในการวิเคราะห์เพื่อให้รู้ว่าระบบการวัดของคุณนั้นมีความแม่นยำเท่าไหร่
จากกรณีศึกษาการวัดค่าน้ำหนักซีเรียลบรรจุกล่อง พบปัญหาว่ามีความแตกต่างของค่าน้ำหนักส่วนเกินและส่วนขาดอยู่จำนวนหนึ่ง กล่องที่มีค่าน้ำหนักส่วนเกิน หมายถึงบริษัทมีต้นทุนเพิ่มขึ้น และเราสามารถลดต้นทุนในจุดนี้ด้วยการปรับเทียบเครื่องมือในระบบการวัดและฝึกสอนพนักงานให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบการวัดให้ดีขึ้น ในทำนองเดียวกันกับกล่องที่มีค่าน้ำหนักขาดอาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจอย่างมากเพราะว่าไม่ได้ตามสิ่งที่จ่ายเงินซื้อไป
เริ่มการวิเคราะห์ด้วย Minitab
การเตรียมตัวในการวิเคราะห์การวัดด้วย Minitab นั้นไม่ยาก เพราะการสร้างแผ่นงาน (Worksheet) สำหรับการศึกษา Gage R&Rคุณสามารถใช้โปรแกรมสร้างแผ่นงานเพื่อนำไปเก็บบันทึกข้อมูลที่หน้างานได้ โดยในหน้าต่างคำสั่ง ให้คุณระบุชื่อพนักงานและชิ้นงานที่จะทำการวัด รวมถึงลำดับของข้อมูลที่จะทำการบันทึก
โดยมีขั้นตอนดังนี้
หลังจากทำการสร้างแผ่นงานเพื่อเก็บข้อมูลและบันทึกค่าวัดจากการวัดเรียบร้อย ต่อไปจะทำการวิเคราะห์ระบบการวัดด้วยการใช้วิธีการศึกษาแบบ Gage R&R Study (Crossed)
โดยเริ่มจาก
จากผลการวิเคราะห์พบว่า การวัดของ Jordan มีค่าต่ำกว่า การวัดของ Pat หรือ Taylor ในความเป็นจริงความผันแปรของการศึกษาระบบการวัด ( %Study Variation) ของภาพรวมในการศึกษา Gage R&R มีค่าสูงถึง 90.39% ซึ่งบ่งชี้ว่าระบบการวัดนี้ไม่สามารถยอมรับได้ ในการค้นหาแหล่งที่เป็นสาเหตุของความแตกต่างและกำจัดทิ้งเพื่อทำให้ระบบการวัดนั้นดีขึ้น
คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความ Gage R&R tools and how to interpret the output
ในการนำ Gage R&R ไปใช้งาน
กระบวนการวัดก็เป็นเหมือนกระบวนการทำงานอย่างอื่นๆ คือ มีความผันแปรที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การประเมินและการระบุถึงแหล่งความผันแปร เพื่อทำให้เราสามารถมุ่งประเด็นได้ชัดเจนว่าควรทำอย่างไรกับการกำจัดความผันแปรนั้น โดย Minitab ที่ใช้เครื่องมือ Gage R&R จะช่วยทวนสอบว่าระบบการวัดที่ใช้อยู่นั้นมีความแม่นยำที่เชื่อถือได้หรือไม่
บทความต้นฉบับ : https://blog.minitab.com/blog/meredith-griffith/fundamentals-of-gage-rr
เนื้อหาบทความโดยบริษัท Minitab Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา
แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นําพาเจริญ และ ชลทิขา จํารัสพร, บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด webadmin@solutioncenterminitab.com
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที