เครื่องวัดออกซิเจน (Oxygen Meter) คืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับวัดสัดส่วนของออกซิเจนในของเหลว หรือก๊าซที่กำลังถูกวิเคราะห์และตรวสอบ
เซนเซอร์วัดออกซิเจน ถูกพัฒนาโดย Robert Bosch GmbH ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ณ ประเทศเยอรมนี โดยเซ็นเซอร์วัดออกซิเจนแบบดั้งเดิมทำจากเซรามิก (zirconia ceramic) เคลือบด้วยชั้นแพลตติ (Platinum) นั่มบางๆ ทั้งสองด้าน
ในปี 1990 ได้มีการนำเซ็นเซอร์วัดออกซิเจน แบบ Planar ได้เข้าสู่ตลาด เซนเซอร์ประเภทนี้ลดมวลของเซรามิคเซ็นเซอร์ลงอย่างมากรวมถึงการใช้เครื่องทำความร้อนภายในโครงสร้างเซรามิค ส่งผลให้เซ็นเซอร์เริ่มทำงานเร็วขึ้น ตอบสนองได้เร็วขึ้น และให้ค่าความแม่นยำที่ดีขึ้นด้วย
การใช้งานเครื่องวัดออกซิเจน
เครื่องวัดออกซิเจนนิยมใช้ในการวัดความเข้มข้นของก๊าซไอเสียของออกซิเจน สำหรับเครื่องยนต์สันดาปภาย เช่นในรถยนต์และยานพาหนะอื่น ๆ เพื่อคำนวณ และหากจำเป็นต้องปรับอัตราส่วนของอากาศและเชื้อเพลิงเพื่อให้ตัวแปลงปฏิกิริยาสามารถทำงานได้ดีที่สุด และช่วยระบุว่าตัวเร่งปฏิกิริยาทำงานมีประสิทธิภาพหรือไม่
นักดำน้ำยังใช้อุปกรณ์ที่คล้ายกันนี้เพื่อวัดความดันบางส่วนของออกซิเจนในถังออกซิเจนที่ใช้ในการดำน้ำ
นักวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องวัดออกซิเจนเพื่อวัดการหายใจหรือการผลิตออกซิเจนและอื่นๆ เครื่องวิเคราะห์ออกซิเจนซึ่งมีการใช้งานในทางการแพทย์อย่างกว้างขวางเช่นการเฝ้าระวังในทางวิสัญญี เครื่องช่วยหายใจ และเครื่องกำเนิดออกซิเจน
เครื่องวัดออกซิเจนถูกใช้ในระบบป้องกันอัคคีภัยในอากาศ เพื่อตรวจสอบความเข้มข้นของออกซิเจนในปริมาณที่ป้องกันไว้อย่างต่อเนื่อง มีหลายวิธีในการวัดออกซิเจนเช่น Zirconia, Electrochemical หรือ กัลวานิก (Galvanic) , อินฟราเรด, อัลตราโซนิค, และล่าสุดคือการวัดออกซิเจนด้วยเลเซอร์
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที