แหล่งของสารอาหารที่สำคัญสำหรับทารกวัยแรกเกิดคือ ‘น้ำนมแม่’ เพราะในน้ำนมแม่มีสารอาหารมากมายกว่า 200 ชนิดที่ล้วนแล้วแต่ช่วยเสริมสร้าง พัฒนาการเด็ก ให้กับลูกน้อยในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น พัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านสมอง พัฒนาการทางด้านอารมณ์ รวมไปถึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกรักมีความแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย อย่างไรก็ตามคุณแม่หลายคนอาจไม่รู้ว่าสารอาหารในน้ำนมแม่มีการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาหลังคลอดโดยแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 คือ ระยะหัวน้ำนม (Colostrum) หรือระยะน้ำนมเหลือง มีลักษณะเป็นน้ำนมสีเหลืองข้นสร้างและมีอายุอยู่แค่ในช่วง 1-3 วันหลังคลอดเท่านั้น สารอาหารที่พบในระยะนี้ ได้แก่ สารอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน โดยเฉพาะวิตามินเอและวิตามินเค โดยน้ำนม 100 ซีซี น้ำนมแม่ในระยะนี้จะให้พลังงาน 58-67% โปรตีน 2.3% น้ำตาลแลคโตส 5.3% และไขมัน 2.9% สำหรับ ประโยชน์นมแม่ ที่สำคัญในระยะนี้ คือ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกมีความแข็งแรง เนื่องจากน้ำนมแม่ในระยะนี้จะมีสารภูมิคุ้มกันในปริมาณสูง เช่น secretary Ig A มีปริมาณสูงถึง 11,000 มิลลิกรัมต่อวัน และไลโซไซม์มากกว่า 5,000 เท่าเมื่อเทียบในน้ำนมวัว เป็นต้น ดังนั้นแพทย์จึงพยายามให้ลูกได้ดูดนมแม่ในระยะนี้ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ ประโยชน์นมแม่ ไปช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานที่ดีให้กับลูกน้อย
ระยะที่ 2 คือ ระยะน้ำนมใส (Transitional milk) หรือระยะปรับเปลี่ยน เป็นระยะเปลี่ยนหัวน้ำนมเป็นน้ำนมแม่ จะเกิดในช่วงวันที่ 4-14 วันหลังคลอด ลักษณะของน้ำนมจะมีสีขาวขึ้น ประกอบด้วยไขมัน น้ำตาลแลคโตส และวิตามินที่ละลายน้ำได้ในปริมาณสูงกว่าในระยะแรก
ระยะที่ 3 คือ ระยะนมแม่ (Mature milk) หรือระยะน้ำนมขาว ผลิตขึ้นหลัง 2 อาทิตย์ขึ้นไป โดยในระยะนี้จะมีปริมาณน้ำนมในปริมาณมากขึ้นและมีปริมาณสารอาหารเพิ่มมากขึ้น ประกอบไปด้วย พลังงาน 70-75% โปรตีน 0.9% น้ำตาลแลคโตส 7.3% และไขมัน 4.2% สารอาหารสำคัญที่พบ ได้แก่ อาหารเสริมภูมิต้านทาน กรดไขมันจำเป็น โอลิโกแซกคาไรด์ (แหล่งอาหารสำคัญของโพรไบโอติกช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างโปรตีนช่วยลดการอักเสบ) สารออกฤทธิ์ที่มีผลต่อการทำงานระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นต้น ประโยชน์ของน้ำนมจะช่วยเสริมสร้าง พัฒนาการเด็ก ในด้านต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างสมวัยและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้สมบูรณ์ ซึ่งองค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟแนะนำให้ทารกดื่มนมแม่เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนและทานต่อเนื่องไปจนถึง 2 ปีหรือมากกว่านั้น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
สำหรับสารอาหารตัวล่าสุดที่มีการค้นพบคือ Milk Fat Globule Membrane หรือ MFGM ลักษณะของ mfgm คือ เยื่อหุ้มไขมันในน้ำนมประกอบด้วยโปรตีนและไขมันเชิงซ้อนกว่า 150 ชนิด อย่างไรก็ตาม mfgm คือ สารอาหารสำคัญที่พบได้ในน้ำนมแม่ทุกระยะ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและอารมณ์ให้ลูกรัก ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้ต่อเนื่องสมบูรณ์
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที