KC

ผู้เขียน : KC

อัพเดท: 24 ม.ค. 2007 16.50 น. บทความนี้มีผู้ชม: 91294 ครั้ง

คุณภาพพลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการผลิืตของโรงงาน ศึกษาในรายละเอียดได้ว่าจะปรับปรุงคุณภาพพลังงานไฟฟ้าได้อย่างไร


Introduction

ในปัจจุบันการติดตั้งชุดขับเคลื่อนมอเตอร์ชนิดปรับความถี่ได้ (Variable Frequency Drive : VFD) และอุปกรณ์ชนิด non-linear load อื่นๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น อุปกรณ์เหล่านี้ได้สร้างแรงดันฮาร์โมนิกส์ (Voltage harmonics) และกระแสฮาร์โมนิกส์ (Current harmonics) ขึ้นในระบบไฟฟ้าที่อุปกรณ์เหล่านี้ต่ออยู่ ฮาร์โมนิกส์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการเพี้ยนของรูปคลื่นแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า (Voltage and current distortion) ส่งผลให้ระบบควบคุมการผลิตต่างๆ ทำงานผิดพลาด  นอกจากนี้กระแสฮาร์โมนิกส์ยังทำให้ระบบไฟฟ้ามีค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ต่ำ ทำให้เกิดพลังงานสูญเสียเพิ่มมากขึ้น  จากปัญหาที่เกล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาอีกจำนวนมากที่เกิดขึ้นเนื่องจากฮาร์โมนิกส์  มีผลทำให้คุณภาพพลังงานไฟฟ้า (Power Quality) ทั้งหมดของระบบไฟฟ้าลดลง

 

การแก้ปัญหาเมื่อระบบไฟฟ้ามีค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ต่ำนั้น ในกรณีที่โหลดไฟฟ้าส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเป็นชนิด Linear load หรือกระแสโหลดเป็นคลื่นรูปซายน์ (Sine Wave) ที่ความถี่มูลฐาน (50 Hz) ซึ่งแก้ปัญหาโดยการติดตั้งชุดคาปาซิเตอร์ ชนิด Pure capacitance จะทำให้ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์สูงขึ้นตามที่ต้องการได้

 

แต่ในปัจจุบันการติดตั้งชุดคาปาซิเตอร์ชนิด Pure capacitance กลับก่อให้เกิดปัญหาต่างๆติดตามมาจากฮาร์โมนิกส์ที่มีอยู่ในระบบไฟฟ้า ด้วยเหตุผลว่าค่าอิมพีแดนซ์ของคาปาซิเตอร์จะมีค่าลดลงเมื่อความถี่ของกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น กระแสฮาร์โมนิกส์ที่ไหลผ่านคาปาซิเตอร์ก็มีความถี่สูงเป็นจำนวนเท่าของความถี่มูลฐาน  จึงทำให้ค่าอิมพีแดนซ์ของคาปาซิเตอร์ลดลง  กระแสไฟฟ้ายิ่งไหลผ่านคาปาซิเตอร์มากขึ้นเกิดความร้อนเกินและทำให้คาปาซิเตอร์เกิดความเสียหาย  นอกจากนี้ที่ความถี่ค่าหนึ่งที่ทำให้ค่าคาปาซิทีฟ รีแอกแตนซ์ (Capacitive reactance) ของคาปาซิเตอร์มีค่าเท่ากับค่าอินดักทีฟ รีแอกแตนซ์ (Inductive reactance) ของระบบเกิดเป็นปรากฏการณ์เรโซแนนซ์ขึ้น  และถ้าความถี่ของเรโซแนนซ์ใกล้เคียงกับความถี่ของกระแสฮาร์โมนิกส์  จะทำให้เกิดเป็นParallel resonance มีผลทำให้แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นมาก  ทำให้คาปาซิเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ เสียหายได้ ดังนั้นการปรับปรุงคุณภาพพลังงานไฟฟ้าและค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงฮาร์โมนิกส์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในบทความนี้ได้นำเสนอกรณีตัวอย่างที่แสดงถึงวิธีการตรวจสอบคุณภาพพลังงานไฟฟ้า  การรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  การหาวิธีแก้ไข  รวมถึงผลของการแก้ไขที่เกิดขึ้นในโรงงานผลิตเหล็กรีดร้อนแห่งหนึ่ง เชิญติดตามรายละเอียดได้เลยครับ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที