นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ถูกนำมาใช้และมีบทบาทในหลากหลายธุรกิจ ทั้งเพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการ และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค แต่นอกจากจะมีผลดีทั้งต่อธุรกิจและผู้บริโภคแล้ว ในบางสถานการณ์ก็สามารถสร้างความปั่นป่วนในทางใดทางหนึ่งได้ด้วย ดังเช่นที่ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุในงานเสวนาที่จัดขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า เทคโนโลยีเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงสำหรับภาคธุรกิจของไทย ถ้าสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการดำเนินธุรกิจให้มีความเหมาะสมย่อมสร้างโอกาสความสำเร็จได้ แต่หากไม่สามารถปรับตัวรับมือการกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ทัน ก็จะกลายเป็นความเสี่ยงขึ้นมาได้ นอกจากนี้แล้วเทคโนโลยียังส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและตลาดแรงงานอีกด้วย
อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มงานอยู่ 3 ประเภท (3H) ที่จะไม่ได้รับผลกระทบ หรือถ้าได้รับผลกระทบก็จะไม่มากนัก คือ หนึ่ง กลุ่มงานประเภทงานฝีมือ (Hand) สอง กลุ่มที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Head) และ สาม กลุ่มที่ใช้ความเอาใจใส่ (Heart) โดยงานทั้งสามกลุ่มนี้ควรจะต้องถูกปรับเปลี่ยนและยกระดับให้เท่าทันกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันด้วยการทำให้เป็นกลุ่มเศรษฐกิจ 3 ประเภท (3C) ดังนี้
จากที่กล่าวมาข้างต้น เห็นได้ว่าธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับอาจจะไม่ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีมากนัก เพราะจัดอยู่ในกลุ่มของเศรษฐกิจประณีต และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่กระบวนการการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับล้วนต้องอาศัยความละเอียด ความประณีตในการผลิตชิ้นงาน รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบอีกด้วย
ถึงอย่างนั้น ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับก็ควรจะปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เห็นได้จากในตอนนี้ที่ภาคอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีการการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการสร้างเครือข่ายข้อมูลของอัญมณีและเครื่องประดับต่างๆ ตั้งแต่เหมือง การเจียระไน การขึ้นตัวเรือนเครื่องประดับ ผู้ค้าเครื่องประดับ การตรวจสอบคุณภาพ ไปจนถึงผู้ซื้อเครื่องประดับ นี่ถือเป็นตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากภาคธุรกิจจะสามารถติดตาม และควบคุมต้นทุนการผลิตที่เป็นประโยชน์จากเทคโนโลยีได้แล้ว ยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคสมัยใหม่ที่มีความใส่ใจในเรื่องของแหล่งที่มาของสินค้ามากขึ้นได้อีกด้วย สำหรับในแง่มุมของแรงงานนั้น แรงงานในภาคอุตสาหกรรมนี้ถือว่าเป็นการใช้แรงงานที่เข้มข้น เนื่องจากต้องใช้ทักษะความชำนาญ ความคิดสร้างสรรค์ และความประณีตละเอียดอ่อนสูงมากในการทำงาน ดังนั้น แรงงานควรที่จะรักษาไว้ซึ่งประสิทธิภาพและคุณภาพ รวมทั้งพัฒนาในด้านต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถเป็นแรงงานที่อยู่ในความต้องการของตลาดได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง
เทคโนโลยีเป็นเหมือนเหรียญสองด้าน ถ้าภาคธุรกิจและแรงงานไม่สามารถปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ก็จะติดอยู่ในด้านลบของเหรียญ แต่หากสามารถตามกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ทัน มีการปรับตัว และมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ก็จะทำให้อยู่รอดในยุคที่มีการแข่งกันสูงได้อย่างแน่นอน
ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
มกราคม 2561
------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที