Meditate

ผู้เขียน : Meditate

อัพเดท: 13 ก.พ. 2008 14.00 น. บทความนี้มีผู้ชม: 102687 ครั้ง

ภัยธรรมชาติ หมายถึง ภัยอันตรายต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีผลกระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์

ซึงในปัจจุบันได้เกิดขึ้นบ่อยและถี่ขึ้น รวมทั้งมีความรุนแรงมากขึ้น จึงขอรวบรม มาให้เป็นข้อมูล สถิติ เพื่อพิจารณาสังเกต ในการเตรียมพร้อม สำหรับการบริหาร ตนเอง กิจการ และอื่นๆ


ประเภทของภัยธรรมชาติ

ภัยธรรมชาติ หมายถึง ภัยอันตรายต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีผลกระทบต่อชความเป็นอยู่ของมนุษย์  ซึ่ง ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เมื่อเกิดขึ้นครั้งคราใดจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงก่อให้ เกิดความเสียหายในชีวิต,ทรัพย์สินและสภาพแวดล้อมต่างๆอย่างเหลื่อที่จะประมาณได้

แบ่งตามลักษณะที่เกิดออกเป็น 12 ชนิด* ดังนี้
1. Subject: Typhoons           พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น

2. Subject: Earthquake           แผ่นดินไหว ไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลัน เพื่อปรับสมดุลย์ของเปลือกโลกให้คงที่

สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นจัดแบ่งได้ 2 ชนิด คือ (1) ชนิดที่หนึ่ง เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อนและแรงระเบิดของการทำเหมืองแร่ เป็นต้น (2) ชนิดที่สองเป็นแผ่นดินไหวจากธรรมชาต

ิทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวอันเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน 2 ทฤษฎี คือ

1. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (Dilation source theory) อันเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้งโก่งงออย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว

2. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (Elastic rebound theory) เชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนอันเป็นเหตุผลมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (Fault) ดังนั้นเมื่อเกิดการเคลื่อนที่ถึงจุดหนึ่งวัตถุจึงขาดออกจากกัน และเสียรูปอย่างมากพร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมา และหลังจากนั้นวัตถุก็คืนตัวกลับสู่รูปเดิม ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่เชื่อว่า แผ่นดินไหวมีกลไกการกำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรง และใกล้ชิดกับแนวรอยเลื่อนมีพลัง (Active Fault) ที่เกิดขึ้นจากผลพวงของการแปรสัณฐานของเปลือกโลก (Plate tectonics) เปลือกโลกของเราประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก จำนวนประมาณ 12 แผ่นใหญ่ ทั้งที่เป็นแผ่นมหาสมุทรและแผ่นทวีป ซึ่งมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาต่อให้บางแผ่นมีการเคลื่อนแยกออกจากกัน บางแผ่นเคลื่อนเข้าหาและมุดซ้อนเกยกัน และบางแผ่นเคลื่อนเฉียดกัน อันเป็นบ่อเกิดของแรงเครียดที่สะสมไว้ภายในเปลือกโลกนั้นเอง


3. Subject: Flooding          อุทกภัย
อุทกภัย คือ ภัยและอันตรายที่เกิดจากสภาวะน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน มีสาเหตุมาจากการเกิดฝนตกหนักหรือฝนต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องมาจาก หย่อมความกดอากาศต่ำ พายุหมุนเขตร้อน (ได้แก่ พายุดีเปรสชั่น, พายุโซนร้อน, พายุใต้ฝุ่น) ร่องมรสุมหรือร่องความกดอากาศต่ำ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ 5 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

ลักษณะของอุทกภัยมีความรุนแรง และรูปแบบต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ ดังนี้

2.1 น้ำป่าไหลหลากหรือน้ำท่วมฉับพลัน มักจะเกิดขึ้นในที่ราบต่ำหรือที่ราบลุ่มบริเวณใกล้ภูเขาต้นน้ำ เกิดขึ้นเนื่องจากฝนตกหนักเหนือภูเขาต่อเนื่องเป็นเวลานานทำให้จำนวนน้ำสะสมมีปริมาณมากจนพื้นดิน และต้นไม้ดูดซับไม่ไหวไหลบ่าลงสู่ที่ราบต่ำเบื้องล่างอย่างรวดเร็ว ทำให้บ้านเรือนพังทลายเสียหาย และอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
2.2 น้ำท่วมหรือน้ำท่วมขัง เป็นลักษณะของอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำสะสมจำนวนมากที่ไหลบ่าในแนวระนาบ จากที่สูงไปยังที่ต่ำเข้าท่วมอาคารบ้านเรือน สวนไร่นาได้รับความเสียหาย หรือเป็นสภาพน้ำท่วมขัง ในเขตเมืองใหญ่ที่เกิดจากฝนตกหนัก ต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุมาจากระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางระบายน้ำ หรือเกิดน้ำทะเลหนุนสูงกรณีพื้นที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล
2.3 น้ำล้นตลิ่ง เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำจำนวนมากที่เกิดจากฝนหนักต่อเนื่องที่ไหลลงสู่ลำน้ำ หรือแม่น้ำมีปริมาณมากจนระบายลงสู่ลุ่มน้ำด้านล่าง หรือออกสู่ปากน้ำไม่ทัน ทำให้เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมสวน ไร่นา และบ้านเรือนตามสองฝั่งน้ำ จนได้รับความเสียหาย ถนน หรือสะพานอาจชำรุด ทางคมนาคมถูกตัดขาด


4. Subject: Tornadoes         พายุฟ้าคะนอง และทอร์นาโด  หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง

สำหรับในประเทศไทย วาตภัยหรือพายุลมแรง มีสาเหตุมาจากปรากฎการณ์ทางธรรรมชาติ ได้แก่
1. พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น
2. พายุฤดูร้อน ส่วนมากจะเกิดระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยจะเกิดถี่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออก การเกิดน้อยครั้งกว่า สำหรับภาคใต้ก็สามารถเกิดได้แต่ไม่บ่อยนัก

โดยพายุฤดูร้อนจะเกิดในช่วงที่มีลักษณะอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีกระแสอากาศเย็นจากความกดอากาศสูงในประเทศจีนพัดมาปะทะกัน ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองมีพายุลมแรง และอาจมีลูกเห็บตกได้จะทำความเสียหายในบริเวณที่ไม่กว้างนัก ประมาณ 20-30 ตารางกิโลเมตร

3. ลมงวง (เทอร์นาโด) เป็นพายุหมุนรุนแรงขนาดเล็กที่เกิดจากการหมุนเวียนของลมภายใต้เมฆก่อตัวในทางตั้ง หรือเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (เมฆคิวมูโลนิมบัส)ที่มีฐานเมฆต่ำ กระแสลมวนที่มีความเร็วลมสูงนี้จะทำให้กระแสอากาศเป็นลำพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า หรือย้อยลงมาจากฐานเมฆดูคล้ายกับงวงหรือปล่องยื่นลงมา ถ้าถึงพื้นดินก็จะทำความเสียหายแก่บ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้างได้

สำหรับในประเทศไทยมักจะเกิดกระแสลมวนใกล้พื้นดินเป็นส่วนใหญ่ไม่ต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงใต้พื้นฐานเมฆ และจะเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง โดยจะเกิดขึ้นในพื้นที่แคบๆ และมีช่วงระยะเวลาสั้นๆ จึงทำให้เกิดความเสียหายได้ในบางพื้นที่

5. Subject: Eruptions        ภูเขาไฟระเบิด
6. Subject: Lahars         พายุหิมะ
7. Subject: Landslides        คลื่นอากาศร้อน
8. Subject: Avalanches       หิมะถล่ม
9. Subject: Storm Surge      แผ่นดินถล่ม ถล่ม เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติของการสึกกร่อนชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริเวณพื้นที่ที่เป็นเนินสูงหรือภูเขาที่มีความลาดชันมาก การขาดความสมดุลย์ในการทรงตัวบริเวณดังกล่าวทำให้เกิดการปรับตัวของพื้นดินต่อแรงดึงดูดของโลก และเกิดการเคลื่อนตัวขององค์ประกอบธรณีวิทยาบริเวณนั้นจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ

แผ่นดินถล่มมักเกิดในกรณีที่มีฝนตกหนักมาก บริเวณภูเขาและภูเขานั้นอุ้มน้ำไว้จนเกิดการอิ่มตัว จนทำให้เกิดการพังทลายตามลักษณะการเคลื่อนตัวได้ 3 ชนิดคือ

1. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างแผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างช้าๆ เรียกว่า Creep เช่น Surficial Creep
2. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วเรียกว่า Slide หรือ Flow เช่น Surficial Slide
3. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน เรียกว่า Fall Rock Fall


10. Subject: Tsunami      คลื่นขนาดใหญ่ในทะเล หรือมหาสมุทร
11. Subject: Fires     ไฟป่า
12. Subject: Drought    ฝนแล้ง คือ ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน

สาเหตุของการเกิดภัยแล้ง มี 2 สาเหตุหลักๆ คือ (1) เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล หรือเกิดจากภัยธรรมชาติอื่นๆ เช่น วาตภัย แผ่นดินไหว และ (2) เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม การตัดไม้ทำลายป่า ผลกระทบจากภาวะเรือนกระจก



*ที่มา : http://www.sci-educ.nfe.go.th   และกรมอุตุนิยมวิทยา (www.tmd.go.th)
รูปประกอบ จาก http://ndrd.gsfc.nasa.gov/
ซึ่ง ในระยะนี้ มีการพูดถึงภัยธรรมชาติ กันมากขึ้น ทั้งทางศาสตร์ ที่เป็นวิทยาศาสตร์ และศาสตร์ แห่งการทำนาย  ศาสตร์แห่ง เหตุและผล ของการกระทำ นั้น คือพุทธศาสตร์ อธิบายถึง ภัยธรรมชาติ และสาเหตุที่ทำให้มันเกิด

บทความนี้ ก็จะนำเอา ทั้งสองมาผสมผสานให้ พิสูจน์ พิจารณาดู ถึง ความสอดคล้อง ต่อเนื่อง กัน ของศาสตร์  ทั้งหลาย

ทั้งนี้เพื่อ ประโยชน์ ในการ ดำเนินชีวิต ในการวางแผนรับมือ  ทั้งด้าน ชีวิต ส่วนตัว ครอบครัว กิจการ ธุรกิจ มิให้เกิดการประมาท   โดย บทความนี้ไม่ได้ต้องการให้ เกิดการตระหนก ตกใจแต่อย่างใด

นอกจากนี้ ในเรื่องภาวะ ธรรมชาติปรวนแปร ในปัจจุบัน มีผู้ที่ให้ความสนใจ และรณรงค์กันมาก แม้กระทั่ง   อัลกอร์ ผู้เคยเข้าแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2000 ก็มาสนใจ และ สร้างภาพยนตร์สารคดีเรื่องAn Inconvenient Truth ซึ่งแสดง สภาวะโลกร้อนที่ไม่ใช่เรื่องเล่าหรือนวนิยายที่จินตนาการขึ้น แต่คือ “เรื่องจริง” เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ไปถ่ายภาพบริเวณขั้วโลกให้เห็นว่า หมีขาวแห่งขั้วโลกกำลังตะเกียกตะกายว่ายน้ำเพื่อขึ้นไปอยู่บนธารน้ำแข็งเล็ก ๆ แต่ก็ตกลงมาอีกเพราะธารน้ำแข็งละลาย 
   
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	iceflow.jpg
Views:	0
Size:	37.5 KB
ID:	138160

ติดตาม ดูรายงาน กันนะครับ

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที