เมตตา

ผู้เขียน : เมตตา

อัพเดท: 25 ม.ค. 2007 07.38 น. บทความนี้มีผู้ชม: 27467 ครั้ง

เมื่อนักวิทยาศาสตร์อยากจะย้อนเวลากลับไปช่วยผู้มีพระคุณ เขาจะทำได้อย่างไร


ยานเวลา

             หลังจากเหตุการณ์วันนั้น ผมไม่ได้ไปเยี่ยมดร.วินอีกเลย  ต้องเร่งมือประกอบเครื่องสร้างพลังงานทวีผล และติดตั้งในยานเวลาให้เสร็จเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างน้อย ขอให้ท่านได้เห็นความสำเร็จของโครงการนี้

                ผมลงมือทำงานในห้องแล็ปของผม  เริ่มจากการเขียนแบบแปลนเครื่อง   ผังวงจรไฟฟ้า สร้างอุปกรณ์ตามแบบ  จนถึงขั้นประกอบเครื่อง  ผมได้นำเครื่องสร้างพลังงานทวีผลไปทดลองติดตั้งกับรถไฟฟ้าแทนแบตเตอรี่รถยนตร์  พบว่าใช้งานได้ดีมาก และสามารถเร่งความเร็วสูงถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  แต่ยังมีพลังงานเหลือสูงกว่ากำลังรถอีกมาก  แต่การจะติดตั้งเพื่อใช้งานกับยานเวลาต้องผลิตพลังงานให้สูงกว่านี้อีกหลายเท่า

                ผมได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนแกนกลางของกระบอกพลังงานใหม่เป็นคาร์บอนนาโนทิวบ์ เ พื่อเพิ่มกำลังไฟฟ้าให้สูงขึ้นไปอีก

                มาถึงขั้นตอนนี้ผมใช้เวลานานถึง 2 เดือน อย่างห่ามรุ่งห่ามค่ำ  ไม่มีโอกาสไปเยี่ยมดร.วิน  ได้แต่โทรศัพท์ไปเช็คอาการของดร.เป็นระยะ ๆ เท่านั้น ผมตัดสินใจที่จะไปเยี่ยมดร.วินอีกครั้ง เพื่อรายงานความสำเร็จของงาน

                ที่โรงพยาบาล  ผมได้พบกับสภาพของดร.วินที่ย้ำแย่ไปกว่าเดิม ร่างกายผอมไม่เหลือเค้าโครงของชายร่างท่วม สดใส เสียงดัง ที่ผมคุ้นเคย ท่านหลับสนิทอยู่บนเตียง  และมาดามวิเวียนนั่งร้องไห้อยู่ข้าง ๆ  ผมทนเห็นสภาพนี้ไม่ได้ รีบตรงไปห้องของหมอสุชาติทันที

                “ไหนหมอว่า อาการทรง ๆ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก แล้วทำไมสภาพของท่านถึงแย่ขนาดนี้”

                “ดร. ขอร้องไม่ให้บอก ท่านไม่อยากให้อาการป่วยของท่านรบกวนการทำงานของคุณ ท่านบอกว่าคุณกำลังสานต่อโครงการงวิจัยของท่าน ท่านอยากให้มันสำเร็จก่อนที่ท่านจะตาย” 

                ผมรู้สึกโกรธตัวเองมาก  และดูเหมือนเวลาใกล้จะหมดลงแล้วจริง ๆ

                “หลังผ่าตัด ดร.วินมีอาการเลอะเลือน  ร่างกายเคลื่อนไหวไม่ได้ เพราะเซลมะเร็งกระจายตัวในสมอง วิธีเดียวที่จะช่วยให้คนไข้ทรมานน้อยลง คือ การให้ยานอนหลับ  และพักผ่อนให้มากที่สุด หมอช่วยได้แค่นี้”  หมอสุชาติตบบ่าผมเป็นการปลอมใจ

                ผมอยู่เฝ้าไข้และปลอบใจมาดามวิเวียนจนเย็น  เดินออกจากโรงพยาบาลด้วยความรู้สึกเขวง  ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน  ขับรถเรื่อยเปื่อยไปถึงห้องแล็ป ของดร.วิน  ตัดสินใจเข้าไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยานเวลาอย่างละเอียดจนเข้าใจหลักการของยานเวลา

                เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะกลายเป็นมิติอดีต ดร.วินสร้างโปรแกรมเดินทางย้อนเวลาไว้แล้ว  เราเพียงแต่กรอกวันเวลาและปีที่ต้องการจะย้อนกลับไปที่เครื่องควบคุม และนำภาพเหตุการณ์ หรือสถานที่ หรือวัตถุทีเกี่ยวข้องสแกนเข้าเครื่องเพื่อเป็นสื่อในที่ให้ยานเวลาใช้เปรียบเทียบคลื่นพลังงานของวัตถุที่เคยอยู่ในเหตุการณ์นั้นเข้ากับสถานที่และอเหตุการณ์ที่เราต้องการย้อนเวลากลับไป   จากนั้นยานเวลาจะสร้างอุโมงค์เวลารอบตัวผู้เดินทาง  เพื่อเดินทางย้อนเข้าไปในอดีต ภาพเหตุการณ์ในอดีตจะเป็นภาพเสมือนจริงมากจนคุณรู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้น โดยที่ตัวคุณเองยังอยู่ในยานเวลา  การไปปรากฏตัวของคุณในมิติอดีตเป็นเพียงการแบ่งภาคพลังงานจากจิตใต้สำนึกของผู้เดินทางเข้าไปในเหตุการณ์นั้น เมื่อต้องการเดินทางกลับออกมาจากอดีต ให้ป้อนโปรแกรมเดินทางขากลับ แล้วยานเวลาจะดูดอุโมงค์เวลาย้อนกลับทาง  ทำให้ผู้เดินทางเดินทางกลับมาสู่ปัจจุบัน  นอกจากนี้ยังมีเครื่องบันทึกเคลื่อนสมองของผู้เดินทางไว้  และทำหน้าที่แปลงสัญญาณคลื่นสมองออกมาเป็นภาพและบันทึกไว้เป็นหลักฐานของการเดินทางไว้ด้วย  นี่เป็นหลักการของยานเวลารุ่นแรก

                ดร.วินได้ทดลองใช้ยานเวลารุ่นแรกมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว เดินทางย้อนกลับไป 1 สัปดาห์ ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง ครั้งที่ 2 เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว เดินทางย้อนกลับไป 1 เดือน ใช้เวลาเดินทาง 1 วัน

                การเดินทางโดยใช้ยานเวลารุ่นแรก  ร่างกายไม่ได้เดินทางเข้าไปในอุโมงค์เวลาจริง ดังนั้นการเดินทางจะต้องไม่นานเกิน 1 วัน เพราะสภาพร่างกายจะทนไม่ได้  ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งเวลาให้โปรแกรมเดินทางขากลับทำงานโดยอัตโนมัติไว้  ซึ่งถ้าผู้เดินทางไม่สามารถกลับมาที่ยานได้ทันเวลา จิตใต้สำนึกจะเกิดการแตกสลาย  และมีผลกระทบกระเทือนกับสมองได้ ซึ่งนับว่าเสี่ยงอันตรายมาก

                ใช้เวลาศึกษาอยู่ 3 วัน แถบไม่ได้หลับไม่ได้นอน  มันเป็นความตื่นเต้นและอัศจรรย์ใจจนผมไม่อาจวางมือลงได้  ทั้งนี้ยังไม่รวมข้อมูลรายละเอียดที่ผมข้ามไป เช่น ตัวโปรแกรมการเดินทาง  แบบแปลน  และผังวงจรต่าง ๆ ของเครื่องควบคุม  ผมเลือกศึกษาคู่มือการทำงานและระดับพลังงานที่ยานต้องใช้เท่านั้น  โครงการนี้ดร.วินใช้เวลาในการวิจัยทั้งหมด 10 ปี

                หลังจากการทดลองยานรุ่นแรกผ่านไปแล้ว ดร.วินได้เห็นจุดอ่อนของโครงการนี้ 3 ข้อ

                ข้อที่ 1 การเดินทางย้อนเวลายิ่งย้อนถอยกลับไปนานมากเท่าไร ยิ่งต้องใช้พลังงานมากขึ้น ถ้าเตรียมพลังงานไว้ไม่เพียงพออาจทำให้การเดินทางล้มเลวและเกิดผลเสียกับคลื่นสมองของผู้เดินทางได้

                ข้อที่ 2 การเดินทางต้องมีการควบคุมเวลา หรือต้องมีผู้ควบคุมการทำงานของเครื่อง  เพราะผู้เดินทางไม่สามารถควบคุมยานเวลาด้วยตนเองได้  ซึ้งถ้าเกิดการผิดจังหวะเวลาที่นัดกันไว้ระหว่างผู้ควบคุมและผู้เดินทาง อาจจะเกิดอันตรายต่อสมองได้

                ข้อที่ 3 การสร้างอุโมงค์เวลาให้ครอบคลุมตัวยานและผู้เดินทาง ต้องใช้พลังงานสูงและต้องมีพลังงานสำรองมากพอในการเดินทางกลับได้

                ท่านชี้บ่งไว้ว่าสิ่งเหล่านี้ต้องแก้ไขในยานเวลารุ่นที่ 2

                ผมศึกษาข้อมูลของยานเวลารุ่นที่ 2 อยู่อีก 4 วัน และได้พบว่า ยานเวลาที่อยู่ในห้องแล็ปด้านในเป็นยานเวลารุ่นที่ 2 ที่ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่แล้ว  ผมเลือกศึกษาคู่มือการใช้งานและระดับพลังงานที่ต้องใช้  และพบว่า จุดอ่อนทั้ง 3 ข้อ ได้ถูกแก้ไขไปแล้ว 2 ข้อ

                ข้อที่ 1 ดร.วินสร้างโปรแกรมการเดินทางย้อนเวลาใหม่ให้สามารถกระโดดข้ามเวลาไปถึงจุดวลาที่ต้องการได้โดยตรง ไม่ต้องเดินทางย้อนกลับเข้าไปแบบต่อเนื่อง  เป็นวิธีการลดระดับพลังงานที่ยานต้องการใช้

                ข้อที่ 2 ปรับปรุงยานเวลาให้สร้างอุโมงค์เวลาที่สามารถครอบคลุมตัวยานได้  เพื่อให้ทั้งผู้เดินทางและยานเดินทางเข้าสู่อดีตได้จริง วิธีนี้จะต้องใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น

                ข้อที่ 3 ต้องมีพลังงานที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ติดไปกับยานเวลาและเป็นพลังงานที่ใช้ได้อย่างไม่มีวันหมด  เพื่อให้ผู้เดินทางสามารถใช้ยานเวลาเดินทางกลับมาสู่ภาคปัจจุบันได้อย่างปลอดภัย

                และผมก็ได้คำตอบแล้ว  ทำไมดร.วินจึงต้องการให้ผมสร้างเครื่องพลังงานทวีผลขึ้นมา

                ถึงเวลาทำในสิ่งสำคัญที่สุดของโครงการแล้ว  ผมใส่ชุดป้องกันรังสีและติดแถบวัดรังสีไว้ที่หน้าอก  เดินไปหยุดอยู่หน้าประตูห้องทดลองของยานเวลา  ถึงเวลาแล้ว…..ผมตัดสินใจใช้กุญแจดอกนั้น  ไขประตูห้อง  นี่เป็นครั้งแรกที่ผมเข้ามาในห้องยานเวลา  เมื่อเปิดประตูห้องเข้าไป ก็เห็นฐานที่ตั้งของยานเวลา และด้านข้างของยานมีเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมขนาดใหญ่ ลักษณะของยานเป็นยานรูปไข่วางนอน  มีฝาใสครอบซีกบน และมีเก้าอี้นั่งด้านในเหมือนยานอวกาศขนาดเล็กที่ใช้ขับออกไปตะเวณสังเกตการณ์ในอวกาศระยะสั้น

                ผมตื่นตาตื่นใจกับยานลำนี้มาก  และดินเข้าไปใกล้  เพื่อสัมผัสกับตัวยาน  หลังจากชื่นชมยานจนพอใจแล้ว  ผมได้ติดตั้งเครื่องสร้างพลังงานทวีผลเข้ากับยานเวลาจนเสร็จใช้เวลาไปอีก 1 วัน 1 คืน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที