ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ ในกรุงเทพฯ กำลังมีพิธีประกาศรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นโลกในสาขาต่าง ๆ บรรดานักวิทยาศาสตร์ นักข่าวจากทั่วโลกเข้ามาชุมนุมอยู่ในห้องประชุมที่จุคนราวหนึ่งหมื่นคน ที่เวทีกลางห้องประชุม พิธีกรสาวและชายผลัดกันประกาศเป็นภาษาไทยและแปลเป็นภาษาอังกฤษ รายชื่อนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นกำลังทยอยประกาศรายชื่อออกไปเรื่อย ๆ ทีละสาขา และเมื่อถึงสาขาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พิธีกรสาวกล่าวว่า
" เนื่องจากรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นสาขานี้ เป็นรางวัลของนักวิทยาศาสตร์ไทย จึงขอเชิญท่านรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นผู้มอบโล่ห์ประกาศเกรียติคุณคะ"
พิธีกรชายกล่าวเชิญชื่อท่านรัฐมนตรี แสงสว่างสาดส่องไปยังท่านรัฐมนตรีจนกระทั่งท่านได้ก้าวขึ้นมาบนเวที แล้วขอไมโครโฟนจากพิธีกรชาย ท่านกล่าวว่า
" ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ไทยท่านใดที่ได้ขึ้นมารับรางวัลนี้ ผมขอแสดงความยินดีและนับเป็นเกรียติอย่างสูงที่ได้มอบรางวัลให้ เพราะมีโอกาสน้อยมากที่นักวิทยาศาสตร์ไทยจะได้รับรางวัลที่มีเกรียติสูงสุดเช่นนี้ " เสียงตบมือดังกึกก้องห้องประชุมมากกว่าการมอบรางวัลสาขาอื่น ๆ ที่ผ่านมา เพราะคนไทยส่วนใหญ่ในห้องประชุมนี้ได้รับความรู้สึกภาคภูมิใจไปด้วย
พิธีกรสาวประกาศต่อไปว่า " เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ขอประกาศรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นสาขาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่
ดร.อภิวัฒน์ พิพัฒน์วิทยากุล ในโครงการเครื่องเรียกฝน" พิธีกรชายกล่าวแปลเป็นภาษาอังกฤษ และแสงไฟสาดส่องมาที่ ดร.อภิวัฒน์ เพื่อนำทางมายังเวที เมื่อรับรางวัลกับท่านรัฐมนตรีแล้ว พิธีกรชายได้ขอให้ดร.กล่าวแสดงความคิดเห็นกับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นโลก
" รางวัลนี้เป็นรางวัลระดับโลกที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั่วโลก นับเป็นเกรียติยศอย่างสูงที่ผมได้รับรางวัลนี้ ผมขอขอบคุณ ดร.วิน มาร์ติน ผู้เปรียบเสมือนพ่อ และ เป็นผู้นำทางชีวิตให้ก้าวเข้ามาสู่วงการวิทยาศาสตร์ และ ผู้สนับสนุนโครงการวิจัยของผมทุกท่าน นอกจากนี้ผมอยากให้รางวัลนี้เป็นแรงบันดาลให้นักวิทยาศาสตร์ไทยผลิตงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งด้วยเช่นกัน ไม่ใช่เพียงเพื่อรางวัลประกาศเกรียติคุณ แต่เป็นรางวัลที่สามารถช่วยให้ชีวิตของชาวโลกดีขึ้น และรักษาธรรมชาติให้อยู่ในสภาพที่ดีควบคู่กันไป ขอบคุณครับ"
ดร.อภิวัฒน์กล่าวขอบคุณท่านรัฐนนตรีอีกครั้งก่อนลงจากเวทีท่ามกลางเสียงตบมือกึกก้อง และ พิธีประกาศรางวัลอื่น ๆ ก็ได้ดำเนินต่อไป
เมื่อ ดร.อภิวัฒน์กลับเข้ามาที่ห้องทำงานที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ก็ได้พบว่า ดร.วิน มาร์ตินได้มานั่งรออยู่ก่อนแล้ว
" ขอแสดงความยินดีด้วยนะ "
" ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ ทำไมท่านถึงมาที่ออฟฟิตของผมก่อนผมได้"
" ผมไม่ได้อยู่จนงานประกาศจบนี่ครับ ทำได้ดีมาก น่าชื่นใจที่ชาวโลกได้รับรู้ความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ไทย"
" ผมไม่ได้หวังเรื่องรางวัล จุดประสงศ์เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น และกลับมาเป็นมิตรกับชาวโลก "
"นี่ละมังที่ทำให้คุณได้รางวัลระดับโลก คุณไม่ได้มองแค่ระดับประเทศ แต่คุณมองถึงระดับโลก "
"ขอบคุณที่ดร.ชื่นชมผม"
"แต่ผมต้องการสิ่งตอบแทนจากคุณนะ"
"ได้แน่นอนครับ ยกเว้นเรื่องยานเวลาเท่านั้น ที่ผมไม่อยากมีส่วนร่วม มันไม่มีประโยชน์ที่จะย้อนเวลาไปหาอดีตหรือเดินทางไปสู่อนาคต"
" อย่างน้อยก็พวกนักโบราณคดีที่ขุดหาซากปรักหักพัง เพื่อพิสูจน์ความจริงทางประวัติศาสตร์โดยไม่ต้องมานั่งวิเคราะห์หาอายุซากดึกดำบรรพ์ด้วยคาร์บอน 14 เอาละ วันนี้ผมไม่ได้มาชวนทำโครงการนี้ ผมอยากถามว่าคุณสนใจงานวิจัยเกี่ยวกับพลังงานทดแทนบ้างหรือเปล่า"
"สนใจครับ"
"แต่มันต้องไม่ใช่พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์นะ ต้องเป็นพลังงานที่ให้พลังงานสูงเหมือนพลังงานนิวเคลียร์ และติดตั้งกับเครื่องจักรได้อย่างปลอดภัยด้วย"
"จะใช้สำหรับยานพาหนะหรือครับ"
"ทำนองนั้น คุณก็รู้นี้ น้ำมัน กาซ กำลังจะหมดโลกแล้ว ต่อไปคนอาจจะต้องย้อนเวลาไปนั่งเกวียนเหมือนสมัยบรรพบุรุษของเราก็ได้นะ ไว้คุณแวะไปที่ศูนย์วิจัยของผมสิ เรามีเรื่องต้องคุยกันอีกยาวเลย"
"แล้วผมจะเข้าไปเยี่ยมท่านครับ"
ผมจับมือกับท่านอย่างแนบแน่น ก่อนที่จะจากกันผมได้เห็นรอยยิ้มอันอบอุ่นเสมอบนใบหน้าของท่าน และรู้สึกขอบคุณในความปรารถนาดีอย่างสุดซึ้งมาจนถึงบัดนี้
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที